ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณสารอัลฟาแมงโกสติน (Alpha-mangostein) ในผลิตภัณฑ์

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สารอัลฟาแมงโกสติน (Alpha-mangostein) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสารสกัดจากเปลือกมังคุด ประกอบด้วยสารสำคัญในสารกลุ่ม xanthone ได้แก่ Mangostione, α-mangostin, β-mangostin, γ-mangostin, Gartinin และ Garcinone E นอกจากนี้ยังมีสาร Tannin ด้วย โดยสารสกัดจากเปลือกมังคุด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ และฤทธิ์สมานแผล ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่สำคัญของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ที่มีการศึกษาวิจัยและนิยมนำมาใช้มากที่สุด คือ สาร Alpha-mangostin (α-mangostin) มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา ช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว (P.acnes, Propionibacterium acnes) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญ คือ ช่วยต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) โดยยับยั้งการหลั่งสารสื่อกลางการอักเสบ ปัจจุบันมีการนำสารสกัดจากเปลือกมังคุด มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามมากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้าและร่างกาย เจลรักษาแผลในช่องปาก ยาทารักษาสิว ยาทารักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยาทารักษาโรคผิวหนัง เช่น กลาก เป็นต้น

Garcinia mangostana คืออะไร

Garcinia mangostana หรือ มังคุด นิยมปลูกบริเวณคาบสมุทรมลายู ไทย เขมร เวียดนาม สำหรับประเทศไทยมีการเพาะปลูกกันมากในภาคใต้และภาคตะวันออก มังคุดเป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรสชาติอร่อย หวานอมเปรี้ยว ด้วยลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี จนได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชินีแห่งผลไม้

มังคุดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากเนื้อมังคุด อุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ ได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ โฟเลต แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และใยอาหาร นอกจากนี้ส่วนต่างๆ ของมังคุด เช่น เปลือกของมังคุดที่มีรสฝาด มีฤทธิ์ทางยามากมาย เช่น คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์สมานแผล ให้แผลหายเร็ว

สรรพคุณของมังคุด (Garcinia mangostana)

Garcinia mangostana มีสรรพคุณทางยา ในตำรับยาต่างๆ มากมาย ดังเช่นที่พบในตำรับยาไทย สามารถนำส่วนต่างๆ ของมังคุดมาใช้ในการรักษาอาการต่างๆ เช่น

  • ราก มีคุณสมบัติทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ และรักษาโรคบิดมูกเลือด
  • ต้น ใบ และดอก รักษาโรคบิดมูกเลือด
  • เปลือกของต้น ใช้ชะล้างบาดแผล และรักษาแผล
  • ลดิบ ใช้สมานแผล แก้บาดแผล แก้ท้องร่วง และแก้บิด
  • เปลือกของผล ใช้แก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้บิด ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน และสมานบาดแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว

สาร Alpha-mangostin

สารสกัดจากเปลือกมังคุด ประกอบด้วยสารสำคัญในสารกลุ่ม xanthone ได้แก่ Mangostione, α-mangostin, β-mangostin, γ-mangostin, Gartinin และ Garcinone E นอกจากนี้ยังมีสาร Tannin ด้วย สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านการอักเสบ และฤทธิ์สมานแผล

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของสารสกัดจากมังคุดที่มีการศึกษาวิจัยและนิยมนำมาใช้มากที่สุด คือ สาร Alpha-mangostin (α-mangostin) ซึ่งมีสูตรโมเลกุล คือ C24H26O6 มักถูกใช้เป็นสารมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพสารสกัดจากเปลือกผลมังคุด โดยสาร Alpha-mangostin มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา ช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว (P.acnes, Propionibacterium acnes) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญ คือ ช่วยต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) โดยยับยั้งการหลั่งสารสื่อกลางการอักเสบ เช่น Nitric oxide (NO), Prostaglandin E2 (PGE2), Tumor necrosis factor- α (TNF-α) และ Interleukin (IL)-4

สารสกัดจากเปลือกมังคุดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง

สารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้หลากหลายประเภท เนื่องจากสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์สมานแผล และฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว จึงช่วยลดการอักเสบของสิวได้เป็นอย่างดี เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดใบหน้าและร่างกาย เช่น สบู่ก้อน สบู่เหลว ครีมล้างหน้า โฟมล้างหน้า โฟมอาบน้ำ เจลอาบน้ำ เพื่อช่วยลดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ลดริ้วรอย เป็นต้น

สารสกัดจากเปลือกมังคุดในอุตสาหกรรมยา

สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียทีที่ทําให้เกิดหนอง จึงสามารถนำใช้รักษาแผลพุพอง และแผลที่เป็นหนอง ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาหลากหลายชนิด ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากเปลือกมังคุด เช่น เจลรักษาแผลในช่องปาก ยาทารักษาสิว ยาทารักษาแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยาทารักษาโรคผิวหนัง เช่น กลาก เป็นต้น

ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ Alpha-mangostin ด้วยเทคนิค HPLC

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของ Alpha-mangostin ซึ่งสามารถนำพื้นที่ใต้กราฟมาคำนวณหาปริมาณของ Alpha-mangostin โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน

Literature:

  • ธิดารัตน์ จันทร์ดอน, มังคุด…ราชินีแห่งผลไม้, สํานักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์, ยาเจลรักษาแผลในช่องปากที่เตรียมจากสารสกัดเปลือกมังคุดที่มีสาร alpha-mangostin, สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อุดม เจริญแสง และคณะ, การใช้ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของมังคุด, กรมวิชาการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา
  • จันจิรา อินตรา อนุสรา รอตรักษา, การพัฒนาสบู่เหลวสมุนไพรต้านเชื้อแบคทีเรีย, โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2542
  • Chomnawang MT, Surassmo S, Nukoolkarn VS, Gritsanapan W. Effect of Garcinia mangostana on inflammation caused by Propionibacterium acnes. Fitoterapia. 2007 Sep;78(6):401-8. doi: 10.1016/j.fitote.2007.02.019. Epub 2007 Jun 2. PMID: 17644272.
  • Pothitirat, Werayut & Gritsanapan, Wandee. (2008). HPLC Quantitative Analysis Method for the Determination of α-Mangostin in Mangosteen Fruit Rind Extract. Thai J Agricultural Sci. 42.
  • Gutierrez-Orozco F, Chitchumroonchokchai C, Lesinski GB, Suksamrarn S, Failla ML. α-Mangostin: anti-inflammatory activity and metabolism by human cells. J Agric Food Chem. 2013 Apr 24;61(16):3891-900. doi: 10.1021/jf4004434. Epub 2013 Apr 11. PMID: 23578285; PMCID: PMC3793015.