ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณ สารอะดีโนซีน(Adenosine), คอร์ไดเซปิน(Cordycepin) ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สารอะดีโนซีน (Adenosine), คอร์ไดเซปิน (Cordycepin)ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสมุนไพรถั่งเช่า มีสารสำคัญหลายชนิด แต่หลักๆ ที่มีผลทางชีวภาพ คือ สารอะดีโนซีน (Adenosine) และสารคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการจับออกซิเจนในกระแสเลือด ช่วยเรื่องระบบหายใจ โรคหอบหืด และภูมิแพ้ รวมถึงอะดีโนซีนยังช่วยในการสลายลิ้มเลือด ไม่ให้เกิดการแข็งตัว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น และควบคุมการเต้นของหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ ตามตำราแพทย์แผนจีนแล้ว ถังเช่ามีสรรพคุณบำรุงพลังหยางของไตและปอด หยุดเลือด สลายเสมหะ ใช้รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปวดเอวปวดเข่า ขาไม่มีแรง ที่มาจากพลังหยางของไตน้อย

ถั่งเช่า

ถั่งเช่า หรือ “ตังถั่งเช่า” “ตงถงเซี่ยเฉ่า” คือ สมุนไพร ซึ่งถูกบัญญัติไว้ในตำรายาจีนโบราณ “เปิ่นเฉ่ากังมู่ สืออี๋” ซึ่งถูกเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยเป็นเชื้อราเห็ดที่อาศัยอยู่ในหนอนผีเสื้อกลางคืนที่จำศีลในฤดูหนาว เกิดจากเมื่อน้ำแข็งเริ่มละลาย สปอร์เห็ดจะพัดไปกับน้ำแข็งที่ละลาย แล้วไปตกที่พื้นดิน ทำให้ตัวหนอนเหล่านี้กินสปอร์เห็ดเข้าไปเป็นอาหาร

เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนและได้รับแสงอาทิตย์ สปอร์เห็ดนั้นจะเริ่มเจริญเติบโตจากภายใน กลายเป็นเส้นใย งอกออกทางปากหนอน มีรูปทรงคล้ายไม้กระบอกขึ้นมา โดยอาศัยแสงอาทิตย์ และดูดสารอาหาร แร่ธาตุจากตัวหนอน เพื่อการเติบโต เมื่อนั้น ตัวหนอนเองก็จะค่อย ๆ ตายไป จนอยู่ในลักษณะของหนอนตายซาก ฉะนั้น “ถั่งเช่า” ประกอบด้วย 2 ส่วน ตัวหนอนที่ตายแล้วและเห็ดที่มีสรรพคุณทางยา

ถั่งเช่าสีทอง (Cordyceps militaris) เป็นราก่อโรคในแมลง จัดอยู่ในสกุล Cordyceps วงศ์ Clavicipitaceae เป็นเห็ดสำคัญชนิดหนึ่งในกลุ่มเห็ดเป็นยา (Medicinal mushroom) แพร่หลายในอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป และเอเชีย

ถั่งเช่า (Cordyceps) สามารถนำมาใช้ในงานทางการแพทย์แผนโบราณ แพทย์พื้นบ้านในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก ทั้งในตำรับยาจีนและทิเบต มีการนำมาใช้ทั้งเป็นยา อาหารบำรุงกำลัง บริโภคโดยตรงในรูปของอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

องค์ประกอบทางเคมีของถั่งเช่า

ถั่งเช่ามีสารสำคัญหลายชนิด แต่หลักๆที่มีผลทางชีวภาพ คือ อะดีโนซีน (Adenosine) เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่รองจากสารคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) ในถังเช่า ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นการจับออกซิเจนในกระแสเลือด ช่วยเรื่องระบบหายใจ โรคหอบหืด และภูมิแพ้ รวมถึงอะดีโนซีนยังช่วยในการสลายลิ้มเลือด ไม่ให้เกิดการแข็งตัว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น และควบคุมการเต้นของหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ

โพลีแซคคาไรด์ Polysaccharide (เบต้ากลูแคน) ชนิด (Beta 1,3 และ Beta 1,6 D – glucan ที่มีประสิทธิภาพในการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย ลดนํ้าตาลในเลือดและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการแพทย์ทางธรรมชาติ (Natural Medicines Comprehensive Database) ได้แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของการใช้ถั่งเช่าเป็นการรักษาทางเลือกจากธรรมชาติ

ถังเช่าเป็นยาสมุนไพรจีนที่มีสารอาหารหลายชนิด เช่น โพลีแซคคาไรด์ (Galactomannan), นิวคลีโอไทด์ (Adenosine, Cordycepin), Cordycepic Acid, กรดอะมิโน และสเตอรอล (Ergosterol, Beta-Sitosterol), โปรตีน, วิตามินหลายชนิด (วิตามิน E, K, B1, B2 และ B12), โพแทสเซียม, โซเดียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, เหล็ก, สังกะสี และซิลิเนียม

