ข้อมูลบริการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อ การนอนหลับ

การนอนหลับ และ ความผ่อนคลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้บริโภค การที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีประสิทธิภาพและปลอดภัยเป็นสิ่งที่เจ้าของแบรนด์และโรงงานผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้บริโภคได้โดยตรง

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อ การนอนหลับและผ่อนคลายมากมายในตลาด การทดสอบและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนสำคัญในการรับรองว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีคุณภาพและปลอดภัย การทดสอบที่ได้มาตรฐานช่วยให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบที่เหมาะสมและสามารถออกฤทธิ์ได้ตามที่โฆษณาไว้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของท่าน

การทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ เรานำเสนอ ครอบคลุมตั้งแต่การทดสอบปริมาณสารสำคัญ เช่น ปริมาณสาร Melatonin, ปริมาณสาร Serotonin และ การทดสอบประสิทธิภาพการกระตุ้น Melatonin(ระดับเซลล์) พร้อมทั้งการทดสอบความเป็นพิษระดับเซลล์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของท่านมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์และโรงงานผู้ผลิตสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจ และสร้างความแตกต่างในตลาดที่มีการแข่งขันสูง

ปัญหาการนอนหลับและผ่อนคลาย

ปัญหาการนอนหลับไม่เพียงพอและความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่แพร่หลายในสังคมปัจจุบัน โดยส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนมากทั่วโลก ปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกบุคคล ปัจจัยภายในอาจรวมถึงความเครียดจากการทำงาน ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ในขณะที่ปัจจัยภายนอกอาจเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล การบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น แสงสว่างหรือเสียงรบกวน

การนอนหลับ ไม่เพียงพอหรือมีคุณภาพต่ำสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจในวงกว้าง จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน และภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เพียงพอยังส่งผลเสียต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดปัญหาในการจดจำ สมาธิ และการตัดสินใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานและคุณภาพชีวิตโดยรวม

เพื่อแก้ไขปัญหาการนอนไม่หลับและความเครียด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การจัดตารางการนอนหลับให้สม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้นก่อนนอน การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในห้องนอน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในบางกรณี การปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับอาจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ความสำคัญของการทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการนอนหลับและผ่อนคลายมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การทดสอบจะช่วยให้ผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของตนเป็นไปตามมาตรฐานและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ การทดสอบยังช่วยป้องกันการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม

การทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้มาตรฐานจะช่วยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีสารสำคัญในปริมาณที่เหมาะสม และสามารถออกฤทธิ์ตามที่โฆษณาไว้ได้ การทดสอบยังช่วยลดความเสี่ยงจากการบริโภคสารที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

กลไกการออกฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับการนอนหลับและผ่อนคลาย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับการนอนหลับและผ่อนคลาย มักประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อระบบประสาท สารเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพและการผ่อนคลายที่ดีขึ้น ได้แก่ Melatonin และ Serotonin

  • Melatonin เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยต่อมไพเนียลในสมอง มีบทบาทสำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับของร่างกาย Melatonin จะถูกผลิตขึ้นเมื่อมีความมืด ทำให้เรารู้สึกง่วงและพร้อมที่จะนอนหลับ
  • Serotonin เป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และการผ่อนคลาย มีบทบาทในการช่วยลดความเครียดและทำให้รู้สึกสงบ นอกจากนี้ Serotonin ยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต Melatonin ในร่างกาย

แต่ในประเทศไทยมีการออกประกาศจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไม่อนุญาตให้ใช้สารเมลาโทนินเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากเป็นฮอร์โมน หากใช้ระยะยาวอาจเกิดอันตรายได้ ปัจจุบันเมลาโทนินจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ดังนั้นโรงงานผู้ผลิตหรือเจ้าแบรนด์ จึงต้องคัดเลือกสารสกัดหรือสมุนไพร ที่สามารถออกฤทธิ์ได้คล้ายกับเมลาโทนิน

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของโรงงานผลิต, เจ้าของแบรนด์, และนักวิจัยที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติช่วยนอนหลับและผ่อนคลาย บริษัท วิสไบโอ จำกัด ขอนำเสนอแพคเกจการทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการนอนหลับและผ่อนคลาย

การทดสอบปริมาณสาร Melatonin

Melatonin เป็นสารที่สำคัญในการควบคุมวงจรการนอนหลับ การทดสอบปริมาณ Melatonin ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทำได้โดยใช้เทคนิค High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความแม่นยำสูงและสามารถตรวจสอบปริมาณ Melatonin ในระดับต่ำได้

สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับบริการทดสอบปริมาณสาร Melatonin คลิก

การทดสอบปริมาณสาร Serotonin

Serotonin เป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และการผ่อนคลาย การทดสอบปริมาณ Serotonin ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทำได้โดยใช้เทคนิค High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความแม่นยำสูง

สามารถอ่านรายละเอียดบริการทดสอบปริมาณสาร Serotonin คลิก

การทดสอบประสิทธิภาพการกระตุ้นสารเมลาโทนิน

การทดสอบประสิทธิภาพการกระตุ้นสารเมลาโทนินในเซลล์ประสาท กับตัวอย่าง เป็นการทดสอบระดับเซลล์ ซึ่งเป็นการทดสอบ 2D Cell Culture ร่วมกับ enzymatic assay โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ HEK293T ใน T-75 flask ในตู้เพาะเลี้ยงเซลล์ (incubator) ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส, 5%CO2 และความชื้นสัมพัทธ์ 5% ในระหว่างการเพาะเลี้ยงเซลล์ เปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ทุกๆ 3 วัน เมื่อเซลล์พร้อมมีความหนาแน่นร้อยละ 80-90 จะทำการย้ายเซลล์ไปยัง 96-well plate หลังจากนั้นเติม cAMP reagent บ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วจึงเติมสารตัวอย่าง เพื่อทดสอบ บ่มที่อุณหภูมิห้องประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงนำมาวัดค่า Luminescence สำหรับตรวจวัดปริมาณ cAMP ที่ถูกสร้างขึ้น (%cAMP production)

สามารถอ่านรายละเอียดบริการทดสอบประสิทธิภาพการกระตุ้นสารเมลาโทนิน คลิก

Literature:

  • Morin, C. M., LeBlanc, M., Daley, M., Gregoire, J. P., & Mérette, C. (2006). Epidemiology of insomnia: Prevalence, self-help treatments, consultations, and determinants of help-seeking behaviors. Sleep medicine, 7(2), 123-130.
  • Cappuccio, F. P., D’Elia, L., Strazzullo, P., & Miller, M. A. (2010). Sleep duration and all-cause mortality: a systematic review and meta-analysis of prospective studies. Sleep, 33(5), 585-592.
  • Knutson, K. L., Spiegel, K., Penev, P., & Van Cauter, E. (2007). The metabolic consequences of sleep deprivation. Sleep medicine reviews, 11(3), 163-178.