ข้อมูลบริการทดสอบคุณภาพและประสิทธิภาพ น้ำมันหอมระเหย

อุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการจากต่างประเทศที่สูงขึ้น การสร้างความมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของแบรนด์และโรงงานผู้ผลิต การตรวจสอบคุณภาพไม่เพียงแต่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังเป็นการควบคุมมาตราฐานของผลติภัณฑ์และเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายอีกด้วย บทความนี้จะนำเสนอบริการทดสอบคุณภาพและประสิทธิภาพน้ำมันหอมระเหยที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ ไปจนถึงการประเมินสมบัติทางกายภาพและจุลชีววิทยา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

มาตรฐานน้ำมันหอมระเหย

มาตรฐานน้ำมันหอมระเหย มีหลายหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐาน ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

มาตรฐานระดับประเทศไทย

  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.): กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด เช่น น้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม, น้ำมันหอมระเหยไพล, น้ำมันหอมระเหยกระดังงา เป็นต้น มาตรฐานเหล่านี้ครอบคลุมคุณลักษณะที่สำคัญ เช่น องค์ประกอบทางเคมี สมบัติทางกายภาพ และวิธีการทดสอบ

มาตรฐานระดับสากล ได้แก่

  • International Organization for Standardization (ISO): เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานสำหรับน้ำมันหอมระเหย มาตรฐาน ISO สำหรับน้ำมันหอมระเหยครอบคลุมหลากหลายด้าน เช่น คำศัพท์ นิยาม วิธีการสกัด วิธีการวิเคราะห์ และข้อกำหนดคุณภาพ ยกตัวอย่างเช่น : ISO 4715:2015 (Essential oils — General method for the determination of alcohols content), ISO 4718:2004 (Essential oils — General method for the determination of esters content)
  • European Pharmacopoeia (Ph. Eur.): เป็นตำราอ้างอิงสำหรับมาตรฐานคุณภาพของยาในยุโรป ซึ่งรวมถึงมาตรฐานสำหรับน้ำมันหอมระเหยที่ใช้เป็นยา หรือเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ยา
  • Association Française de Normalisation (AFNOR): เป็นองค์กรมาตรฐานของฝรั่งเศส ซึ่งกำหนดมาตรฐานสำหรับน้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอมและเครื่องสำอาง

หมายเหตุ: มาตรฐานน้ำมันหอมระเหย อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอยู่เสมอ ดังนั้นควรตรวจสอบข้อมูลล่าสุดจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และเลือกใช้ข้อมูลที่ตรงกับน้ำมันหอมระเหยของคุณ และตรงกับประเทศที่ท่านสนใจส่งออกน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบสมบัติทางกายภาพของน้ำมันหอมระเหย

ห้องปฏิบัติการเรามีรับบริการทดสอบสมบัติทางกายภาพของน้ำมันหอมระเหย ได้แก่

  1. ค่าดัชนีหักเห (Refractive index) คือ ดัชนีหักเหของน้ำมันหอมระเหยเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเดินทางของแสงเมื่อผ่านเข้าสู่น้ำมันหอมระเหยจากอากาศ ค่านี้มีความสำคัญในการระบุคุณภาพและความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย ค่าดัชนีหักเหที่ถูกต้องและสม่ำเสมอช่วยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได้มีการเจือปนหรือถูกปรับเปลี่ยน นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจสอบความเข้มข้นและความบริสุทธิ์ของสารประกอบในน้ำมันหอมระเหยได้
  2. ค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) คืออัตราส่วนของความหนาแน่นของน้ำมันหอมระเหยเทียบกับน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน ค่านี้มีประโยชน์ในการตรวจสอบคุณภาพและความสม่ำเสมอของน้ำมันหอมระเหย หากค่าความถ่วงจำเพาะอยู่ในช่วงที่กำหนดก็สามารถบ่งบอกได้ว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นมีความบริสุทธิ์และคุณภาพดี ค่านี้ยังช่วยในการระบุความหนาแน่นและความแตกต่างของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิดได้
  3. ค่าการเบี่ยงเบนของแสง (Optical rotation) คือการวัดการเปลี่ยนทิศทางของแสงที่ผ่านเข้าสู่น้ำมันหอมระเหย ค่านี้มีความสำคัญในการระบุชนิดของน้ำมันหอมระเหยและตรวจสอบความบริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ การวัดค่าการเบี่ยงเบนของแสงสามารถช่วยระบุโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบในน้ำมันหอมระเหยได้ หากมีการเบี่ยงเบนที่ชัดเจนแสดงว่าน้ำมันหอมระเหยนั้นมีคุณภาพดีและไม่มีการเจือปน

ซึ่งรายการข้างต้น เป็นสิ่งสำคัญในการประเมิน คุณภาพน้ำมันหอมระเหย การทดสอบสมบัติทางกายภาพเหล่านี้เป็นไปตาม มาตรฐานน้ำมันหอมระเหย ที่กำหนดโดยองค์กรต่างๆ

การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย ด้วยเทคนิค Gas Chromatography-Mass Spectrometry (GC-MS) เป็นเครื่องมือ ในการวิเคราะห์ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย พร้อมสัดส่วนของสารที่มีอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้อย่างแม่นยำ การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีด้วย GC-MS มีประโยชน์หลายประการดังนี้

  • การควบคุมคุณภาพ: ตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย และตรวจหาสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตราย
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์: ระบุสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สำคัญ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์เดิม
  • การปฏิบัติตามกฎระเบียบ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของ น้ำมันหอมระเหย

การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ เป็นสิ่งจำเป็นในการประเมิน ประสิทธิภาพน้ำมันหอมระเหย ในการออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านจุลชีพ การทดสอบเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งในหลอดทดลอง (in vitro) โดยมีวิธีการทดสอบที่หลากหลาย เช่น

  • การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยเทคนิค DPPH assay, ABTS assay หรือ FRAP assay
  • การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ด้วยวิธียับยั้งการเสียสภาพของโปรตีน (Protein denaturation inhibitory assay)
  • การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งแบบเชื้อที่ใช้อากาศและเชื้อที่ไม่ใช่อากาศ ด้วยเทคนิคการทดสอบ Disc diffusion, Agar well diffusion หรือ Broth microdilution (MIC AND MBC assay)

การทดสอบสมบัติทางจุลชีววิทยาของน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบจุลชีววิทยาในน้ำมันหอมระเหย เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยและปราศจากการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ และรา การทดสอบนี้ ได้แก่

  • Total viable aerobic: การวิเคราะห์ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีออกซิเจน
  • Total yeast and mold count: การวิเคราะห์ปริมาณเชื้อยีสต์และรา

Literature: