ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณสารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) ในผลิตภัณฑ์

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สารเบต้ากลูแคน (Beta-Glucan) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมปศุสัตว์ เป็นต้น โดยสารเบต้ากลูแคน(Beta-Glucan) เป็นโพลีแซคคาไรด์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส หลายโมเลกุลเรียงต่อเป็นสายยาวและเชื่อมด้วยพันธะไกลโคไซด์ (Glycosidic bond) พบได้ในผนังเซลล์ของยีสต์ เห็ด รา แบคทีเรีย ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ เป็นต้น ประโยชน์สารเบต้ากลูแคน มีดังนี้ การปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง, ควบคุมระดับความดันโลหิต, ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือด ทั้งยังออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านไวรัสและฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ด้วย ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย พัฒนานำสารเบต้ากลูแคนมาใช้ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามมากขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์สารเบต้ากลูแคน ในเห็ด ข้าว สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยเทคนิค Enzymatic Assay ถือเป็นการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ทำความรู้จักกับเบต้ากลูแคน

เบต้ากลูแคนเป็นสารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส หลายโมเลกุลเรียงต่อเป็นสายยาวและเชื่อมด้วยพันธะไกลโคไซด์ (Glycosidic bond) พบได้ในผนังเซลล์ของยีสต์ เห็ด รา แบคทีเรีย ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ แต่ไม่พบในสัตว์และมนุษย์ เบต้ากลูแคนที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด จะมีโครงสร้างของการจัดเรียงของน้ำตาลกลูโคสที่แตกต่างกัน และความแตกต่างของโครงสร้างนี้ จะทำให้มีคุณสมบัติการออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างกัน

เบต้ากลูแคน ช่วยปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือด ทั้งยังออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (Anti-inflammation) ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านไวรัสและฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ด้วย ปัจจุบันจึงมีการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมทางการแพทย์, อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเบต้ากลูแคนด้วยการทำงานของเอนไซม์

การศึกษาค้นคว้า วิจัย มีการพัฒนานำสารเบต้ากลูแคนจากข้าว, ยีสต์, เห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดชิตาเกะ เห็ดหลินจือ เห็ดนางรมหลวง เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดแครง เห็ดพุงหมู เห็ดซิ่น ฯลฯ มาใช้ในอุตสาหกรรมทางอาหาร เช่น พัฒนาเป็นสารให้ความเข้มข้น สารทดแทนไขมัน และสารให้ความคงตัว ฯลฯ และมีการนำสารเบต้ากลูแคน มาใช้ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์การเกษตร ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ กันอย่างมากมาย จึงมีการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารเบต้ากลูแคนในสมุนไพร สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยหลักการทำงานของเอนไซม์จำเพาะ โดยรายงานผลการทดสอบเป็นปริมาณของเบต้ากลูแคนที่มีในตัวอย่าง แสดงค่าในรูปร้อยละของปริมาณสารเบต้ากลูแคนต่อน้ำหนักผงแห้งของสารตัวอย่าง (%w/w) หรือต่อ 100 กรัม (น้ำหนักแห้ง)

ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณเบต้ากลูแคนด้วยเทคนิคเอนไซม์

การศึกษาปริมาณสารเบต้ากลูแคน ของเห็ดแครงที่อบแห้งที่อุณหภูมิและระยะเวลาแตกต่างกัน โดยจากการศึกษา พบว่าการอบแห้งเห็ดแครงที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมง มีปริมาณสารเบต้ากลูแคนสูงที่สุด

Literature:

  • พรพิมล มูลแก้ว, การสกัดสารเบต้ากลูแคนจากเห็ดนางฟ้าภูฐานด้วยคลื่นไมโครเวฟ, ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและระบบกระบวนการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2561.
  • สุภัสรา รุจานันท์, ศศิธร คงเรือง. การสกัดและการประยุกต์ใช้เบต้ากลูแคนจากยีสต์. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561 หน้า 19-31.
  • สุภารัตน์ จันทร์เหลือง, ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์, การศึกษาหาปริมาณสารเบตากลูแคน โปรตีน และเส้นใยในเห็ดป่าที่ใช้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • เอื้อพร จรัสเพิ่มสุข, กานต์สุดา วันจันทึก,อำพร แจ่มผล, ผลของอุณหภูมิและระยะเวลาต่อปริมาณเบตากลูแคน และคุณลักษณะทางกายภาพ ของเห็ดแครงอบแห้ง, วารสารวิทยาศาสตร์มข. 2563; 48(3) 342-349.
  • Michael E. Danielson, Rosmarie Dauth, Natalie A. Elmasry, Ryan R. Langeslay, Andrew S. Magee, and Paul M. Will, Enzymatic Method To Measure β-1,3-β-1,6-Glucan Content in Extracts and Formulated Products (GEM Assay), Journal of Agricultural and Food Chemistry 2010 58 (19), 10305-10308, DOI: 10.1021/jf102003m