ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณ ของสาร เคอร์คูมินอยด์ ในขมิ้น ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร คอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสมุนไพรขมิ้นชัน มีสารสำคัญที่มีผลดีต่อสุขภาพ ออกฤทธิ์การป้องกันหรือรักษาโรคบางชนิดได้ จากงานวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า สารสำคัญในขมิ้นชันมี ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti- inflammation) ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (anti-cancer) ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ (antimicrobial) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยคุณสมบัติเหล่านี้เป็นผลมาจากสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids) ซึ่งมีองค์ประกอบของสาร 3 ชนิด ได้แก่ เคอร์คูมิน (Curcumin), เดเมทอกซีเคอร์คูมิน (Demethoxycurcumin) และบิสเดเมททอกซีเคอร์คูมิน (Bisdemethoxycurcumin) จากประโยชน์ที่หลากหลาย ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม จึงมีการนำขมิ้นชัน มาพัฒยาผลิตภัณฑ์เป็นยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากขึ้น

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน หรือ Curcuma longa L. (Zingiberaceae) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดียโดย กระจายไปทั่วในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของโลกและมีการปลูกอย่างกว้างขวางในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดเป็นพืชล้มลุกในตระกูลเดียวกันกับ ขิง และข่า คือมีหัว หรือเหง้าฝังอยู่ใต้ดิน เนื้อเหง้ามีสีเหลืองส่วนของลำต้น ใบ และดอกอยู่เหนือดิน ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อทรงกระบอก ก้านดอกออกมาจากเหง้าโดยตรง มีกลีบประดับขนาดใหญ่จำนวนมากมีสีเขียวอมชมพู และมีสีตอนบนเข้มกว่าตอนล่าง

ในไทยนิยมปลูกเป็นพืชผักสวนครัว โดยใช้ส่วนของราก หรือเหง้ามาเป็นเครื่องเทศในการประกอบเป็นอาหาร ชื่อเรียกในบางท้องถิ่นเรียก ขมิ้นแกง ขี้มิ้น ตายอ สะยอ นอกจากลำต้นใต้ดินหรือเหง้าของขมิ้นชัน

ขมิ้นชันยังมีสารสำคัญที่มีผลดีต่อสุขภาพ โดยการป้องกันหรือรักษาโรคบางชนิดได้ ทั้งนี้เมื่อนำขมิ้นชันมาพิสูจน์ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสำคัญในขมิ้นชันมี ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti- inflammation) ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (anti-cancer) ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ (antimicrobial) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โดยคุณสมบัติเหล่านี้เป็นผลมาจากสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminoids)

เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid)

คอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) มีองค์ประกอบของสาร 3 ชนิด ได้แก่ เคอร์คูมิน (Curcumin) เดเมทอกซีเคอร์คูมิน (Demethoxycurcumin) และบิสเดเมททอกซีเคอร์คูมิน (Bisdemethoxycurcumin)

ในปัจจุบันสมุนไพรได้รับความสนใจในการเลือกใช้เป็นยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากขึ้น ประเทศไทยซึ่งมีสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาหลายชนิดจึงเหมาะที่จะนำไปพัฒนาเพิ่มคุณค่า และนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้รัฐบาลยังส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันและส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยาสมุนไพรเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ

ขมิ้น (Turmeric) ส่วนผสมที่เต็มไปด้วยประโยชน์ต่อผิว และการใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

“ขมิ้น” ถือว่าเป็นสมุนไพรของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ คอร์คิวมินอยด์ (curcuminoids) เป็นสารสีเหลืองส้ม มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชียและแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้า ทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจึงนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในด้านเครื่องสำอาง ช่วยให้ผิวหน้านุ่ม ลดแบคทีเรียที่เป็นตัวการทำให้เกิดสิว และช่วยให้ผิวแลดูกระจ่างใส ลดเลือนฝ้า กระจุดด่างดำได้เป็นอย่างดี และสารกลุ่ม monoterpenoids ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ : สารเคอร์คูมินจากขมิ้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เมื่อเทียบกับสารกลุ่มวิตามินซี
  • ฤทธิ์ปกป้องผิวและลดริ้วรอย : ขมิ้นชันประกอบไปด้วยสารเคอร์คูมิน และสารฟีนอลจำนวนมากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเกิดริ้วรอย
  • ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส : สารเคอร์คูมินในขมิ้นชัน มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างเม็ดสี ทำให้เกิดผิวดำคล้ำ
  • ฤทธิ์ต้านการเกิดสิว : น้ำมันหอมระเหย และสารเคอร์คูมินจากขมิ้นชัน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวคือ Propionibacterium acnes
  • ฤทธิ์ต้านการอักเสบ : สารเคอร์คูมินมีฤทธิ์ยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง

ขมิ้น (Turmeric) สำหรับบำรุงร่างกายและคุณสมบัติที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

“ขมิ้นชัน” หรือ “ขมิ้น” สามารถรักษาอาการที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และ ด้วยรสชาติและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ มีรสเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย จึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงรสหรือแต่งสีในผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย

สำหรับส่วนที่เป็นเหง้าหรือรากของต้นนิยมใช้ทำเป็นยารักษาโรค ขมิ้นชันมีต่อสุขภาพ คือ เป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติ ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งสารสำคัญสีเหลืองที่ชื่อว่า เคอร์คูมิน (Curcumin) มีงานวิจัยว่าสามารถออกฤทธิ์ในการรักษาและป้องกันโรคได้มากมาย เช่น โรคปวดข้อ ต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการท้องเสีย ยับยั้งการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดไขมันในเลือด การอักเสบของผิวหนัง ปวดศีรษะ เป็นต้น

ตัวอย่างการรายงานผลของ Curcuminoid ด้วยเครื่อง HPLC

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของ Curcuminoid เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน โดย

Peak 1 คือสารbisdemethoxycurcumin (BDMC);
Peak 2 คือสาร demethoxycurcumin (DMC);
Peak 3 คือสาร curcumin

Literature:

  • N. Maithili Karpaga Selvi, M. G. Sridhar,corresponding author R. P. Swaminathan, and R. Sripradha. “Efficacy of Turmeric as Adjuvant Therapy in Type 2 Diabetic Patients” Indian J Clin Biochem. 2015 Apr; 30(2): 180–186. Published online 2014 May 8. doi: 10.1007/s12291-014-0436-2
  • Xhuxhiwin Kanchanathawornviboon1, Chaowalit Monton2 and Hathairat Urairong*1 “Curcuminoids Content of Turmeric Rhizomes Cultivated under Organic Agriculture System in Lop Buri Province” เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564 เผยแพร่ออนไลน์: ลิขสิทธิ © 2559-2564 มหาวิทยาลัยรังสิต
  • Sudarat Onsurathum 1, Thidarut Boonmars 2, Somchai Pinlaor 3. “Effect of Curcumin on Opisthorchiasis and Cholangiocarcinoma in Animal Models” (โครงสร้างทางเคมีแสดงในรูปที่ 2) ภาควิชาปรสิตวิทยา, 2 ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไชยนิวัตร เลิศกิติยศ “The development of turmeric ( Curcuma longa L.) extract loaded microe mulsions” โครงงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์ปีการศึกษา 2563 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภญ.ปิติกาญจน์ กาญจนาพฤกษ์ และ ภญ.ปัณรส แช่มชมดาว.”การผลิตสารมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Curcumin สารสำคัญในขมิ้นชัน และการนำสารมาตรฐานไปใช้ในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์” กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ขมิ้นชัน สมุนไพรไทยแท้ๆ พร้อมประโยชน์ และการนำไปใช้ให้ถูกวิธี; กันยายน 6, 2018; http://203.157.123.7/ssopanom /?news=สมุนไพร เรื่องน่ารู้ สรรพคุณขมิ้นชัน และประโยชน์มากมาย ที่มากกว่าแค่ใช้ทำอาหาร https://www.sgethai.com/article/สรรพคุณขมิ้นชัน-ขมิ้นชั/#การใช้ประโยชน์จาก_ขมิ้นชัน
  • Yen Chu Chen and Bing Huei Chen, 2018, Preparation of curcuminoid microemulsions from Curcuma longa L. to enhance inhibition effects on growth of colon cancer cells HT-29, RSC Advances 8(5):2323-2337.