ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณสาร Rosmarinic Acid

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร กรดโรสมารินิก (Rosmarinic Acid) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสารสำคัญที่พบใน Coleus Amboinicus Lour Leaf /ใบเนียมหูเสือ/ใบหูเสือ ได้แก่ สารในกลุ่ม Phenolic, สารในกลุ่ม Isoprenoids, สารในกลุ่ม Flavone glycosides และ Diterpeneoid quinones เป็นต้น จากการศึกษาวิจัย พบว่าสารออกฤทธิ์ของใบหูเสือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาอาการของโรคไขข้อรูมาตอยด์ และยังมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม ซึ่งสารออกฤทธิ์ที่สำคัญของสารสกัดจากใบหูเสือ คือ สาร Rosmarinic acid มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ยับยั้งการตายของเซลล์ ต้านเนื้องอก มีคุณสมบัติช่วยผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และที่สำคัญ คือ ต้านการอักเสบในโรคต่างๆ เช่น ไขข้ออักเสบ ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เหงือกอักเสบ เป็นต้น

ใบหูเสือ

Coleus Amboinicus Lour Leaf / ใบเนียมหูเสือ / ใบหูเสือ มีถิ่นกำเนิดในเคนยา แอฟริกา อินเดีย ทวีปเอเชียและออสเตรเลีย หูเสือจัดเป็นไม้ประดับ พืชสวนครัว และสมุนไพรพื้นบ้านชนิดหนึ่ง โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามภาษาถิ่น เช่น ภาคกลาง เรียกว่า เนียมหูเสือ/หูเสือ ภาคเหนือ เรียกว่า หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ เป็นต้น หูเสือมีกลิ่นคล้ายออริกาโน่ ทางภาคอีสานนิยมนำยอดอ่อนของหูเสือกินคู่กับเมนูลาบ หรืออาหารที่มีกลิ่นคาว เพราะกลิ่นของหูเสือช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้

สารสำคัญของใบหูเสือ

จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่าสารออกฤทธิ์ของใบเนียมหูเสือ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบรรเทาอาการของโรคไขข้อรูมาตอยด์ และยังมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม

โดยสารสำคัญที่พบได้ในสารสกัดจากใบหูเสือ ประกอบด้วย

  • สารในกลุ่ม Phenolic เช่น Rosmarinic acid, Salvianolic acids A and L, Shimobashiric acid C, Methoxylated flavonoids ชนิดต่างๆ
  • สารในกลุ่ม Isoprenoids เช่น phytosterols และน้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ
  • สารในกลุ่ม Flavone glycosides และ Diterpeneoid quinones เช่น Royleanone

สาร Rosmarinic acid คืออะไร

สารออกฤทธิ์ที่สำคัญของสารสกัดจากใบเนียมหูเสือ มีสูตรโมเลกุล คือ C18H16O8 เป็นสารในกลุ่ม Phenolic ที่ละลายในน้ำ การศึกษาวิจัยมากมายพบว่า สารมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ยับยั้งการตายของเซลล์ ต้านเนื้องอก มีคุณสมบัติช่วยผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และที่สำคัญ คือ ต้านการอักเสบในโรคต่างๆ เช่น ไขข้ออักเสบ ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เหงือกอักเสบ เป็นต้น โดยกลไกในการต้านอักเสบมีหลายกลไก เช่น ช่วยลดการสร้างสารอักเสบต่างๆ และยับยั้งการแสดงออกของ NF-κB และ TNF-α

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มีผลต่อปริมาณสารสำคัญของใบหูเสือ เช่น ในฤดูร้อนที่มีแสงแดดจัด อาจทำให้ใบหูเสือ มีแนวโน้มปริมาณของสาร  Polyphenols สูงขึ้น

สารสกัดใบหูเสือ ในอุตสาหกรรมสมุนไพรและยา

Coleus Amboinicus Lour Leaf หรือ ใบเนียมหูเสือ หรือ ใบหูเสือ เป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาอย่างแพร่หลายชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ใช้รับประทานเพื่อช่วยบรรเทาอาหารไม่ย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ไอ เจ็บคอ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ยับยั้งการตายของเซลล์ และฤทธิ์ต้านมะเร็ง นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็นยาภายนอก ได้แก่ ยาพอกศีรษะ ช่วยแก้ปวด ลดไข้ และรักษาอาการบวม

ตัวอย่างการรายงานผลทดสอบ Rosmarinic acid

การรายงานผลการวิเคราะห์ Rosmarinic acid ด้วยเทคนิค HPLC

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของโรสมารินิก ซึ่งสามารถนำพื้นที่ใต้กราฟมาคำนวณหาปริมาณของ โรสมารินิก โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน

Literature:

  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หูเสือ”. [23 ก.ย. 2014].
  • กรุงเทพธุรกิจ. “หูเสือ แก้ไอ บำรุงเลือด”. [23 ก.ย. 2014].
  • หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ใบหูเสือ”. [23 ก.ย. 2014].
  • Kaliappan N., Viswanathan P., Pharmacognostical studies on the leaves of Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. Int. J. Green Pharm. 2008, 2, 182.
  • Liu, J., Wan, Y., Zhao, Z. et al. Determination of the content of rosmarinic acid by HPLC and analytical comparison of volatile constituents by GC-MS in different parts of Perilla frutescens (L.) Britt. Chemistry Central Journal 7, 61 (2013).
  • de Medeiros Gomes, J.; Cahino Terto, M.V.; Golzio do Santos, S.; Sobral da Silva, M.; Fechine Tavares, J. Seasonal Variations of Polyphenols Content, Sun Protection Factor and Antioxidant Activity of Two Lamiaceae Species. Pharmaceutics 2021, 13, 110. [CrossRef] [PubMed]
  • Luo C, Zou L, Sun H, Peng J, Gao C, Bao L, Ji R, Jin Y, Sun S. A Review of the Anti-Inflammatory Effects of Rosmarinic Acid on Inflammatory Diseases. Front Pharmacol. 2020 Feb 28;11:153.PMID: 32184728; PMCID: PMC7059186.