ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเต้านม Anti-Breast Cancer
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเต้านม Anti-Breast Cancer (MCF-7) ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
มะเร็งเต้านม ถือเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย โดยพบมากถึง 38% ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีผู้หญิงทุกคนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าปกติ (ก่อนอายุ 12 ปี) ประจำเดือนหมดช้ากว่าปกติ (หลังอายุ 55 ปีขึ้นไป) ผู้ที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไป รับประทานฮอร์โมนทดแทน ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี และผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของเต้านม โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7)
ทำความรู้จักกับมะเร็งเต้านม (Breast cancer)
ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2564 พบว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย โดยพบมากถึง 38% ของโรคมะเร็งในผู้หญิงทั้งหมด และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีผู้หญิงทุกคนมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ มีประจำเดือนครั้งแรกเร็วกว่าปกติ (ก่อนอายุ 12 ปี) ประจำเดือนหมดช้ากว่าปกติ (หลังอายุ 55 ปีขึ้นไป) ผู้ที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไป รับประทานฮอร์โมนทดแทน ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดนานกว่า 5 ปี และผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่
มะเร็งเต้านม เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ จากนั้นจะกระจายไปอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ มะเร็งเต้านมจะพบความผิดปกติของเต้านม โดยส่วนใหญ่มักคลำพบก้อนที่เต้านม เต้านมขึ้นไม่เท่ากัน มีเลือดออกบริเวณหัวนม หัวนมถูกดึงรั้นจนผิดปกติ มีแผลบริเวณหัวนม มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัวที่หัวนม ผิวหนังบวมหนาตึงคล้ายผิวเปลือกส้ม มีผื่นคันที่เป็นๆ หายๆ รู้สึกเจ็บบริเวณเต้านม และคลำพบก้อนที่รักแร้
มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7)
เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7) คือเซลล์มะเร็งเต้านมที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์ เป็นเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาชีววิทยาของมะเร็งเต้านม โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์
วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Cell Culture- Anti-cancer)
ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของเต้านม โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7)
ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป
รูปแสดง ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ ในระดับ in-vitro ที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางชีววิทยาและมะเร็งวิทยา (ดัดแปลงจาก Gaebler และคณะ 2017)
การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7) ด้วยวิธี MTT assay
การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด Breast cancer cells (MCF-7) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)
ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)
Literature:
- ตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม, ศูนย์ถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช
- รู้จักมะเร็งเต้านม, มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
- แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ. 2562 – 2565
- ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ.2564
- Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.