ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณ ของสาร เคอร์คูมินอยด์ Curcuminoid Curcuma Comosa

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร คอร์คิวมินอยด์ Curcuminoid Curcuma Comosaได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

สมุนไพรว่านชักมดลูกที่พบได้ตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.) ซึ่งจะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe) จะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นและแขนงจะยาวมากกว่า สารออกฤทธิ์ของว่านชักมดลูกจะเป็นสารวงศ์เดียวกับขิงและข่า และอยู่ในกลุ่มเดียวกับขมิ้นชัน นั้นคือ สารกลุ่ม Curcuminoids เช่น สาร Curcumin , desmethoxy curcumin , bisdesmethoxycurcumin โดยสารในกลุ่มนี้ในว่านชักมดลูกมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ , ต้านการอักเสบ , ลดระดับโคเลสเตอรอล และป้องกันสมองเสื่อม สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทย จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น จากงานวิจัยพบว่า ว่านชักมดลูก มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน โดยว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ (Diarylheptanoids) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย พบว่า สารสกัดว่านชักมดลูก มีฤทธิ์การลดหรือต้านการอักเสบ ซึ่งสามารถนำมาต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สิว เพราะถ้าหากสิวเกิดการอักเสบ สารสำคัญในว่านชักมดลูกสามารถช่วยบรรเทาการอักเสบของสิวได้

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินและมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูกที่พบได้ตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.) ซึ่งจะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe) จะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า ทำให้การซื้อมาใช้บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก เพราะบางครั้งเมื่อนำมาเทียบกันทั้งตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก โดยจะปลูกมากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์

สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทย จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น จากงานวิจัยพบว่า ว่านชักมดลูก มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน โดยว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ (Diarylheptanoids)

สารออกฤทธิ์ของว่านชักมดลูกจะเป็นสารวงศ์เดียวกับขิงและข่า และอยู่ในกลุ่มเดียวกับขมิ้นชัน นั้นคือ สารกลุ่ม Curcuminoids เช่น สาร Curcumin , desmethoxy curcumin , bisdesmethoxycurcumin โดยสารในกลุ่มนี้ในว่านชักมดลูกมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ , ต้านการอักเสบ , ลดระดับโคเลสเตอรอล และป้องกันสมองเสื่อม , รวมถึงยังมีสารกลุ่ม สารแซนทอร์ไรซอล (Xanthorrhizol, XNT) จัดเป็นสารเทอร์ปีน ชนิดหนึ่งในกลุ่มเซสควิเทอร์ปีน (sesquiterpene) โดยสามารถพบได้จากน้ำมันหอมระเหยในเหง้าของว่านชักมดลูกชนิด Curcumar xanthorrhiza Roxb.

สารสกัดว่านชักมดลูกในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง (Cosmetic Industrial)

ผลิตภัณฑ์เพื่อความงามหรือเครื่องสำอางนั้น สารสกัดว่านชักมดลูก ยังไม่เป็นที่นิยมนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์มากนัก เนื่องจากคุณสมบัติของสารนี้ จะเน้นเรื่องของการบำรุงภายในร่างกาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สำหรับสุภาพสตรี ซึ่งจะเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยาสตรี แต่หากพิจารณาศึกษาสารสำคัญที่อยู่ในตัวว่านชักมดลูก จะพบคุณสมบัติหลากหลาย เช่น ฤทธิ์การลดหรือต้านการอักเสบ ซึ่งสามารถนำมาต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สิว เพราะถ้าหากสิวเกิดการอักเสบ สารสำคัญในว่านชักมดลูกสามารถช่วยบรรเทาการอักเสบของสิวได้

สารสกัดว่านชักมดลูกในอุตสาหกรรมอาหารเสริม (Supplement Industrial)

สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทย จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ หรือปวดท้องประจำเดือน ซึ่งว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีสารในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ (Diarylheptanoids) มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งวงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี

ด้วยคุณประโยชน์ในการช่วยรักษาอาการวัยทอง และอาการหมดประจำเดือนก่อนวัย ในผู้หญิง ทำให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มักนำว่านชักมดลูก มาเป็นส่วนผสมในเสริมอาหารสำหรับผู้หญิงวัยสูงอายุ หรือมีอายุ 45 ปี ขึ้นไป ที่มักมีอาการดังกล่าว เพื่อรักษาอาการวัยทอง คืนสมดุลทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ให้ผู้หญิงในวัยนี้ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติอีกครั้ง โดยปัจจุบันนั้น ว่านชักมดลูกมักถูกนำผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบของยาน้ำ แคปซูล หรือ แบบผง

การวิจัยและพัฒนา สารสกัดว่านชักมดลูก (Wan Chuck Mod Luk) กับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม

ว่านชักมดลูก ผสมยอดฮิตด้วยคุณประโยชน์ในการช่วยรักษาอาการวัยทอง และอาการหมดประจำเดือนก่อนวัย ในผู้หญิง ทำให้ผู้ผลิตอาหารเสริมมักนำว่านชักมดลูก มาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมสำหรับผู้หญิง ด้วยคุณสมบัติที่เด่นชัดในเรื่องของการบำรุงสำหรับผู้หญิง และเป็นพืชสมุนไพรที่เพาะปลูกในประเทศ ราคาที่ย่อมเยาว์ และเป็นที่ยอมรับกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่หากทานมากเกินความจำเป็นอาจมีโทษต่อร่างกายได้

ตัวอย่างการรายงานผลของ Curcuminoid Curcuma Comosa ของสารสกัดว่านชักมดลูก

จากรูป แสดงโครมาโตแกรม HPLC ของสารสกัดว่านชักมดลูก โดย 1 คือ ตัวอย่างสารสกัดว่านชักมดลูก
2 คือสาร มาตรฐาน curcuminoids ความเข้มข้น 5 µg/mLประกอบด้วย bisdemethoxycurcumin, demethoxycurcumin, curcumin และ 3 คือ 85 µg/mL สาร xanthorrhizol

Literature:

  • European Medicines Agency, 2013. Reproduction is authorised provided the source is acknowledged. “Assessment report on Curcuma xanthorrhiza Roxb. (C. xanthorrhiza D. Dietrich)., rhizome” 14 May 2013 EMA/HMPC/604598/2012 Committee on Herbal Medicinal Products (HMPC), United Kingdom
  • Nurul Afifah Mohd Salleh, Sabariah Ismail, and Mohd Rohaimi Ab Halim “ Effects of Curcuma xanthorrhiza Extracts and Their Constituents on Phase II Drug-metabolizing Enzymes Activity” Pharmacognosy Res. 2016 Oct-Dec; 8(4): 309–315. doi: 10.4103/0974-8490.188873
  • ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์. “Secondary Metabolites and Biological Activities of Wan Chak Mod Look Distributed in ThaiMarkets.” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 19ฉบับที่ 1มกราคม–เมษายน2560
  • นาฐยา ปิติวิทยากุล, ปภาวรินทร์ วจีสิงห์, ฐิติยาภรณ์ ประสมทรัพย, “Study of acetylcholinesterase inhibitor and antioxidant activities from Curcuma zedoaria Roscoe. and Curcuma comosa Roxb.”
  • รองศาสตราจารย์ พร้อมจิต ศรลัมพ์. “ว่านชักมดลูก” สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/92/ว่านชักมดลูก/
  • กนกพร อะทะวงษา “ว่านชักมดลูก…สมุนไพรวัยทอง” สำานักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นราภรณ์ ฐานะโชติพันธ์. ว่านชักมดลูก. จุลสารข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2545;19(3):5-16
  • Pensri Penprapai, Thitikorn Chanwun “Study of Antimicrobial and Anti-tyrosinase in Coconut Oil with Extracted Curcuma Species for Obtain Basic Information for Using in Cosmetics” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ระววรรณ แกวอมตวงศ, “Secondary Metabolites and Biological Activities of Wan Chak Mod Look Distributed in Thai Markets” กลุ่มวิชาเภสัชเคมีและเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2560
  • Epi Erpina, Mohamad Rafi, Latifah Kosim Darusman and Arum Vitasari, 2017, Simultaneous Quantification of Curcuminoids and Xanthorrhizol in Curcuma Xanthorrhiza by High-Performance Liquid Chromatography, Journal of Liquid Chromatography & Related Technologies 40(12).