ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณ Biomarker ของกัญชา เช่น สาร THC, THCA, THCV ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสาร THC, THCA หรือ THCV ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยสารสกัดจากกัญชา นิยมใช้ส่วนช่อดอกเพศเมียของกัญชามาสกัดซึ่งมีปริมาณสารสำคัญปริมาณสูง ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม Cannabinoids ได้แก่ สาร THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทการใช้สาร THC ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากเคมีบําบัด บรรเทาอาการปวดโดยเฉพาะปวดจากโรคทางระบบประสาท ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ต้านการอักเสบ และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมาก จะทำให้เกิดอาการเมา เห็นภาพหลอน มีปัญหาการรับรู้ ส่วนสาร THCA (Tetrahydrocannabinolic acid) เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ช่วยต้านการอักเสบ บรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน บรรเทาอาการปวด และสาร THCV (Tetrahydrocannabivarin) เป็นสารต้านฤทธิ์การเมาและการเสพติดสาร THC โดยสาร THCV จะแย่งไม่ให้สาร THC จับกับตัวรับ (Receptors) ทำให้ THC ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทได้ลดลง นอกจากนี้ THCV ยังช่วยบรรเทาอาการของโรคลมชักได้ด้วย การนำสารสกัดจากกัญชามาใช้ในผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีการควบคุมมาตรฐาน โดยต้องมีปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่คงที่และไม่มีสาร THC สูงจนเกินไป และต้องไม่มีสารปนเปื้อน มีการควบคุมคุณภาพและปริมาณของสารสกัดจากกัญชาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ทำความรู้จักกับกัญชา

กัญชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. indica (Lam.) ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคในตำรับยาแผนโบราณมาเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งมีบันทึกการใช้ในศตวรรษที่ 8 ของตำรับยาแผนโบราณของอาหรับ และยังพบการใช้ในตำรับยาจีน ตำรับยาอายุรเวช ตำรับยาไทย และเภสัชตำรับของประเทศอังกฤษและประเทศอื่นๆ กัญชาเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศร้อน เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสำปะหลังหรือใบละหุ่ง ใบหนึ่งมีประมาณ 5-7 แฉกในก้านเดียวกัน

กัญชาได้รับการอนุญาตให้ใช้ในทางการแพทย์หรือเพื่อสันทนาการอย่างถูกกฎหมายในหลายประเทศ กัญชาประกอบด้วยสารสำคัญต่างๆ มากมาย หนึ่งในกลุ่มของสารสำคัญ ได้แก่ Cannabinoids ซึ่งพบมากในช่อดอกเพศเมียของกัญชาในส่วนของไตรโครม (Trichrome) โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูป Carboxylic acid หรือ Acid form แต่เมื่อโดนแสงและความร้อน จะถูก Decarboxylate เป็น Neutral form สารสำคัญในกลุ่ม Cannabinoids เป็นสารกลุ่มหลักที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและนิยมนำมาใช้ ได้แก่ THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) และ CBD (Cannabidiol)

แต่เนื่องจากกัญชา ประกอบด้วยสารสำคัญในกลุ่ม Cannabinoids หลายชนิด และยังมีสาร Flavonoids, Steroids, Terpenes, Fatty acids และสารอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้สารบางชนิดยังมีปริมาณน้อยอีกด้วย ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์เพื่อจำแนกชนิดของสารต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ และการวิเคราะห์หาปริมาณของสารเหล่านี้ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากข้อจำกัดของมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารต่างๆ ในกัญชาในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งการใช้ HPLC ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสารต่างๆ และควบคุมคุณภาพของสารสำคัญในกัญชา

สารสกัดจากกัญชา

สารสกัดจากกัญชา นิยมใช้ส่วนช่อดอกเพศเมียของกัญชามาสกัดซึ่งมีปริมาณสารสำคัญสูง ส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม Cannabinoids ได้แก่ สาร THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และสาร CBD (Cannabidiol) เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้เป็นสารที่ละลายในไขมัน จึงนิยมสกัดโดยใช้น้ำมัน โดยกัญชาแต่ละสายพันธุ์จะมีระดับของสาร THC และ CBD ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยปริมาณจะขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ เทคนิคการปลูกก็ ดังนั้นการใช้กัญชาจากแต่ละแหล่งปลูก ก็จะให้ปริมาณสารที่แตกต่างกันไปด้วย

สารสกัดจากกัญชาในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น น้ำมัน ขี้ผึ้ง และมีการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง อาหาร เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ และยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์

THC คืออะไร

THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) มีสูตรโมเลกุล คือ C21H30O2  เป็นสารสำคัญของกลุ่ม Cannabinoids ที่พบในกัญชา ซึ่งมีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดย THC สามารถละลายได้ดีในน้ำมัน มีลักษณะเป็นของเหลวใส เกิดจาก CBGA (Cannabigerolic acid) เปลี่ยนเป็น THCA (Tetrahydrocannabinolic acid) เมื่อได้รับความร้อน จะสลายหมู่คาร์บอกซิลิก ออกไป ทำให้ THCA เปลี่ยนเป็น THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) ดังนั้นหากนำใบสด หรือช่อดอก ที่มีปริมาณของ THC มาก  มาปรุงอาหารด้วยความร้อนสูงและใช้เวลาในการปรุงนาน ก็จะทำให้มี THC ปริมาณสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการเมา หัวใจเต้นเร็วและแรงได้

THC เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท การใช้สาร THC ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากเคมีบําบัด บรรเทาอาการปวดโดยเฉพาะปวดจากโรคทางระบบประสาท ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร ต้านการอักเสบ และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมาก จะทำให้เกิดอาการเมา ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน มีปัญหาการรับรู้ การตัดสินใจและความจำ นอกจากนี้การได้รับสาร THC สูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดการดื้อต่อสาร THC ทำให้ต้องเพิ่มขนาดการใช้และเกิดปัญหาติดยาได้

รูปแสดงโครงสร้างของสาร THC

THCA คืออะไร

THCA (Tetrahydrocannabinolic acid) มีสูตรโมเลกุล คือ C21H30O2 เป็นสารกลุ่ม Cannabinoids ชนิดหนึ่งที่พบมากในส่วนช่อดอกเพศเมียที่ยังไม่ผสมพันธุ์ของกัญชา สาร THCA เกิดจากปฏิกิริยา Alkylation ระหว่าง Geranyl phosphate (GPP) และ Olivetolic acid (OLA) ทำให้ได้สารที่เป็นกรด คือ CBGA (Cannabigerolic acid) จากนั้น CBGA จะเปลี่ยนเป็น THCA (Tetrahydrocannabinolic acid) เมื่อ THCA ถูกความร้อนจะเปลี่ยนเป็น THC (Delta-9-Tetrahydrocannabinol) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งในกัญชาที่มีการศึกษาวิจัยและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

THCA เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ช่วยต้านการอักเสบ บรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน บรรเทาอาการปวด

Tetrahydrocannabinolic Acid

รูปแสดงโครงสร้างของสาร THCA

THCV คืออะไร

THCV (Tetrahydrocannabivarin) มีสูตรโมเลกุล คือ C19H26O2 เป็นสารสำคัญชนิดหนึ่งในกลุ่ม Cannabinoids ที่พบได้ในกัญชา ได้จาก THCVA (Tetrahydrocannabivarinic acid) เปลี่ยนเป็น THCV

THCV เป็นสารต้านฤทธิ์การเมาและการเสพติดสาร THC โดยสาร THCV จะแย่งไม่ให้สาร THC จับกับตัวรับ (Receptors) ทำให้ THC ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทได้ลดลง นอกจากนี้ THCV ยังช่วยบรรเทาอาการของโรคลมชักได้ด้วย

รูปแสดงโครงสร้างของสาร THCV

การใช้สารสกัดจากกัญชา THC หรือ THCA หรือ THCV ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์หรืออุตสาหกรรมเสริมอาหาร

ปัจจุบันมีการนำสารสกัดจากกัญชาที่มีสาร THC หรือ THCA หรือ THCV มาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น สาร THC ช่วยการนอนหลับ ผ่อนคลาย คลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน และลดปวดได้ ส่วนสาร THCA ช่วยต้านการอักเสบ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียน ช่วยบรรเทาอาการปวด และสาร THCV ช่วยต้านฤทธิ์การเมาและการเสพติดของ THC และยังช่วยบรรเทาอาการของโรคลมชักได้ด้วย

