ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปอด ชนิด Adenocarcinoma แบบ double mutant

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปอด ชนิด Adenocarcinoma แบบ double mutant ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมะเร็งปอด ถือเป็นมะเร็งที่คนทั่วโลกป่วยและเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งข้อมูลสถิติสาธารณสุข ปีพ.ศ.2562 มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 4 ในผู้หญิงไทย องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งมะเร็งปอดออกเป็น 2 กลุ่มตามผลทางพยาธิวิทยาและพยากรณ์โรค ได้แก่ กลุ่มชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small cell lung cancer, SCLC) และกลุ่มชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer, NSCLC) ซึ่งชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็กนี้พบได้มากถึง 80-85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของปอด โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975)

ทำความรู้จักกับมะเร็งปอด (Lung cancer)

มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่คนทั่วโลกป่วยและเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งข้อมูลสถิติสาธารณสุข ปีพ.ศ.2562 ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดวันละ 40 คน หรือ 14,586 คนต่อปี และข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2564 พบว่า มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 4 ในผู้หญิงไทย องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งมะเร็งปอดออกเป็น 2 กลุ่มตามผลทางพยาธิวิทยาและพยากรณ์โรค ได้แก่ กลุ่มชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small cell lung cancer, SCLC) และกลุ่มชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer, NSCLC)

ซึ่งชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็กนี้พบได้มากถึง 80-85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีการแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ ชนิด Squamous cell carcinoma ที่พบบ่อยที่สุด และชนิด Non- squamous carcinoma ซึ่ง Non- squamous carcinoma ยังมีการแบ่งย่อยเป็นอีกหลายชนิด ได้แก่ Adenocarcinoma, Large cell carcinoma และ Adenosquamous cell carcinoma สำหรับมะเร็งปอดกลุ่มที่เป็นชนิด Adenocarcinoma นั้น พบได้ประมาณ 40% ของคนที่เป็นมะเร็งปอดทั้งหมด แม้ในรายที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย และมีแนวโน้มพบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเพศหญิง โดยจะพบเซลล์มะเร็งชนิดนี้ได้ที่ต่อมสร้างน้ำเมือกของปอดหรือถุงลม

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด

  • สูบหรือรับควันบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปอดมากถึง 80-90% เนื่องจากในบุหรี่ประกอบด้วยสารก่อมะเร็งหลายชนิด เช่น Nitrosamines benzo (a) pyrene และ Diol epoxide โดยผู้ที่สูบบุหรี่จัด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่า 10 เท่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 2 เท่า โดยพบว่ามีการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปอดชนิด Squamous cell lung cancer และ Small cell lung cancer ส่วนมะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma มีความสัมพันธ์กับบุหรี่น้อยกว่าชนิดอื่น บุหรี่เป็นสาเหตุการตายจากมะเร็งปอดถึง 80% ในเพศชาย และ 75% ในเพศหญิง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลอื่นบ่อย ๆ (Secondary smoker) จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งปอดได้สูงกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย และสารแอสแบสตอสหรือแร่ใยหิน ซึ่งสามารถทำให้เกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า
  • ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นที่ปอด เช่น เคยเป็นโรควัณโรคหรือถุงลมโป่งพอง
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
  • มลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5

มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975)

เซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975) เป็นเซลล์มะเร็งปอดชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เป็นแบบจำลองในการศึกษามะเร็งปอดและการพัฒนายาต้านมะเร็งปอด โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์

วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Cell Culture- Anti-cancer)

ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของปอด โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975)

ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป

รูปแสดง ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ ในระดับ in-vitro ที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางชีววิทยาและมะเร็งวิทยา (ดัดแปลงจาก Gaebler และคณะ 2017)

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975) ด้วยวิธี MTT assay

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma; Non-small cell lung cancer ปอด แบบ double mutant (NCI-H1975) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)

ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)

Literature:

  • ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ.2564
  • มะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์
  • โรคมะเร็งปอด, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง
  • ข้อมูลสถิติสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2562
  • Travis WD, Brambilla E, Nicholson AG, et al. The 2015 World Health Organization Classification of Lung Tumors: Impact of genetic, clinical and radiologic advances since the 2004 classification. J Thorac Oncol 2015; 10: 1243-1260.
  • Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.