ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณ ของสารชะมวงโอน(Chamuangone) ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยเครื่อง HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สารชะมวงโอน (Chamuangone) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสารชะมวงโอน เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งของชะมวง หรือ ใบชะมวง มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นการศึกษาการสกัดสารชะมวงโอน หรือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบจากใบชะมวง หรือสารสกัดจากใบชะมวง จึงจำเป็นที่ต้องมีการตรวจวิเคราะห์ Biomarker ของสาร Chamuangone ด้วยเทคนิค HPLC ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจวิเคราะห์กันอย่างแพร่หลาย เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งรายงานผลการทดสอบจะแสดงปริมาณสารชะมวงโอน

Garcinia cowa คืออะไร

Garcinia cowa หรือ ชะมวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia cowa Roxb. ex DC. ชะมวงเป็นไม้ยืนต้น ในประเทศไทยชะมวงมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามแต่ละภูมิภาค เช่น อุดรธานี เรียกว่า หมากโมง, ภาคใต้ เรียกว่า กะมวง, นครศรีธรรมราช เรียกว่า ส้มมวง

ชะมวงเป็นผักพื้นบ้านที่นิยมนำมารับประทาน โดยใบชะมวงมีรสเปรี้ยว สามารถนำมากินเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือประกอบอาหารโดยใส่ในแกง ซึ่งเมนูที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ หมูชะมวง ส่วนผลสุก จะมีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานได้ แต่มียางมากทำให้ติดฟัน นอกจากนี้สามารถนำเปลือกต้นและยางของชะมวงที่มีสีเหลืองมาใช้ย้อมผ้าได้ด้วย

พืชวงศ์สกุล Garcinia มีจํานวนชนิดพรรณมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ29 ชนิด องค์ประกอบทางเคมีของพืชสกุลนี้มีหลายชนิด เช่น สารกลุ่ม xanthone ในน้ำยางเหลือง ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพมากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังพบองค์ประกอบทางเคมีกลุ่ม flavonoid, chromone, biphenyl, benzophenone, phloroglucinol, terpenoid และ steroid

สารสกัดใบชะมวง มีองค์ประกอบทางเคมี หลากลาย เช่น ใบพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ชนิด C-glycosideได้แก่ vitexin, orientin สารกลุ่มสเตียรอยด์ ได้แก่ beta-sitosterol

สรรพคุณของ Garcinia cowa

สรรพคุณของ Garcinia cowa

มีการใช้ส่วนต่างๆ ของชะมวงเป็นยาพื้นบ้านอีสาน โดยมีสรรพคุณทางยา เช่น

  • ราก ใช้ผสมกับรากปออ่อน รากตูมกาขาว และรากกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่ม เป็นยาระบาย
  • แก่นของลำต้น แช่น้ำดื่ม ช่วยแก้อาการเหน็บชา

นอกจากนี้ยังพบว่าในตำรับยาไทย มีการใช้ส่วนต่างๆ ของชะมวงในการรักษาอาการต่างๆ เช่น

  • ใบหรือผล มีรสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ไข้ กระหายน้ำ ละลายเสมหะ
  • ราก มีรสเปรี้ยว ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้บิด ละลายเสมหะ
  • ใบ มีรสเปรี้ยว ปรุงเป็นยาลดเสมหะ แก้ไอ
  • ใบและดอก เป็นยาระบายท้อง แก้ไข้ ละลายเสมหะ
  • ผล หั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้กินเป็นยาแก้บิด

สารชะมวงโอน (Chamuangone) คืออะไร

ชะมวงโอน (Chamuangone) เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญของสารสกัดจากใบชะมวง สูตรโมเลกุล คือ C33H42O4 มีคุณสมบัติความไม่มีขั้ว (Nonpolar) สูง มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคทางเดินอาหาร และยังช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว (P.acnes, Propionibacterium acnes) ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory) โดยยับยั้งการหลั่งสารสื่อกลางการอักเสบ เช่น Nitric oxide (NO), Prostaglandin E2 (PGE2), Tumor necrosis factor- α (TNF-α) และ Interleukin (IL)-4 และที่สำคัญช่วยต้านมะเร็ง

สารชะมวงโอน (Chamuangone) คืออะไร

โดยมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งควรมีการพัฒนาต่อยอดในการวิจัยและพัฒนาในเชิงพฤกษเคมีและฤทธิ์ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของใบชะมวง เพื่อให้สารสกัดจากใบชะมวงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นยามะเร็งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ในอนาคต

สาร Chamuangone ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

สาร Chamuangone/ชะมวงโอน มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านเชื้อรา ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านมะเร็ง มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยสาร Chamuangone มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง จึงมีการพัฒนาสารสกัดใบชะมวงเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ Chamuangone ด้วยเทคนิค HPLC

ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ Chamuangone ด้วยเทคนิค HPLC

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ : บริษัท วิสไบโอ(VISBIO) จำกัด บริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ Biomarker สาร Chamuangone จากใบชะมวง, สารสกัดใบชะมวง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีส่วนประกอบของสารสกัดใบชะมวง หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีส่วนประกอบของสารสกัดใบชะมวง หรือผลิตภัณฑ์ยามีส่วนประกอบของสารสกัดใบชะมวง ด้วยเทคนิค HPLC ทั้งนี้หากท่านมีความสนใจตรวจสอบและวิเคราะห์ Biomarker สามารถติดต่อทางบริษัทได้ทุกช่องทาง

Literature:

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
  • ชุติโชติ ปัทมดิลก, จตุพล เหลี่ยงสกุล, สุพจนา สิทธิกูล,รุทธ์ สุทธิศรี, องค์ประกอบทางเคมีของชะมวง (Garcinia cowa Roxb. ex DC.) และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง, วารสารวิชาการ ปขมท. 8(2): 99 – 108
  • ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์, พิรุณรัตน์ แซ่ลิ้ม, สุปรียา ยืนยงสวัสดิ์, ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดชะมวงโอนที่สกัดด้วยน้ำมันรําข้าวสําหรับป้องกันโรคมะเร็ง, สถานวิจัยความเป็นเลิศยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • Panichayupakaranant, Pharkphoom & Sakunpak, Apirak & Matsunami, K.. (2017). Isolation of Chamuangone, a Cytotoxic Compound against Leishmania major and Cancer Cells from Garcinia cowa Leaves and its HPLC Quantitative Determination Method. Journal of Cancer Research Updates. 6. 38-45. 10.6000/1929-2279.2017.06.02.3.