นอกจากนี้มีการพัฒนาสารสกัดจากกัญชาเพื่อใช้ในยาในการรักษาอาการต่างๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบน้ำมันกัญชาโดยหยดใต้ลิ้นที่มีสาร THC ถ้าได้รับปริมาณที่เหมาะสม จะมีฤทธิ์ช่วยในการลดปวด ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากยาเคมีบำบัด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองและการสร้างสารสื่อประสาท ยาสารสกัดจากกัญชาจะไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ผู้ป่วยจะไม่สามารถหาซื้อยากัญชาใช้เองได้ แต่ต้องผ่านการรักษาจากแพทย์ นอกจากนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้การรักษาด้วยยาสารสกัดจากกัญชา จะต้องผ่านการอบรมและมีใบอนุญาตการสั่งจ่ายรักษายาสารสกัดจากกัญชาที่จะสั่งจ่าย ต้องผลิตจากสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐานตามกระทรวงสาธารณสุขรับรอง และการผลิตต้องมีการควบคุมมาตรฐานการผลิต โดยต้องมีปริมาณสารออกฤทธิ์ที่คงที่และไม่มีสาร THC สูงจนเกินไป และต้องไม่มีสารปนเปื้อนต่างๆ เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง

ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ Phytocannabinoids 17 ชนิด ในเวลา 11 นาที ด้วยเทคนิค HPLC

รูปที่ 1

รูปที่ 2

การรายงานผลการวิเคราะห์ Phytocannabinoids 17 ชนิด ในเวลา 11 นาที ด้วยเทคนิค HPLC ที่ใช้ UV-Vis detector

จากรูปที่ 1 แสดงโครมาโตแกรม ของ Phytocannabinoids 17 ชนิด โดยการนำพื้นที่ใต้กราฟมาคำนวณหาปริมาณของสารต่างๆ 17 ชนิด โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ตัวอย่างรูปที่ 2 แสดงปริมาณของสาร THCA ที่คำนวณได้

Literature:

  • กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ตุลาคม 2563.
  • Brenneisen R. “Chemistry and analysis of Phytocannabinoids and Other Cannabis Constituents” in Marijuana and the Cannabinoids. Humana Press, New Jersey, pp. 17-49, 2007.
  • Galettis, Peter & Williams, Michelle & Gordon, Rebecca & Martin, Jennifer. (2021). A Simple Isocratic HPLC Method for the Quantitation of 17 Cannabinoids. Australian Journal of Chemistry. 74. 10.1071/CH20380.
  • Hanus LO, Meyer SM, Munoz E, Taglialatela-Scafati O, Appendino G. Phytocannabinoids : a unified critical inventory. Nat Prod Rep 2016; 33(12) : 1357-92.
  • De Petrocellis L, Ligresti A, Moriello AS, Allarà M, Bisogno T, Petrosino S, Stott CG, Di Marzo V. Effects of cannabinoids and cannabinoid-enriched Cannabis extracts on TRP channels and endocannabinoid metabolic enzymes. Br J Pharmacol. 2011 Aug;163(7):1479-94. doi: 10.1111/j.1476-5381.2010.01166.x. PMID: 21175579; PMCID: PMC3165957.
  • Kathryn M. Nelson, Jonathan Bisson, Gurpreet Singh, James G. Graham, Shao-Nong Chen, J. Brent Friesen, Jayme L. Dahlin, Matthias Niemitz, Michael A. Walters, and Guido F. Pauli
  • Journal of Medicinal Chemistry 2020 63 (21), 12137-12155.
  • 10 คำถาม “กัญชง-กัญชา” เรื่องน่ารู้จาก “อภัยภูเบศร”, กรมสุขภาพจิต, 2564.
  • โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชง เพื่อตอบสนองเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564.
  • บังอร ศรีพานิชกุลชัย, การใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์, วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2562; 15(4) : 1-26.
  • ธนวัฒน์ ทองจีน และคณะ, การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณแคนนาบินอยด์ในใบกัญชาด้วยวิธี Ultra High Performance Liquid Chromatography, วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564; 63 (3) : 505-523.
  • ศรายุธ ระดาพงษ์, พราว ศุภจริยาวัตร และเมธิน ผดุงกิจ, ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกัญชา, วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2564; 63 (1) : 219-232.
  • บทความความรู้กัญชาทางการแพทย์ องค์การเภสัชกรรม.