สรรพคุณทางยาของถั่งเช่า

ตามตำราแพทย์แผนจีนแล้ว ถังเช่ามีสรรพคุณบำรุงพลังหยางของไตและปอด หยุดเลือด สลายเสมหะ ใช้รักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปวดเอวปวดเข่า ขาไม่มีแรง ที่มาจากพลังหยางของไตน้อย (เป็นคนขี้หนาว กลัวหนาว แขนขาเย็น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางดึก ปัสสาวะใส ปวดเอว ปวดเข่าเรื้อรัง) หากการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุอื่นอย่างความเครียด การติดขัดของลมปราณและเลือด หรือปวดเอว ปวดเข่าจากอุบัติเหตุ ขยับผิดท่า กระดูกทับเส้น ถังเช่าก็อาจไม่ได้ช่วยโดยตรง

สารสกัดถังเช่าคุณภาพสูง สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง

หลายปีที่ผ่านมานี้ “ถั่งเช่า” กลายเป็นที่พูดถึงในเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ ว่าเป็นสิ่งที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยบำรุงร่างกายได้ดี จึงมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายยี่ห้อสารสำคัญที่อยู่ในถั่งเช่า คือ อะดีโนซีน (Adenosine) และคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) มีคุณสมบัติกระตุ้นการจับออกซิเจนในกระแสเลือด ช่วยเรื่องระบบหายใจ โรคหอบหืด และภูมิแพ้ รวมถึงอะดีโนซีนยังช่วยในการสลายลิ้มเลือด ไม่ให้เกิดการแข็งตัว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น ที่ได้กล่าวมาข้างต้นหากมองในมุมทางการพัฒนาและวิจัย ต้องใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อนำมาต่อยอด เพิ่มมูลค่าของถั่งเช่า พัฒนาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

ตัวอย่างการรายงานผลของอะดีโนซีน (Adenosine) และคอร์ไดเซปิน (Cordycepin) ด้วยเครื่อง HPLC

Literature:

  • “ปัจจัยที่มีผลต่อความคงสภาพของสารสาคัญกลุ่มนิวคลีโอไซด์ในถั่งเช่า” Chutvirasakul B, Jongmeesuk W, Tirasomboonsiri P, Sunsandee N, Tadtong S. Stability indicating method to determinebioactive nucleosides in crude drugs, extracts, and products from Cordyceps sinensis and Cordyceps militaris. Thai Journal of Pharmaceutical Sciences (2017); 42(2): 52-60.
  • “Chemical components and antioxidant activity of extracts from Cordyceps militaris cultured in liquid and Job’s-Tears solid media” Yaowapar Tongaram, Received: 22 March 2020; Revied: 22 June 2020; Accepted: 2 July 2020
  • “Development of Beverage Product from Cordyceps militaris”. Tanatya Kenkhunthod, Supata Chaiyapat, Saowaros kongsri. Lecturer in Bachelor of Science (Biotechnology) In Faculty of Biotechnology College of Agricultureal Innovation Biotechnology and Food Rangsit Universitty.
  • “Role of Cordycepin from Cordyceps militaris on lower hyperuricemia”. Jantaporn Thongekkaew, Department of Biological Science, Faculty of Science, Ubon Ratchthani University, Naresuan Phayao J. 2020;13(3): 3-10. Received; 5 October 2020; Revised: 23 November 2020; Accepted: 14 December 2020
  • “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สครับขัดผิวกายจากฐานเห็ดถั่งเช่ำสีทอง” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชจรี สิงห์พันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาพร วิสุงเร, อาจารย์นิสิต องอาจสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรั่มที่ผสมสารสกัดหยาบถั่งเช่าสีทองเพื่อบำรุงผิวหน้า” นำพล แปนเมือง, วริษฎา ศิลาอ่อน, วัทนวิภา วงศ์ใหญ่, อิสริยาภรณ์ ภูมิเรศสุนทร เว็บไซต์: https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/scudru/article/view/247436 สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66
  • “การสกัดสารออกฤทธิ์ทางยาและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้สูงอายุจากเห็ดถั่งเช่าสีทอง” เว็บไซต์: https://council.mju.ac.th/researchDetailPublic.aspx?rid=7430 สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66
  • “ถั่งเช่า ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ จริงหรือ?” รองศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์และ ธิดารัตน์ จันทร์ดอน สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บไซต์: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/153/ถั่งเช่า-ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ-ได้จริงหรือ/ สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66
  • In Koo Hwang, Soon Sung Lim, Ki-Yeon Yoo and Yeon Sil Lee, 2008, A Phytochemically Characterized Extract of Cordyceps militaris and Cordycepin Protect Hippocampal Neurons from Ischemic Injury in Gerbils, Planta Medica 74(2):114-9.