ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส Anti-Alpha-Glucosidase
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส(Anti-Alpha-Glucosidase) กับสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกฤทธิ์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
เอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส ถือเป็นสารที่สำคัญในการก่อโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยทั่วไปจะใช้วิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย หรือมีการฉีดอินซูลิน ในรายที่เป็นมากแพทย์จะให้การรักษา โดยการให้รับประทานยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ในการลดหรือป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคส เช่น อะคาร์โบส ไมกลิทอล และโวกลิโบส เป็นต้น โดยยาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส (α-amylase) และอัลฟา-กลูโคซิเดส (α-glucosidase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในการเร่งปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของแป้ง ไปเป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้การดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดลดลงลด แต่ในการรักษาโดยใช้ยาในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย เช่น ภาวะตับเป็นพิษ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ มีการค้นหาสมุนไพรที่ความสามารถฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย
โรคเบาหวานและที่มาของอัลฟา-กลูโคซิเดส (Alpha -glucosidase)
เบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ดังนั้น วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยทั่วไปจะใช้วิธีการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย หรือมีการฉีดอินซูลิน
ในรายที่เป็นมากแพทย์จะให้การรักษา โดยการให้รับประทานยาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ในการลดหรือป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคส เช่น อะคาร์โบส ไมกลิทอล และโวกลิโบส เป็นต้น โดยยาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส (α-amylase) และอัลฟา-กลูโคซิเดส (α-glucosidase)
แต่ในการรักษาโดยใช้ยาในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย เช่น ภาวะตับเป็นพิษ (liver toxicity) และเกิดอาการไม่พึงประสงค์ในระบบทางเดินอาหาร (adverse gastrointestinal symptoms) เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสียและคลื่นไส้ อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่2 นั้น ต้องใช้ระยะเวลารักษานานและจำเป็นต้องใช้ตัวยาร่วมกันหลายชนิดในการ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ ต้องมีการค้นหาตัวยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส (α-amylase) และอัลฟา-กลูโคซิเดส (α-glucosidase) จากสารธรรมชาติชนิดใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitory)
เอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส เป็นเอนไซม์ซึ่งอยู่บริเวณผนังเซลล์ของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยแป้งและคาร์โบไฮเดรตให้เป็น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส (glucose) ด้วยปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของเอนไซม์ เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดและนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกายต่อไป ดังนั้นถ้าสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดสได้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในการชะลอหรือยับยั้งการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 เกิดสภาวะการคั่งของน้ำตาลในเลือดลดลงด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างการรายงานการยับยั้งเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส
ตาราง ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดสในสารสกัดจากสมุนไพรพื้นบ้าน
ภาพตัวอย่างการรายงานผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส (ทัณฑิกาและคณะ, 2021) โดยศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิดและการสกัดด้วยวิธีการต้มเดือด, ต้มเคี่ยว, การสกัดด้วย 50%EtOH และ 95%EtOH จากผลการทดสอบ พบว่ามีผลต่อ %inhibition ของเอนไซม์อัลฟา-กลูโคซิเดส ดังนี้ สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านที่สกัดด้วยวิธีต้มเดือด และการสกัดด้วย EtOH ทุกความเข้มข้น มีค่า %inhibition สูงที่สุดได้แก่ กระโดน, เม็ก และติ้ว ตามลำดับ และสารสกัดสมุนไพรที่สกัดด้วยวิธีต้มเคี่ยว มีค่า %inhibition สูงที่สุดได้แก่ กระโดน, ติ้ว และเม็ก ตามลำดับ โดยสารสกัดสมุนไพรกระโดนที่สกัดด้วย 95%EtOH มีค่า %inhibition สูงที่สุดคือ 98.5±1.3 ดังนั้นสารสกัดกระโดนที่สกัดด้วย 95%EtOH จึงเหมาะสมนำไปพัฒนาวิจัยเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรรักษาโรคเบาหวานต่อไป
Literature:
- พรชนก ชโลปกรณ์ และ พงศธร กล่อมสกุล, 2017, ฤทธิ์ในการยับยั้งแอลฟาอะไมเลสและแอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัดฝาง ม้ากระทืบโรง และปลาไหลเผือก, วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1, 63-73.
- วชิยา ไตรบุญ, 2558, การศึกษาโครงสร้างและฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส จากองค์ประกอบทางเคมีของเหง้าว่านนางคำ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน,ฉัตรชนก นุกูลกิจ, เพ็ญศิริ จันทร์แอ, ภานิชา พงศ์นราทร, นฤวัตร ภักดี, พิเชษฐ เวชวิฐาน, ศรัณย์ ฉวีรักษ์, อนรรฆอร จิตต์เจริญธรรม, ปภาวินี ผะแดนนอก และฉัตรลดา หงษ์วิลัย, 2564, การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสของสารสกัด สมุนไพรพื้นบ้านในจังหวัดสกลนคร, วารสารหมอยาไทยวิจัย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1, 15-28.
- วิมลพรรณ รุ่งพรหม,ศิริรัตน์ ศิริพรวิศาล, สัญญา เขียวไสว และ มุกดา ทรงไตรย์, 2553, สารยับยั้งแอลฟากลูโคซิเดสจากพืชสมุนไพรเพื่อใช้บำบัดโรคเบาหวาน, ว.วิทย์. กษ. 41(3/1)(พิเศษ):301-304.