ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณ สารเมลาโทนิน(Melatonin) ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสาร เมลาโทนิน (Melatonin) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสารเมลาโทนิน (Melatonin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า N-acetyl-5-methoxy-tryptamine เป็นสารกลุ่ม Indoleamine ชนิดหนึ่ง และเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมไร้ท่อที่ชื่อว่าต่อมไพเนียล ซึ่งมีสารตั้งต้นคือกรดอะมิโน Tryptophan เมลาโทนินช่วยให้รู้สึกง่วงนอน สารเมลาโทนิน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ นอนหลับยาก การนอนผิดเวลา เช่น การทำงานเป็นกะ หรือช่วยควบคุมการทำงานของนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย และยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยสามารถวิเคราะห์สารเมลาโทนิน ในผัก ผลไม้ สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยเทคนิค HPLC

ทำความรู้จักกับเมลาโทนิน

เมลาโทนิน (Melatonin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า N-acetyl-5-methoxy-tryptamine เป็นสารกลุ่ม Indoleamine ชนิดหนึ่ง และเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมไร้ท่อที่ชื่อว่าต่อมไพเนียล ซึ่งมีสารตั้งต้นคือกรดอะมิโน Tryptophan เมลาโทนินช่วยให้รู้สึกง่วงนอน แต่ถ้าเมลาโทนินหลั่งออกมาน้อยจะทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับได้ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินในเวลากลางคืน

โดยหลั่งสูงสุดในช่วงเวลาประมาณ 02.00- 04.00 น. แล้วจะลดลงเรื่อยๆ จนหยุดในเวลา 7.00-8.00 น. ซึ่งความมืดจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหลั่งเมลาโทนิน ในขณะที่แสงสว่างจะเป็นตัวยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน ในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า แสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์มือถือ มีผลชะลอการหลั่งเมลาโทนิน และในผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่จะหลั่ง เมลาโทนินลดลงด้วย ทำให้ผู้สูงอายุมักมีปัญหานอนไม่หลับได้มากขึ้น

การใช้เมลาโทนินทางการแพทย์ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล หรืออมใต้ลิ้นนั้น จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสภาวะทางจิต เช่น อาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก การนอนผิดเวลา เช่น การทำงานเป็นกะ หรือช่วยควบคุมการทำงานของนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย จึงช่วยลดปัญหา Jet lag ระหว่างการเดินทางข้ามประเทศเป็นเวลานาน นอกจากนี้เมลาโทนินยังมีผลต่อร่างกายในด้านอื่นๆ เช่น มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

สำหรับประเทศไทย เมลาโทนินขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายยาหรือจ่ายตามแพทย์สั่งเท่านั้น โดยทั่วไปเมลาโทนิน เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยหากใช้ตามฉลากหรือตามที่แพทย์แนะนำ แต่อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ทำให้ง่วงซึม หรือปวดศีรษะ จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะและการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง และควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ตนเอง ผู้ป่วยลมชัก ผู้ที่มีปัญหาตับและไต หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

การตรวจวิเคราะห์เมลาโทนิน ด้วยเทคนิค HPLC

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณและศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเมลาโทนินจากพืชสมุนไพรต่างๆ กันมากขึ้น เนื่องจากเมลาโทนินพบได้ในพืช ผัก ผลไม้ หรือสมุนไพรบางชนิด เช่น หัวผักกาด หัวหอม หอมแดง ตะไคร้ เชอร์รี่ อัลมอนด์ ข้าว แตงกวา มะเขือเทศ ใบและผลหม่อน ซึ่งวิธีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของเมลาโทนินที่นิยมและสามารถทำได้ง่าย คือเทคนิค HPLC (High Performance Liquid Chromatography) ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณหรือแยกสารที่ต้องการออกจากสารตัวอย่างที่ผสมกันอยู่ในสถานะของเหลว สัญญาณที่บันทึกได้จะมีลักษณะเป็นพีค เรียกว่าโครมาโตแกรม (Chromatogram) ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสารที่ต้องการ

ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์เมลาโทนิน ด้วยเทคนิค HPLC

รูปแสดงโครมาโตแกรมของการตรวจวิเคราะห์เมลาโทนินจากสารกัดจากผลหม่อน ด้วยเทคนิค HPLC

Literature:

  • บทความสุขภาพ เมลาโทนิน ช่วยให้นอนหลับได้จริงหรือ?, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์
  • https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/melatonin
  • บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน เมลาโทนิน ตัวช่วยนอนหลับยอดฮิต, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/520/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99/
  • กรนิกา ยานการ , อารยา องค์เอี่ยม , พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล, เมลาโทนินเหมาะสมหรือยังที่จะนำมาใช้ในวิสัญญี, วิสัญญีสาร 2562; 45(2).
  • วริยา โฮชิน, อนุชิตา มุ่งงาม, เมลาโทนินและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในผักจากท้องถิ่น, แก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ 1 : (2560).
  • พิชญา โพธินุช, ศศิธร ตรงจิตภักดี, การสกัดและวิเคราะห์เมลาโทนินในสมุนไพรไทย, เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพฯ. 2553. หน้า 562-569.
  • ปัญญดา ปัญญาทิพย์, ปิยะสดุา โทสวนจิตร, สุธาสินี ทัพพสารพงศ์, ปราโมทย์ มหคุณากร, เพลินทิพย์ ภูทองกิ่ง, บรรลือ สังข์ทอง, การวิเคราะห์ปริมาณเมลาโทนินและศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากใบหม่อน, การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ The 5 th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2013.
  • Chanchal Bhati , Neha Minocha, Deepika Purohit, Sunil Kumar, Manish Makhija, Sapna Saini, Deepak Kaushik and Parijat Pandey, High Performance Liquid Chromatography: Recent Patents and Advancement Biomedical & Pharmacology Journal, June 2022, Vol. 15(2), p. 729-746.
  • Lin, Jian & Zhang, Chunchan & Gao, Yaoxiang & Zhao, Xiaojun & Li, Xican. (2012). A Validated HPLC Method for Determining Melatonin in Capsule Dosage Form. Spatula DD – Peer Reviewed Journal on Complementary Medicine and Drug Discovery, January 2012; 2(3):147.
  • Manchester, L.C., D.X. Tan, R.J. Reiter, W. Park, K. Monis and W.B. Qi . 2000. High levels of melatonin in the seeds of edible plants-possible function in germ tissue protection. Life Sci. 67:3023–3029.
  • Reiter, R.J., L.C. Manchester, D.X. Tan. 2005. Melatonin in walnuts: Influence on levels of melatonin and total antioxidant capacity of blood. Nutrition. 21: 920-924.