ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณ สารเซโรโทนิน (Serotonin)
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของ สาร เซโรโทนิน (Serotonin) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยสารเซโรโทนิน (Serotonin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า 5-hydroxytryptamine (5-HT) เป็นสารสื่อประสาทโมโนเอมีนชนิดหนึ่งที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยเปลี่ยนทริปโตเฟนจากอาหารจำพวกโปรตีนที่มีอยู่ในกระแสเลือด โดยอาศัยเอนไซม์ Tryptophan hydroxylase และ เอนไซม์ Aromatic L-amino acid decarboxylase ให้เป็นเซโรโทนิน พบได้ในพืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพรหลายชนิด โดยสารเซราโทนิน เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมการรับรู้ ความอยากอาหาร การนอนหลับ หากร่างกายขาดเซโรโทนิน อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย พัฒนาและนำมาใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์สารเซโรโทนิน ในผัก ผลไม้ สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยเทคนิค HPLC
ทำความรู้จักกับเซโรโทนิน
เซโรโทนิน (Serotonin) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า 5-hydroxytryptamine (5-HT) เป็นสารสื่อประสาทโมโนเอมีนชนิดหนึ่งที่เซลล์ประสาทสร้างขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยเปลี่ยนทริปโตเฟนจากอาหารจำพวกโปรตีนที่มีอยู่ในกระแสเลือด โดยอาศัยเอนไซม์ Tryptophan hydroxylase และ เอนไซม์ Aromatic L-amino acid decarboxylase ให้เป็นเซโรโทนิน ซึ่งพบได้ในสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ช่วยควบคุมอารมณ์ให้รู้สึกมีความสุข จึงเรียกได้ว่า เป็นสารแห่งความสุขชนิดหนึ่ง นอกจากนี้เซโรโทนินยังช่วยควบคุมการรับรู้ การจดจำ ความอยากอาหาร พฤติกรรมทางเพศ ความเจ็บปวด ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของลำไส้ การหดตัวของหลอดเลือด การหดตัวของมดลูก การนอนหลับ ฯลฯ หากร่างกายขาดเซโรโทนิน หรือสร้างได้ในปริมาณน้อย จะส่งผลให้การสื่อสารของเซลล์ประสาททำงานได้ไม่ดี และอาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
การตรวจวิเคราะห์สารเซโรโทนิน
ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณของเซโรโทนินและฤทธิ์ของสารสกัดจากพืช ผักผลไม้ และสมุนไพรต่างๆ กันมากขึ้น เช่น ฟักทอง ผักกาดขาว มะเขือเทศ ขมิ้นชัน ขึ้นฉ่าย ใบสะระแหน่ ใบบัวบก น้ำมันรำข้าว กล้วย ดอกบัวหลวง เมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น ซึ่งวิธีการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของเซโรโทนินที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์กันอย่างแพร่หลาย คือเทคนิค HPLC (High Performance Liquid Chromatography; เครื่องโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง) เป็นเทคนิคคอลัมน์โครมาโตกราฟี ชนิดหนึ่ง ซึ่ง HPLC ใช้ในการวิเคราะห์หรือแยกสารที่ต้องการออกจากสารตัวอย่างที่ผสมกันอยู่ในสถานะของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยที่สามารถใช้สารตัวอย่างในปริมาณน้อย และไม่ต้องเตรียมสารตัวอย่างที่ซับซ้อนและยุ่งยาก
ตัวอย่างการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์เซโรโทนิน
รูปแสดงโครมาโตแกรมของการตรวจวิเคราะห์เซโรโทนิน (5-HT) ด้วยเทคนิค HPLC
Literature:
- พรชนก มนแก้ว, กลุ่มอาการเซโรโทนิน, วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), Vol. 28, No.2, May-August 2018.
- กรนิกา ยานการ , อารยา องค์เอี่ยม , พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล, เมลาโทนินเหมาะสมหรือยังที่จะนำมาใช้ในวิสัญญี, วิสัญญีสาร 2562; 45(2).
- อำพร เนื่องจากนาค, ภาวะซึมเศร้ากับฟักทอง, Chula Med Bull Vol. 3 No. 1 January – June 2021;47-56
- Chanchal Bhati , Neha Minocha, Deepika Purohit, Sunil Kumar, Manish Makhija, Sapna Saini, Deepak Kaushik and Parijat Pandey, High Performance Liquid Chromatography: Recent Patents and Advancement Biomedical & Pharmacology Journal, June 2022, Vol. 15(2), p. 729-746.
- He, Q., Li, M., Wang, X. et al. A simple, efficient and rapid HPLC–UV method for the detection of 5-HT in RIN-14B cell extract and cell culture medium. BMC Chemistry 13, 76 (2019).
- Ly, Dalin & Kang, Kiyoon & Choi, Jang-Yeol & Ishihara, Atsushi & Back, Kyoungwhan & Lee, Seong-Gene. (2008). HPLC Analysis of Serotonin, Tryptamine, Tyramine, and the Hydroxycinnamic Acid Amides of Serotonin and Tyramine in Food Vegetables. Journal of medicinal food.
- Han, S.J.; Lim, M.J.; Lee, K.M.; Oh, E.; Shin, Y.S.; Kim, S.; Kim, J.S.; Yun, S.P.; Kang, L.-J. Safflower Seed Extract Attenuates the Development of Osteoarthritis by Blocking NF-κB Signaling. Pharmaceuticals 2021, 14, 258.