ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณ ของสาร เคอร์คูมินอยด์ ในไพล ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร คอร์คิวมินอยด์ (curcuminoid) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ทั้งนี้ไพล กับ ขมิ้น มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากมีสีเหลืองเหมือนกัน หากดูภายนอกหลังจากผ่าเหง้าดูแกนด้านในแล้ว จะเห็นว่าขมิ้นชันจะมีแกนสีเหลืองส้มเข้ม ในขณะที่ไพลจะเป็นสีเหลืองปนเขียวอ่อน หรือลักษณะภายนอกคือ ขมิ้นจะมีหัวเล็กกว่าไพล องค์ประกอบทางเคมีในไพล ประกอบด้วย สารน้ำมันระเหย ได้แก่ terpinen-4-ol, sabinene, caryophyllene เป็นต้น, สารสีเหลือง ได้แก่ curcumin, cassumunarins A, B, C เป็นต้น, สารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ หลายชนิด เช่น (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) ดังนั้น สารสกัดจากไพล จึวมีสรรพคุณทางด้านความงาม และทางการแพทย์ คล้ายกับขมิ้น แต่จะแตกต่างกันในด้านการช่วยลดการฟกซ้ำ อาการบวม และเรื่องระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยสารสำคัญในไพลมากยิ่งขึ้น เพื่อนำสารสกัดมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นครีมบำรุงผิวที่ช่วยลดการอักเสบ หรือระคายเคืองสำหรับคนเป็นสิว หรือแม้กระทั่งกลุ่มผลิตภัณฑ์สครับผิวหน้าและกาย เนื่องด้วยคุณสมบัติเรื่องของความกระจ่างใส และลดการระคายเคือง

ไพล

ไพล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย นิยมปลูกกันมากในแถบจังหวัด กาญจนบุรี,สุพรรณบุรี,ปราจีนบุรีและสระแก้ว

ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก

ตำรายาไทยของไพลนั้น เหง้าช่วยในเรื่องของการ ขับโลหิตร้ายทั้งหลาย ขับระดูสตรี แก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม ขับลมในลำไส้ ไล่แมลง แก้จุกเสียด รักษาโรคเหน็บชา แก้ปวดท้อง ช่วยสมานแผล สมานลำไส้ แก้ลำไส้อักเสบ ช่วยทำให้ประจำเดือนมาปกติ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก แก้โรคผิวหนัง แก้เคล็ดขัดยอก

องค์ประกอบทางเคมีของไพล

น้ำมันระเหย มีสารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ terpinen-4-ol, sabinene, caryophyllene, cineol, alpha-pinene, beta-pinene, myrcene, terpinene, limonene, p-cymene, terpinolene, eugenol, farneraol, alflabene, 3,4 dimethoxy benzaldehyde

สารสีเหลือง curcumin, cassumunarins A, B, Cสารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ หลายชนิด เช่น (E)-1-(3,4-dimethoxyphenyl) butadiene (DMPBD) ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และสารอื่นๆ ได้แก่ 4-(4-hydroxyl-1-butenyl)-veratrole, naphthoquinone derivative, vanillin, vanillic acid, veratric acid, β-sitosterol

ไพล กับ ขมิ้น ต่างกันอย่างไร

บางคนจำสับสนระหว่าง ไพล กับ ขมิ้น เพราะเห็นมีสีเหลืองเหมือนกัน หากดูภายนอกหลังจากผ่าเหง้าดูแกนด้านในแล้ว จะเห็นว่าขมิ้นชันจะมีแกนสีเหลืองส้มเข้ม ในขณะที่ไพลจะเป็นสีเหลืองปนเขียวอ่อน หรือลักษณะภายนอกคือ ขมิ้นจะมีหัวเล็กกว่าไพล

ไพล กับสรรพคุณบำรุงผิว

แม้ “ไพล” จะถูกนำมาใช้รักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหรือระบบทางเดินอาหารเสียมากกว่า แต่ไพลก็ยังมีดีตรงที่ช่วยบำรุงผิวพรรณได้เช่นเดียวกัน ถ้านำไพลไปต้มน้ำอาบ จะช่วยบำรุงผิวพรรณได้ นั่นเพราะในไพลมีสารสำคัญคือ สารในกลุ่มเคอร์คิวมินอยด์ (curcuminoids) เหมือนกับที่พบในขมิ้น ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวขาว ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดสมุนไพร ไพล (Plai) กับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม

สารสกัดจากไพล มีสรรพคุณทางด้านความงาม และทางการแพทย์ คล้ายกับขมิ้น แต่จะแตกต่างกันในด้านการช่วยลดการฟกซ้ำ อาการบวม และเรื่องระบบทางเดินอาหาร

แต่ถ้าหากมองในเรื่องของความงาม ในอดีตนิยมนำไพลมาฝนและพอกผิว สำหรับเตรียมผิวในงานมงคลหรืองานแต่ง เพื่อให้ผิวแลดูกระจ่างใส ปัจจุบันมีการคิดค้น วิจัย ศึกษาสารสำคัญในไพลมากยิ่งขึ้น พร้อมกับนวัตรกรรม ที่สามารถสนำสารสกัดมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นครีมบำรุงผิวที่ช่วยลดการอักเสบ หรือระคายเคืองสำหรับคนเป็นสิว หรือแม้กระทั่งกลุ่มผลิตภัณฑ์สครับผิวหน้าและกาย เนื่องด้วยคุณสมบัติเรื่องของความกระจ่างใส และลดการระคายเคือง

ตัวอย่างการรายงานผลของสารสกัดไพล ด้วยเครื่อง HPLC

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของสารสกัดไพล โดย Peak A = (E)-4-(3,4-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-ol, Peak B, D และ E =ไม่สามารถระบุได้, Peak C = curcumin, Peak F = cis-3-(3,4-dimethoxyphenyl)-4-[(E)-2,4,5-trimethoxystyryl]cyclohex-1-ene, Peak G = cis-3-(2,4,5-trimethoxyphenyl)-4-[(E)-2,4,5-trimethoxystyryl] cyclohex-1-ene, Peak H = cis-3-(3,4-dimethoxyphenyl)-4-[(E)-3,4-dimethoxystyryl]cyclohex-1-ene

Literature:

  • NATCHA PONGWIRAT. “DEVELOPMENT OF FILM SPRAY CONTAINING PLAI EXTRACT” Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of MASTER OF SCIENCE (Pharmaceutical Product Development) Faculty of Pharmacy, Srinakharinwirot University 2020
  • “ไพล สรรพคุณและประโยชน์ของไพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม https://skm.ssru.ac.th/news/view/a637
  • ต้นร่างอ้างอิงสมุนไพรไทย:ไพล.คณะอนุกรรมการจัดทำต้นร่างอ้างอิงยาสมุนไพร ในคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์การเลือก.ปีที่10ฉบับที่1มกราคม-เมษายน 2555.
  • “ไพล” ฐานข้อมูลเครื่องยาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=96
  • “ไพล” กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2546. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา ของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 1.โรงพิมพ์การศาสนา:กรุงเทพมหานคร.
  • นางรัตนศิริ จิวานนท์ “เครื่องสำอางรักษาสิวจากไพล” ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) http://oldweb.most.go.th/main/index.php/summary-technology/health-technology-medicine-and-pharmacy/1290-2010-02-03-04-32-28.html