ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณ สารเซโรโทนิน (Serotonin) ในผลิตภัณฑ์

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร เซโรโทนิน (Serotonin) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสารเซโรโทนิน (Serotonin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า 5-hydroxytryptamine (5-HT) เป็นสารสื่อประสาทโมโนเอมีนชนิดหนึ่งที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยเปลี่ยนทริปโตเฟนจากอาหารจำพวกโปรตีนที่มีอยู่ในกระแสเลือด โดยอาศัยเอนไซม์ Tryptophan hydroxylase และ เอนไซม์ Aromatic L-amino acid decarboxylase ให้เป็นเซโรโทนิน พบได้ในพืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพรหลายชนิด โดยสารเซราโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมการรับรู้ ความอยากอาหาร การนอนหลับ หากร่างกายขาดเซโรโทนิน อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย พัฒนาและนำมาใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์สารเซโรโทนิน ในผัก ผลไม้ สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยเทคนิค HPLC

ทำความรู้จักกับเซโรโทนิน

เซโรโทนิน (Serotonin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า 5-hydroxytryptamine (5-HT) เป็นสารสื่อประสาทโมโนเอมีนชนิดหนึ่งที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยเปลี่ยนทริปโตเฟนจากอาหารจำพวกโปรตีนที่มีอยู่ในกระแสเลือด โดยอาศัยเอนไซม์ Tryptophan hydroxylase และ เอนไซม์ Aromatic L-amino acid decarboxylase ให้เป็นเซโรโทนิน ซึ่งพบได้ในสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ช่วยควบคุมอารมณ์ให้รู้สึกมีความสุข จึงเรียกได้ว่า เป็นสารแห่งความสุขชนิดหนึ่ง นอกจากนี้เซโรโทนินยังช่วยควบคุมการรับรู้ การจดจำ ความอยากอาหาร พฤติกรรมทางเพศ ความเจ็บปวด ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของลำไส้ การหดตัวของหลอดเลือด การหดตัวของมดลูก การนอนหลับ ฯลฯ หากร่างกายขาดเซโรโทนิน หรือสร้างได้ในปริมาณน้อย จะส่งผลให้การสื่อสารของเซลล์ประสาททำงานได้ไม่ดี และอาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

การตรวจวิเคราะห์เซโรโทนิน ด้วยเทคนิค HPLC

ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณของเซโรโทนินและฤทธิ์ของสารสกัดจากพืช ผักผลไม้ และสมุนไพรต่างๆ กันมากขึ้น เช่น ฟักทอง ผักกาดขาว มะเขือเทศ ขมิ้นชัน ขึ้นฉ่าย ใบสะระแหน่ ใบบัวบก น้ำมันรำข้าว กล้วย ดอกบัวหลวง เมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งวิธีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของเซโรโทนินที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์กันอย่างแพร่หลาย คือเทคนิค HPLC (High Performance Liquid Chromatography; เครื่องโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง) เป็นเทคนิคคอลัมน์โครมาโตกราฟี ชนิดหนึ่ง ซึ่ง HPLC ใช้ในการวิเคราะห์หรือแยกสารที่ต้องการออกจากสารตัวอย่างที่ผสมกันอยู่ในสถานะของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยที่สามารถใช้สารตัวอย่างในปริมาณน้อย และไม่ต้องเตรียมสารตัวอย่างที่ซับซ้อนและยุ่งยาก

ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์เซโรโทนิน ด้วยเทคนิค HPLC

รูปแสดงโครมาโตแกรมของการตรวจวิเคราะห์เซโรโทนิน (5-HT) ด้วยเทคนิค HPLC

Literature:

  • พรชนก มนแก้ว, กลุ่มอาการเซโรโทนิน, วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), Vol. 28, No.2, May-August 2018.
  • กรนิกา ยานการ , อารยา องค์เอี่ยม , พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล, เมลาโทนินเหมาะสมหรือยังที่จะนำมาใช้ในวิสัญญี, วิสัญญีสาร 2562; 45(2).
  • อำพร เนื่องจากนาค, ภาวะซึมเศร้ากับฟักทอง, Chula Med Bull Vol. 3 No. 1 January – June 2021;47-56
  • Chanchal Bhati , Neha Minocha, Deepika Purohit, Sunil Kumar, Manish Makhija, Sapna Saini, Deepak Kaushik and Parijat Pandey, High Performance Liquid Chromatography: Recent Patents and Advancement Biomedical & Pharmacology Journal, June 2022, Vol. 15(2), p. 729-746.
  • He, Q., Li, M., Wang, X. et al. A simple, efficient and rapid HPLC–UV method for the detection of 5-HT in RIN-14B cell extract and cell culture medium. BMC Chemistry 13, 76 (2019). https://doi.org/10.1186/s13065-019-0591-x
  • Ly, Dalin & Kang, Kiyoon & Choi, Jang-Yeol & Ishihara, Atsushi & Back, Kyoungwhan & Lee, Seong-Gene. (2008). HPLC Analysis of Serotonin, Tryptamine, Tyramine, and the Hydroxycinnamic Acid Amides of Serotonin and Tyramine in Food Vegetables. Journal of medicinal food. 11. 385-9. 10.1089/jmf.2007.514.
  • Han, S.J.; Lim, M.J.; Lee, K.M.; Oh, E.; Shin, Y.S.; Kim, S.; Kim, J.S.; Yun, S.P.; Kang, L.-J. Safflower Seed Extract Attenuates the Development of Osteoarthritis by Blocking NF-κB Signaling. Pharmaceuticals 2021, 14, 258. https://doi.org/10.3390/ph14030258