ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งตับ Anti-Liver Cancer (HepG2)
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งตับ Anti-Liver Cancer (HepG2) ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบมากในคนไทย ดังข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2564 มะเร็งตับ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับเอง โดยเกิดจากเซลล์บริเวณตับมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์มากกว่าปกติ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เรียกว่า มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ (Primary liver cancer) และชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายมาจากมะเร็งอวัยวะอื่น เช่น ตับอ่อน กระเพาอาหาร ลำไส้ใหญ่ ไต ปอดหรือเต้านม เรียกว่า มะเร็งตับชนิดทุติยภูมิ (Secondary liver cancer) โดยเซลล์มะเร็งตับชนิด Liver cancer cells (HepG2) เป็นเซลล์มะเร็งตับ ที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ในอาหารเลี้ยงเซลล์
ทำความรู้จักกับมะเร็งตับ (Liver cancer)
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบมากในคนไทย ดังข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2564 พบว่า มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 5 ในผู้หญิงไทย โดยมะเร็งตับพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3 เท่า
มะเร็งตับ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่เกิดจากเนื้อเยื่อของตับเอง โดยเกิดจากเซลล์บริเวณตับมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์มากกว่าปกติ จนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เรียกว่า มะเร็งตับชนิดปฐมภูมิ (Primary liver cancer) และชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายมาจากมะเร็งอวัยวะอื่น เช่น ตับอ่อน กระเพาอาหาร ลำไส้ใหญ่ ไต ปอดหรือเต้านม เรียกว่า มะเร็งตับชนิดทุติยภูมิ (Secondary liver cancer)
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดมะเร็งตับ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี ซึ่งติดต่อได้ทางเลือด และการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับไวรัสตับอักเสบบีและซี จะทำให้มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง กลายเป็นตับแข็ง และพัฒนาเป็นมะเร็งตับได้ นอกจากนี้ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินเป็นประจำ ซึ่งอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง โดยมักพบในอาหารแห้ง เช่น ถั่วลิสง กุ้งแห้ง กระเทียม รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของดินประสิวหรือโพแทสเซียมไนเตรตซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยผู้ผลิตมักใช้ดินประสิวเป็นวัตถุกันเสียในอาหาร เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม และการรับประทานปลาน้ำจืดที่ปรุงไม่สุกซึ่งอาจมีพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับได้
มะเร็งตับชนิด Liver cancer cells (HepG2)
เซลล์มะเร็งตับชนิด Liver cancer cells (HepG2) เป็นเซลล์มะเร็งตับชนิดที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์
วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งตับชนิด Liver cancer cells (HepG2) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Cell Culture- Anti-cancer)
ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของตับ โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับชนิด Liver cancer cells (HepG2)
ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป
รูปแสดง ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ ในระดับ in-vitro ที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางชีววิทยาและมะเร็งวิทยา (ดัดแปลงจาก Gaebler และคณะ 2017)
การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ชนิด Liver cancer cells (HepG2) ด้วยวิธี MTT assay
การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ชนิด Liver cancer cells (HepG2) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)
ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)
Literature:
- บทความสุขภาพ มะเร็งตับ … โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์
- มะเร็งตับ อีกหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบบ่อย, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ. 2562 – 2565
- สุขภาพคนไทย 2564, 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2564
- ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ.2564
- ศิวนันท์ ฟองจันทร์, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, พนัชกร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม, และเกษม ชูรัตน์. การป้องกันและควบคุมมะเร็งตับ, วารสารโรคมะเร็ง, 2562; 39(2): 64-74.
- Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.
- Donato MT, Tolosa L, Gómez-Lechón MJ. Culture and Functional Characterization of Human Hepatoma HepG2 Cells. Methods Mol Biol. 2015;1250:77-93. doi: 10.1007/978-1-4939-2074-7_5. PMID: 26272135.