ข้อมูลบริการตรวจวิเคราะห์สารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์สารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาทิเช่น ตรวจสารกรดโคจิก (Kojic acid), ตรวจสารอัลฟ่าอาร์บูติน (Alpha-Arbutin), ตรวจสารวิตามินบี3 หรือ ตรวจสารไนอะซินาไมด์ (Niacinamide), ตรวจสารวิตามินซี เช่น อนุพันธ์กรดแอสคอบิค (L–Ascorbic Acid) หรือ Ascorbyl tetraisopalmitate, ตรวจสารกรดไฮยาลูรอนิค หรือ ไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) และ ตรวจสารอัลลานโทอิน (Allantoin) เป็นต้น ซึ่งสารหล่านี้เป็นสารที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ปัจจุบันเครื่องสำอางที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายประเภท การเลือกใช้สารสำคัญ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องสำอางที่ทางผู้ผลิตต้องการส่งมอบให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งหากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคหรือต้องการตรวจสอบว่าสารสำคัญที่ใส่ไประหว่างกระบวนการผลิตยังคงอยู่หรือไม่ สามารถนำผลิตภัณฑ์ตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญที่มีในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

เครื่องสำอางหรือเวชสำอาง คืออะไร ?

เครื่องสำอาง (Cosmetics) หมายถึง ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุง ที่ใช้บนผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยใช้ทา ถู นวด พ่น หรือโรย มีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาด หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ ส่วนเวชสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดสุขภาพและความสวยงามของผิวพรรณที่ดีขึ้นโดย การทาภายนอก เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างความเป็นเครื่องสําอางและยา ทำให้เกิดความสวยงามและสุขภาพผิวที่ดีขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผิวหนัง แต่ไม่ใช่สารที่ทำหน้าที่เป็นยา โดยสามารถแสดงความสัมพันธ์ได้ดังภาพที่ 1

ความสัมพันธ์ระหว่างยา เครื่องสําอาง และเวชสำอาง

ดังนั้นในการนําสารออกฤทธิ์หรือสาระสำคัญ มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อการนําสงในระบบผิวหนังนั้น มีการหลักการวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่างเครื่องสำอาง เวชสำอาง และยา

ประเภทของเครื่องสำอาง

การจัดประเภทตามเกณฑ์การวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้วสามารถจัดแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ

เครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายกับผู้บริโภค เนื่องจากพิษภัยหรืออันตรายของเคมีภัณฑ์ที่เป็นส่วนประกอบ เช่น ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ น้ำยาย้อมผม น้ำยาดัดผม ฟอกสีผม เป็นต้น การกำกับดูแลเข้มงวดมากที่สุด โดยผู้ประกอบการหรือผู้ผลิต ต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนตำรับ และเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับเครื่องสำอางควบคุมพิเศษเรียบร้อยแล้วจึงจะสามารถผลิตหรือนำผลิตภัณฑ์เข้ามาจำหน่ายได้

  1. เครื่องสำอางควบคุม

เครื่องสำอางกลุ่มที่อาจมีผลกระทบหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายบ้าง แต่น้อยกว่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ การกำกับดูแลจึงไม่เข้มงวดเท่าเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ผู้ประกอบกิจการเพียงมาแจ้งรายละเอียดต่อหน่วยงานรัฐ ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนผลิตหรือนำผลิตภัณฑ์เข้ามาจำหน่ายและต้องกำกับดูแลให้ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดให้เครื่องสำอางทุกชนิด จัดเป็นเครื่องสำอางควบคุม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การกำหนดเครื่องสำอางควบคุม ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วัตถุดิบและสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง

การควบคุมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง กำหนดให้เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย ต้องแน่ใจว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เมื่อนำไปใช้ตามสภาพปกติ และต้องไม่มีส่วนประกอบของสารห้ามใช้ (Banned Substance) หรือสารใด ๆ ที่ต้องจำกัดปริมาณการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Restricted Substance) ผู้ผลิตต้องมีการควบคุม โดยองค์ประกอบของวัตถุดิบและสารเคมีสำหรับใช้ในการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีดังนี้

  1. ตัวทำละลาย (Sovent) เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ เป็นต้น น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ ทำหน้าที่เป็นสารละลาย โดยเครื่องสำอางแต่ละชนิดจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เช่น ครีม จะมีส่วนที่เป็นน้ำและน้ำมันอยู่ด้วยกัน โลชั่นคือครีมที่มีน้ำมากกว่า ถ้าเป็นโทนเนอร์ก็จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากที่สุด
  2. น้ำมันและไขมัน ครีมหรือโลชั่นทั่วไปจะมีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญ เช่น กรดไขมันหรือกลีเชอรีน ซึ่งกลีเชอรีนจะเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างกรดไขมันทั้ง 2 ชนิด คือ กรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว
  3. สารที่ทำให้ลื่น (Emollient) และสารที่ทำให้ข้น (Consistance) น้ำกับน้ำมันเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้จึงจำเป็นต้องมีสารที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างน้ำกับน้ำมันให้อยู่ด้วยกันได้เรียกว่า Emulsifier ซึ่งเป็นตัวทำให้ และเป็นสารที่ทำให้ส่วนผสมอื่นๆ เข้ากันได้ ทำให้เกลี่ยง่ายหรือซึมเข้าผิวหนัง เช่น Propylene glycol, Butylene glycol เป็นต้น
  4. สารดูดน้ำ (Huemactant) เป็นสารที่ช่วยให้ผิวรักษาน้ำไว้ได้ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน โดยดึงน้ำมาจากสิ่งแวดล้อมและชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยคืนความชุ่มชื้นให้กับผิว เช่น Hyaluronic Acid, Collagen, Protein, Amino acid เป็นต้น
  5. สารกันเสีย (Preservative) และสาร Antioxidant เพื่อให้เครื่องสำอางปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อโรคต่างๆ ช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ส่วนสารที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น หรือ Antioxidant ได้แก่ BHA (Butylated hydroxyanisole) และ BHT (Butylated hydroxytoluene) ทำหน้าที่ในการยับยั้งและป้องกันการเสื่อมสลายของผลิตภัณฑ์ เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในบรรยากาศ
  6. สี(Color) เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตเครื่องสำอาง สีที่ใช้ในเครื่องสำอางบางชนิดเพื่อให้เกิดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ในเครื่องสำอางบางชนิดสีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก เช่น แป้งที่มีสีเนื้อโทนต่างๆ ลิปสติก อายแชโดว์ดินสอเขียนคิ้ว หรือน้ำยาโกรกสีผมเป็นต้น
  7. สารสำคัญอื่นๆ เช่น สารสกัดจากพืชหรือสมุนไพร (Herb Extract), สารซักฟอก (Detergent), สารสมานผิว (Astringent), สารออกฤทธิ์ (Active Ingredient) ได้แก่ Kojic acid, Alpha-Arbutin, Niacinamide, Ascorbyl tetraisopalmitate, L–Ascorbic Acid, Hyaluronic Acid หรือ Allantoin เป็นต้น
  8. น้ำหอม (Perfume) น้ำหอมแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
  • Natoral Perfume เป็นน้ำหอมที่ได้จากธรรมชาติ
  • Natural Idiotic Perfume น้ำหอมที่มีส่วนประกอบและกลิ่นที่เหมือนกับธรรมชาติ
  • Perfume Synthetic น้ำหอมกลิ่นสังเคราะห์ที่ไม่เหมือนกลิ่นน้ำหอมที่ได้จากธรรมชาติ

     

การตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

เครื่องสำอางมีหลากหลายประเภท การเลือกใช้สารสำคัญ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องสำอางที่ทางผู้ผลิตต้องการส่งมอบให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งหากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคหรือต้องการตรวจสอบว่าสารสำคัญที่ใส่ไประหว่างกระบวนการผลิตยังคงอยู่หรือไม่ สามารถนำผลิตภัณฑ์ส่งวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญได้ โดยการทดสอบมีหลากหลายเทคนิค เช่น

  1. เครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High Performance Liquid Chromatography: HPLC) เป็นเทคนิคหนึ่งของลิควิดโครมาโตกราฟีแบบคอลัมน์ซึ่งของแข็งที่บรรจุในคอลัมน์มีขนาดเล็ก สามารถแยกได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการใช้ความดันช่วยซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ
  2. การทดสอบปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิค Enzyme assay เป็นวิธีการทางห้องปฏิบัติการสำหรับวัดกิจกรรมของเอนไซม์ มีความสำคัญต่อการศึกษาจลนศาสตร์ของเอนไซม์และการยับยั้งของเอนไซม์

ทั้งนี้บริษัท วิสไบโอ จำกัด รับบริการตรวจปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ ตรวจสารกรดโคจิก (Kojic acid), ตรวจสารอัลฟ่าอาร์บูติน (Alpha-Arbutin), ตรวจสารวิตามินบี3 หรือ ตรวจสารไนอะซินาไมด์ (Niacinamide), ตรวจสารวิตามินซี เช่น อนุพันธ์กรดแอสคอบิค (L–Ascorbic Acid) หรือ Ascorbyl tetraisopalmitate, ตรวจสารกรดไฮยาลูรอนิค หรือ ไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) และ ตรวจสารอัลลานโทอิน (Allantoin) เป็นต้น

Literature:

  • ธนภร อำนวยกิจ. (2009). เวชสำอาง. Thai Pharmaceutical and Health Science Journalวารสาร ไทย เภสัชศาสตร์ และ วิทยาการ สุขภาพ, 4(1), 94-110.
  • ลิขิต ลาเต๊ะ,2564,  การบริบาลความงาม, คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • คู่มือวิชาการ เรื่องแนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภท การผลิต การบรรจุเครื่องสำอาง, 2555, สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข