ข้อมูลบริการทดสอบประสิทธิภาพการผลิตคอเลสเตอรอล Cholesterol-LDL

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับวิเคราะห์การผลิตปริมาณคอเลสเตอรอล ชนิด LDL (Low-Density Lipoproteins) และการหาความเข้มข้นที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ที่จะไม่ส่งผลให้สร้างคอเลสเตอรอล ชนิด LDL เกินความเหมาะสม ด้วยวิธี ELISA โดยคอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภท LDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายและ HDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์ การทดสอบการผลิตคอเลสเตอรอล (LDL) สามารถทำได้ด้วยการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ดังนี้ สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือ ยา ด้วย วิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) หรือ Enzyme Immunoassay (EIA) เป็นการทดสอบที่ใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันวิทยาโดยอาศัยปฏิกิริยาการจับกันแบบจำเพาะระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี้

คอเลสเตอรอล คืออะไร

คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของ น้ำดีอีกด้วย ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลทั้งจาก อาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเราก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย โดยโครงสร้างของคอเลสเตอรอลแสดงดังรูป

คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

LDL Cholesterol ย่อมาจาก Low-Density Lipoproteins เป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายหรือเรียกได้ว่าเป็น “ไขมันเลว” เพราะจะเกาะตัวตามผนังของ หลอดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นเสียไป และเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา

HDL Cholesterol ย่อมาจาก High-Density Lipoproteins เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์เพราะจะช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้

การทดสอบระดับคอเลสเตอรอลสามารถช่วยระบุความเสี่ยงของการสะสมไขมันในหลอดและโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ แต่ระดับคอเลสเตอรอลที่สูงอาจไม่แสดงอาการในบางครั้ง National Heart,Lung and Blood Institute (NHLBI) แนะนำให้บุคคลที่มีอายุ 9-11 ปี ควรมีตรวจเช็คระดับคอเลสเตอรอลเป็นครั้งแรก จากนั้นตรวจซ้ำทุกๆ 5 ปีและเพศหญิง-เพศชาย อายุ 45-65 ปี ควรได้รับการตรวจทุก 1-2 ปี การทดสอบคอเลสเตอรอล (LDL) สามารถทำได้ด้วยการตรวจเลือดรวมถึงการคำนวณไขมัน 4 ชนิดในเลือด

  1. Total cholesterol ผลรวมของคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. Low-density lipoprotein (LDL) cholesterol
  3. High-density lipoprotein (HDL) cholesterol
  4. Triglycerides ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งในเลือด เมื่อรับประทานอาหารร่างกายจะแปลงแคลอรี่ที่ไม่ต้องการเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์สะสมไว้ในเซลล์

ระดับคอเลสเตอรอล (LDL)

LDL (Bad) Cholesterol Level LDL Cholesterol Category
Less than 100mg/dLOptimal
100-129mg/dLNear optimal/above optimal
130-159 mg/dLBorderline high
160-189 mg/dLHigh
190 mg/dL and aboveVery High

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับบคอเลสเตอรอล (LDL) ในร่างกาย

  1. อาหาร การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไขแดง หนังและส่วนติดไขมันสัตว์ ในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอล
  2. การออกกำลังกาย ขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีอาจะช่วยลดระดับ LDL ได้
  3. การสูบบุหรี่ / ดื่มแอลกอฮอล์
  4. อายุและเพศ
  5. พันธุกรรม
  6. ยา บางชนิดรวมทั้งสเตียรอยด์ อาจเพิ่มระดับ LDL ได้ จึงควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

การใช้วิธี ELISA ในการวัดปริมาณคอเลสเตอรอล

วิธีการที่จะสามารถตรวจสอบปริมาณของคอเลสเตอรอลในร่างกายหรือในอาหารมีอยู่มีหลายวิธีโดยเฉพาะเทคนิค วิธี Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) หรือ Enzyme Immunoassay (EIA) เป็นการทดสอบที่ใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันวิทยา โดยอาศัยปฏิกิริยาการจับกันแบบจำเพาะระหว่างแอนติเจน (Antigen)และแอนติบอดี้ (Antibody) โดยหลักการของวิธี ELISA คือ การใช้แอนติเจน (Antigen) หรือ แอนติบอดี (Antibody) เคลือบติดพื้นผิว ELISA Plate โดยติดฉลากด้วยเอนไซม์ลงบนแอนติเจนหรือแอนติบอดี้ จากนั้นเมื่อเติมสารตั้งต้นการเกิดปฏิกริยา (substrate) ลงไป จะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์แล้วเปลี่ยนสี จากนั้นวัดผลของสีที่เกิดขึ้นโดยอ่านค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องอ่านไมโครเพลท (Microplate Reader) สามารถตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

ตัวอย่าง งานวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อวัดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น โดยใช้วิธี ELISA สร้างกราฟด้วยค่าการดูดกลืนแสงของImmune แต่ละสัปดาห์

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของวิตามินบี12 ที่อยู่ในคีเฟอร์ที่มีการเสริมวิตามินบี12 ซึ่งสามารถนำพื้นที่ใต้กราฟมาคำนวณหาปริมาณของวิตามินบี12 โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน

Literature:

  • ปิยมาส ตัณฑ์เจิรญรัตน์ และ เพทาย พงษ์เพียจันทร์, “การผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อวัดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น”, วารสารเกษตร 18(3) (2545) : 270-280
  • LDL: The “Bad” Cholesterol ค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2565
  • Cholesterol test ค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2565
  • ณัฐธนัญ ภิญโญสุขี, รัตนาวดี วิชาจารณ์และนุชนาฎ ชัชวาลการพาณิชย์, การพัฒนาวิธี ELISA สำหรับตรวจหาปริมาณแอนติบอดีต่อไกลโคโปรตีนดีของไวรัสเฮอร์ปีส์. สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์