ข้อมูลบริการทดสอบความเป็นพิษระดับเซลล์ (Toxicity in Vero cell) ของผลิตภัณฑ์
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบความเป็นพิษระดับเซลล์ (Toxicity in cell) ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ไตลิง (Vero Cell) หรือเซลล์ไฟโบรบลาส (Fibroblast cell) ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) สามารถทำการทดสอบได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยการทดสอบความเป็นพิษระดับเซลล์ (Toxicity in Vero cell) เป็นการทดสอบ โดยการนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พืชสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์ยา หรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มาทดสอบในเซลล์ไตลิงที่เพาะเลี้ยง ภายใต้สภาวะ 2 มิติ ในห้องปฏิบัติการ ทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบมีความเป็นพิษต่อเซลล์ หรือทำให้เซลล์ตายหรือไม่ ทั้งนี้ยังสามารถนำมาคำนวณค่า Cytotoxic dose (IC50) 50 % คือ ค่าความเข้มข้นที่ผลิตภัณฑ์ไม่ส่งผลต่อเซลล์ เพื่อนำรายงานผลการทดสอบ ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxicity Test) คืออะไร
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxicity Test) เป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการประเภทหนึ่งที่ใช้เพื่อตรวจสอบความเป็นพิษของตัวอย่าง ต่อเซลล์ที่มีชีวิต โดยตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบสามารถทดสอบได้กับวัตถุดิบ พืช สมุนไพร สารสกัด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น ซึ่งการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เป็นการทดสอบดูการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ เช่น การเติบโตของเซลล์ การตายของเซลล์ หรือกระบวนการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับเซลล์ เซลล์ที่ใช้ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์อาจมาจากหลายแหล่ง รวมถึงเซลล์สัตว์ เซลล์พืช หรือเซลล์มนุษย์ โดยการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ ถือเป็นวิธีการทดสอบที่ไม่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และใช้ระยะเวลาการทดสอบไม่นาน
ขั้นตอนการทดสอบ ห้องปฏิบัติการจะเพาะเลี้ยงเซลล์ตัวอย่างที่เหมาะสมลงในสารเคมีที่ต้องการทดสอบ หากครบกำหนดเวลา ความมีชีวิตของเซลล์ลดลงต่ำกว่า 30% ถือว่าตัวอย่างดังกล่าวไม่มีความเป็นพิษ ในทางตรงกันข้าม หากความมีชีวิตของเซลล์ลดลงเกินกว่า30% ถือว่าตัวอย่างดังกล่าวเป็นอันตราย และไม่ผ่านการทดสอบ
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ มีประโยชน์ช่วยทำให้สามารถประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นของตัวอย่างได้ หรือสามารถคำนวณหาปริมาณความเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายและเกิดความปลอดภัย โดยสารที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือสารพิษ แม้ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษหรือการระคายเคืองต่อร่างกายได้
ความหมายของ Vero Cell
Vero Cell เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงเซลล์และการวิจัยไวรัสวิทยา เซลล์ไลน์มาจากไตของลิงแอฟริกา (สายพันธุ์: Chlorocebus sabaeus) Vero Cell เป็นเซลล์ที่นักวิจัยนิยมเลือกมาทดสอบ เนื่องจากง่ายต่อการบำรุงรักษาและสามารถขยายพันธุ์ได้ในอัตราที่สูง
เซลล์ Vero เป็นเซลล์ที่ยึดเกาะ ซึ่งหมายความว่าพวกมันจะเติบโตติดกับพื้นผิวของภาชนะเพาะเลี้ยง โดยทั่วไปจะใช้ในการผลิตวัคซีนและสารชีวภาพอื่นๆ เช่นเดียวกับการแยกและขยายพันธุ์ของไวรัส เซลล์ Vero ถูกนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงไวรัสหลายชนิด รวมถึงไวรัสโปลิโอ ไวรัสโรคหัด ไวรัสพิษสุนัขบ้า และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ยังใช้ในการศึกษาทางพิษวิทยา โดยการนำเซลล์ Vero มาทดสอบกับตัวอย่าง เพื่อทดสอบผลกระทบความเป็นพิษที่อาจเกิดขึ้นกับเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้
ตัวอย่างการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (Cytotoxicity test)
ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์กับสารสกัดสมุนไพร ความเข้มข้นตั้งแต่ 2,000 – 31.25 µg/ml และทดสอบกับ Vero cell ปริมาณ 3 x 105 เซลล์/มล. ใน 96-well-plate บ่มใน CO2 incubator ที่มีปริมาณ CO2 5 %ที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส โดยทำการทดลอง 4 ซ้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ Vero cell ทุกวันเป็นเวลา 5 วัน แล้วนำมาคำนวณค่า cytotoxic dose (CD50) 50 % (ชุตินันท์ 2535)
สารสกัดที่ได้จากสมุนไพรสกัดด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ไม่สามารถละลายได้ในอาหารเลี้ยงเซลล์ จึงใช้ DMSO ช่วยในการละลาย จากงานวิจัย( ชุตินันท์,2534) พบว่าความเข้มข้นของ DMSO ตั้งแต่ 5 %ขึ้นไปมีความเป็นพิษต่อ Vero cell ในการทดลองจึงใช้ DMSO 20% ละลายสารสกัดสมุนไพรที่ความเข้มข้น 1 µg/ml แล้วเจือจางสารสกัดด้วยน้ำให้มีความเข้มข้น 10,000 µg/ml ความเข้มข้นของสารสกัดสมุนไพรที่ใช้ในการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์อยู่ในช่วง 2,000-31.25 µg/ml ดังนั้นความเข้มข้นของ DMSO ที่ใช้จึงน้อยกว่า 0.2% ซึ่งไม่เป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง ภาพจากการส่องกล้องจุลทรรศน์ (Transmission microscopy) สารสกัดพญายอด้วยเอธิลแอลกอฮอล์ ภาพ (A) 2,000 μg/ml ethanolic extract เทียบกับภาพ (G) ซึ่งเป็นเซลล์ควบคุม ความเข้มข้นที่ทําให้ Vero cell ตาย 50 % มีค่ามากกว่า 2,000 µg/ml (CD50> 2,000 µg/ml) ซึ่งไม่เป็นพิษต่อ Vero cell
ภาพจาก : วรรณี ชิวปรีชาและมาลี ศรีสดสุข,“พิษต่อเซลล์ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยต่อเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม”
Literature:
- กลุ่มงานช่วยวิชาการ,เรื่อง การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ :
- ชุตินันท์ กันตสุข. 2535. การทดสอบเบื้องต้นเพื่อหาฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเฮอปีส์ซิมเพลกซ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย
- บางชนิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
- วิไลรัตน์ ฉ่ำสิงห์, อรวรรณ์ บุตรดี, ภัทรา มูลจิตรและ สุธี รัตนภิรมย์,”รายงานการศึกษาเบื้องต้น: การใช้ Vero Cell ในการเพาะแยกเชื้อ Newcastle disease virus (NDV) Preliminary Report: Using Vero Cell Line for Newcastle Disease Virus (NDV) Isolation”, KKU Science Journal Volume 40 Number 4, ว.วิทย. มข. 40(4), 2555:1177-1183.
- วรรณี ชิวปรีชา, และ มาลี ศรีสดสุข, “พิษต่อเซลล์ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยต่อเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม”