ข้อมูลบริการตรวจทดสอบปริมาณ ของสารแอนโทไซยานิน(Anthocyanin) ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ซึ่งสารสำคัญในข้าวโพดม่วง ที่ชื่อว่า แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารประกอบในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) จัดเป็นสารในกลุ่ม Antioxidant แหล่งของสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่สำคัญ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต่อต้านเชื้อโรค สมานแผล ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งเหมาะที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดในผลิตภัณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามได้ ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์เพื่อจำแนกชนิดและควบคุมคุณภาพของสาร Anthocyanin ในข้าวโพดม่วง จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเทคนิค HPLC ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจวิเคราะห์กันอย่างแพร่หลาย

ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหารของข้าวโพดม่วง

ข้าวโพดหวานต้มช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และมะเร็งได้ ข้าวโพดหวานต้มสามารถปลดปล่อยสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญชื่อ กรดเฟอรูลิก (ferulic acid) ซึ่งเป็นสาร ที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กรดเฟอรูลิกยังนิยมใช้สำหรับต้านการแก่ของเซลล์ ป้องกันเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด ต้านผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด

ข้าวโพดเป็นอาหารจำพวกแป้งชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วยสารอาหารที่สำคัญ ดังนี้

  1. คาร์โบไฮเดรต พบว่าในเมล็ดข้าวโพดที่แก่จัดมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอยู่ประมาณร้อยละ 72 ข้าวโพดจึงจัดเป็นอาหารจำพวกแป้งที่ให้พลังงาน โดย 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี
  2. ไขมัน เมล็ดข้าวโพดที่แก่จัดมีไขมันอยู่ประมาณร้อยละ 4 สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ประกอบอาหาร น้ำมันข้าวโพดมีกรดไขมันไม่อิ่ม โดยเฉพาะกรดไลโนเลอิกมีถึงร้อยละ 40 และกรดโอเลอิกร้อยละ 37
  3. โปรตีน ข้าวโพดมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 4 โดยโปรตีนในข้าวโพดมีประโยชน์ต่อร่างกายน้อย เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ ไลซีน และทริปโตเฟน ผู้บริโภคจึงควรรับประทานข้าวโพดร่วมกับถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการยิ่งมากขึ้น
  4. วิตามิน ข้าวโพดมีวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 ในปริมาณ 0.08-0.18 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม มีไนอาซีนในปริมาณน้อย คือ 1.1-1.5 มิลลิกรัม ทำให้ประเทศที่มีการบริโภคข้าวโพดเป็นอาหารหลักมักเกิดโรคเพลลากรา (Pellagra) กันมาก เนื่องจากขาดสารไนอาซีน ส่วนวิตามินเอพบเฉพาะในข้าวโพดสีเหลือง
  5. เกลือแร่ ข้าวโพดมีส่วนประกอบของเกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม และเหล็ก แต่พบในปริมาณน้อย
  6. เส้นใยอาหาร พบในปริมาณน้อย แต่มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย

สกัดสารแอนโทไซยานินจากข้าวโพดสีม่วง

ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้นในปัจจุบันโดยหันมาบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งข้าวโพดสีม่วงก็ถูกให้ความสำคัญจากผู้บริโภคเนื่องจากประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญโดยเฉพาะสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระมีแป้งเป็นองค์ประกอบมากกว่าเมล็ดของข้าวโพดสีเหลืองและข้าวโพดสีขาวและมีปริมาณกรดอะมิโนไลซีนสูงกว่าข้าวโพดสีเหลืองหัวบุบ มีปริมาณโปรตีนและแร่ธาตุสูงกว่าข้าวโพดหัวบุบ

ข้าวโพดสีม่วงจึงน่าจะเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง อีกทั้งยังมีเสน่ห์ที่ดึงดูดของสีม่วง มีรสชาติที่แตกต่าง และมีศักยภาพสูงสำหรับอาหารที่มีคุณค่าทางยา (nutraceutical food) สารแอนโธไซยานินเป็นสารประกอบฟีนอล เป็นรงควัตถุที่ละลายน้ำได้ ไม่เสถียรจึงสลายตัวได้ง่ายด้วยความร้อนออกซิเจน และแสง หรือแม้กระทั้งในส่วนของ ไหมข้าวโพด (Zea mays hair, corn silk, maize silk) มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก

โดยไหมข้าวโพดเป็นของเหลือทิ้งจากการบริโภคข้าวโพด มีฟลาโวนอยด์ ชื่อ เมย์ซิน มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์ะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนเส้นฝอยสีน้ำตาลสามารถนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อใช้ในการบรรเทาอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อ การอักเสบและนิ่ว ซึ่งมีผลต่อการลดความดันโลหิตด้วย โดยมีงานวิจัยเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของสารสกัดจากไหมข้าวโพด ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังบางชนิด พบว่า ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดคือ S. marcescens S. typhimurium S. aureus E. coli B. cereus P. vulgaris P. aeruginosa และ A. hydrophila ด้วยวิธี agar well diffusion และ broth dilution (Raenu Yucharoen1 and Pawalee Srisuksomwong2 “Development of Cosmetic Product from Corn Silk Extracts” 1Division of Biology and Biotechnology, Faculty of Science and Technology, Nakhon Sawan Rajabhat University,)

สารสกัดข้าวโพดม่วง สู่อุตสาหกรรมทางสุขภาพและความงาม

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการส่งออกสินค้าทางการเกษตรจํานวนมาก นอกจากข้าวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นแล้ว ยังมีพืชเศรษฐกิจอื่นเช่น ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง ซึ่งปลูกในหลายพื้นที่ หลายภูมิภาคของประเทศ ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ป้อนโรงงานเพื่อแปรรูปเป็นอาหารหรือสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆแล้ว เศษวัสดุเหลือใช้ทางเกษตรที่เหลือจะนําไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ สําหรับข้าวโพดเกษตรกรจะเก็บส่วนฝัก ใบ เปลือกและต้นที่เหลือไม่มีการนํามาใช้ประโยชน์ จะไถกลบบางส่วนเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์

ซึ่งการนำสารสกัดจากข้าวโพดม่วง ในทุกส่วนประกอบ นำมาต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ อาทิ สกัดสารสีแดงธรรมชาติจากซังข้าวโพดสีม่วง ซึ่งมีสารแอนโธไซยานิน ที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เหมาะสมใช้เป็นสีผสมอาหาร และสามารถเสริมในอาหารประเภทต่างๆ เช่น ในน้ำผลไม้ เครื่องดื่มหลากหลายชนิด ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่พาสต้า และเยลลี่ เป็นต้น และสีนี้สามารถบรรจุในแคปซูล และบริโภคเป็นเสริมอาหาร ซึ่งทุกส่วนของข้าวโพดที่มีสีม่วงไม่ว่าจะเป็นแกนซัง และไหม หรือในกลุ่มเครื่องสำอาง สามารถนำมาพัฒนาเป็นกลุ่มสินค้าที่เน้นประสิทธิภาพในเรื่องของคุณสมบัติในการ ช่วยในการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ สามารถนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ในการบำรุงผิวประสิทธิภาพสูง เช่น ผลิตภัณฑ์ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ต่อต้านอนุมูอิสระ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทุกประเภทได้ หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดสิวจากเชื้อแบคทีเรียก่อสิว

ตลาดเครื่องสำอางในประเทศมีการนำเข้ามูลค่าเป็นพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการผลิตเครื่องสำอางจากธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามตลาดเครื่องสำอางส่วนใหญ่ที่ผลิตในชุมชนยังไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและให้ความรู้แก่ผู้ผลิตเครื่องสำอางในชุมชน เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และใช้สารสกัดธรรมชาติ ทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่สำคัญของผู้ใช้เครื่องสำอางที่พบได้บ่อยต่อผลข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นสารสกัดธรรมชาติ จากข้าวโพดเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นการนำของเหลือใช้ทางการเกษตรมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ Anthocyanin ด้วยเทคนิค HPLC

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของ Anthocyanin นำพื้นที่ใต้กราฟมาคำนวณหาปริมาณของ Anthocyanin โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานได้

Literature:

  • Rattana Muangrat*, Kronwika Sakulkaipeera, Tanyarat Burakhum and Leelawade Chomnan “Factors Affecting Extraction of from Purple Corn Anthocyanins” Department of Food Engineering, Faculty of Agro-Industry, Chiang Mai University. Raenu Yucharoen1 and Pawalee Srisuksomwong2 “Development of Cosmetic Product from Corn Silk Extracts” 1Division of Biology and Biotechnology, Faculty of Science and Technology, Nakhon Sawan Rajabhat University
  • Fei Lao and M. Monica Giusti, Quantification of Purple Corn (Zea mays L.) Anthocyanins Using Spectrophotometric and HPLC Approaches: Method Comparison and Correlation, May 2016Food Analytical Methods 9(5)
  • ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ. “จากซังข้าวโพดสีม่วง สู่ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว” นิทรรศการงานวันเกษตรแฟร์ ประจำปี 2561“เทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาเศรษฐกิจไทยไป 4.0” ฝ่ายเทคโนโลยีชีวมวลและพลังงานชีวภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ข้าวโพดหวาน และการปลูกข้าวโพดหวาน
  • ข้าวโพด บรรหาร และกองบรรณาธิการ, 2554
  • กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551). คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร. ข้าวโพด ISBN 978-974-9562-61-1 กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร