ข้อมูลบริการทดสอบเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน Osteoporosis
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการทดสอบเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน Osteoporosis ได้แก่ การทดสอบ Proliferation เป็นการทดสอบความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เซลล์มี osteoblast จำนวนเพิ่มมากขึ้น, การทดสอบ Apoptosis เป็นการทดสอบการยับยั้งเซลล์ตายด้วย Muse cell analyzer, การทดสอบ Cell spreading เป็นทดสอบความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และ การทดสอบ Calcium ion concentration เป็นการทดสอบความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการสะสมแคลเซียม หรือ การทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสำคัญที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการสะสมของแคลเซียม โดยการทดสอบห้องปฏิบัติการเราทำการทดสอบระดับเซลล์ 2 มิติ กับเซลล์ hFOB1.19
โรคกระดูกพรุนกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใด ๆ จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน” ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์บำรุงกระดูก จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ทั้งนี้สามารถนำผลิตภัณฑ์มาทดสอบประสิทธิภาพในการสร้างเซลล์ osteoblast ซึ่งเป็นเซลล์สร้างกระดูก การทดสอบการยับยั้งการเกิด apoptosis (สภาวะการอยู่หรือตายของเซลล์กระดูก)และการสร้างปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
กระบวนการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นความบกพร่องที่เกิดจากระบบกระดูก เกี่ยวข้องกับมวล ความแข็งแรง และโครงสร้างภายใน ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อกระดูกหัก โดยประเมินจากความหนาแน่นของกระดูก (Bonemineral density; BMD) เมื่อมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน (T-score) ที่ –2.5 จะจัดเป็นโรคกระดูกพรุน ร้อยละ40 ของผู้หญิงวัยหมดประจำจะมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโรคกระดูกพรุน ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงให้กับโรคอื่นๆ เช่น โรคปวดบวม หรือโรคลิ่มเลือดอุดตัน ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการ เนื่องจากการสูญเสียมวลกระดูก
การเกิดภาวะโรคกระดูกพรุนมีการประเมินปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ ดัชนีมวลกาย ประวัติเกี่ยวกับกระดูก และการสูบบุหรี่ สาเหตุของโรคกระดูกพรุนอาจเกิดได้จาก ปริมาณมวลกระดูกที่สะสมมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือมีการสลายของกระดูกมากกว่าปกติ โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ การอยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้การทำหน้าที่ในตรวจจับความเสียหายของกระดูกลดลงและทำให้ร่างกายไม่ยอมซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ภาวการณ์สูญเสียมวลกระดูกอันเนื่องมาจากโรคหรือยาต่างๆ
ความหนาแน่นของกระดูกเมื่อมีภาวะกระดูกพรุน
กลุ่มสารที่ออกฤทธิ์ป้องกันโรคกระดูกพรุน
กลุ่มสารที่ออกฤทธิ์ช่วยบำรุงกระดูก ได้แก่ แคลเซียม และวิตามินดี โดยการที่ร่างกายได้รับปริมาณแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ จะสามารถบรรเทาและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ทั้งนี้พืช สมุนไพรที่มีปริมาณออกซาเลต (Oxalate) สูง เช่น ยอดผักคะน้า กวางตุ้ง ขี้เหล็ก ตำลึง ส่วนอาหารที่มีปริมาณวิตามินดีสูง ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เห็ดหอมสด น้ำมันตับปลา ไข่แดง เป็นต้น
การทดสอบเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis work) ภายใต้สภาวะเซลล์สองมิติ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์บำรุงกระดูกหรือผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถทดสอบเกี่ยวกับภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis work) ทั้งประสิทธิภาพในการสร้างเซลล์ osteoblast ซึ่งเป็นเซลล์สร้างกระดูก การทดสอบการยับยั้งการเกิด apoptosis (สภาวะการอยู่หรือตายของเซลล์กระดูก) และการสร้างปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งบริษัท วิสไบโอ จำกัด มีบริการทดสอบภายใต้สภาวะเซลล์ 2 มิติ (2D Cell culture) กับเซลล์ hFOB1.19 ซึ่งแต่ละบริการวิเคราะห์ทดสอบ มีรายละเอียดดังนี้
- การทดสอบการเพิ่มจำนวนของเซลล์กระดูก (Cell Proliferation) เป็นการตรวจวัดการแบ่งตัวและการเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่จำนวนเซลล์เริ่มต้นที่แตกต่างกัน โดยเติมเซลล์ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ในตู้เพาะเลี้ยง แล้ววิเคราะห์ผลกราฟค่า Cell Index และอัตราการเพิ่มจำนวนของเซลล์ Osteoblast
- การทดสอบการอยู่รอดของเซลล์ (Apoptosis) โดยทดสอบการยับยั้งการเกิด apoptosis (สภาวะการอยู่หรือตายของเซลล์) ด้วย Muse cell analyzer
- การทดสอบการแพร่กระจายของเซลล์ (Spreading) คือ การทดสอบความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ โดยดูจำนวนเซลล์ที่สมบูรณ์ว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่
- การทดสอบการเกิดการสะสมแคลเซียม (Calcium) เป็นการทดสอบความสามารถในการเกิดการสะสมแคลเซียมของสารตัวอย่าง โดยถ้าสารตัวอย่างสร้างแคลเซียมเยอะเกินไป จะไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคได้ ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการเราสามารถวัดค่าปริมาณการสะสมของแคลเซียม หรือการทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ต่อการสร้างปริมาณแคลเซียม
ตัวอย่างการรายงานผลการทดสอบความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เซลล์เกิด osteoblast (Proliferation)
ภาพแสดงการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์กระดูกเมื่อทำการบ่มกับนมแพะเหลือง ภาพ a คือ เซลล์ที่ไม่ได้เติมนมเหลือง ภาพ b คือ เซลล์กระดูกที่บ่มกับนมเหลืองที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 7 วัน ภาพ c คือ ภาพขยายของเซลล์กระดูกบ่มกับนมเหลืองที่ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรเป็นเวลา 7 วัน โดยลูกศรสีแดงแสดงให้เห็นถึงการแบ่งตัวของเซลล์
Literature:
- Zhang, Ying, et al. “PSMC6 promotes osteoblast apoptosis through inhibiting PI3K/AKT signaling pathway activation in ovariectomy‐induced osteoporosis mouse model.” Journal of cellular physiology 235.7-8 (2020): 5511-5524.
- Min, Seung-Ki, et al. “A vitronectin-derived peptide reverses ovariectomy-induced bone loss via regulation of osteoblast and osteoclast differentiation.” Cell Death & Differentiation 25.2 (2018): 268-281.
- Focaccetti, Chiara, et al. “Polyphenols as immunomodulatory compounds in the tumor microenvironment: friends or foes?.” International journal of molecular sciences 20.7 (2019): 1714.
- Rachner, Tilman D., Sundeep Khosla, and Lorenz C. Hofbauer. “Osteoporosis: now and the future.” The Lancet 377.9773 (2011): 1276-1287.