ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณสารวิตามินดี (Vitamin D) ในสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสาร วิตามินดี (Vitamin D) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งสารวิตามินดี (Calciferol) เป็นวิตามินละลายในไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินดี 2 (Ergocalciferol) ซึ่งพบในยีสต์หรือ เห็ดที่ได้รับแสงแดด และวิตามินดี 3 (Cholecalciferol) ซึ่งได้มาจากการที่ผิวหนังได้รับแสงอัลตราไวโอเลตและกระตุ้นกระบวนการสร้างวิตามินดี และการรับประทานปลาที่มีไขมันสูง ซึ่งวิตามินดีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเมทาบอลิซึมของแคลเซียมเป็นวิตามินละลายในไขมัน มีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก การขาดวิตามินดี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่เสริมวิตามินดีอยู่มากมาย การตรวจวิเคราะห์เพื่อควบคุมคุณภาพวิตามินดีในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยเทคนิค HPLC ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย
วิตามินดี คืออะไร
วิตามินดี (Calciferol) เป็นวิตามินละลายในไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งมี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินดี 2 (Ergocalciferol) ซึ่งพบในยีสต์หรือ เห็ดที่ได้รับแสงแดด และวิตามินดี 3 (Cholecalciferol) ซึ่งได้มาจากการที่ผิวหนังได้รับแสงอัลตราไวโอเลตและกระตุ้นกระบวนการสร้างวิตามินดี และการรับประทานปลาที่มีไขมันสูง วิตามินดีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเมทาบอลิซึมของแคลเซียม
แหล่งอาหารของวิตามินดี
ร่างกายได้รับวิตามินดีส่วนใหญ่ 80-90% จากการสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังหลังจากที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตบีจากแสงแดด (Ultraviolet B; UVB) และอีกประมาณ 10-20% ได้จากการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แหล่งอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอน ปลาค้อด ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า และเห็ดหอม เป็นต้น แต่โดยทั่วไปอาหารตามธรรมชาติจะมีวิตามินดีปริมาณน้อย ดังนั้นบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ ไทย จึงได้มีการเติมวิตามินดี (Fortification) ลงไปในอาหาร เช่น นม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง น้ำผลไม้ อาหารเช้าประเภทซีเรียล เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดวิตามินดี ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นทั่วโลก
นอกจากนี้คนส่วนใหญ่มักกลัวว่าจะมีปัญหาผิวจากแสงแดด เช่น กระ ฝ้า และริ้วรอย จึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับแสงแดดหรือทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันรังสี UV หรือแม้แต่การทำงานอยู่ในออฟฟิศทั้งวันโดยไม่ได้รับแสงแดด ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดวิตามินดีได้เช่นกัน ดังนั้นเราควรเพิ่มวิตามินดีให้แก่ร่างกาย โดยการสัมผัสแสงแดดวันละ 15 นาที ในช่วงเช้าหรือเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก
ประโยชน์ของวิตามินดี
วิตามินดี มีประโชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้
- มีส่วนช่วยในการดูดซึมตามปกติของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
- มีส่วนช่วยให้ระดับแคลเซียมในเลือดเป็นปกติ
- มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของกล้ามเนื้อ กระดูกและฟัน
- มีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ความต้องการวิตามินซีของร่างกาย
ค่าปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (Recommended Dietary Allowance หรือ RDA) ของวิตามินดีแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้
- วัยรุ่น รวมถึงผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 70 ปี คือ 600 IU
- ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 70 ปี คือ 800 IU
หากร่างกายขาดวิตามินดี ร่างกายจะดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูก ร่วมกับ ระดับฟอสเฟตที่ต่ำลง ส่งผลให้กระบวนการสะสมแร่ธาตุของกระดูก (Mineralization) ลดลง ทำให้เกิดภาวะกระดูกน่วม (Osteomalacia) ในผู้ใหญ่ และโรคกระดูกอ่อน (Rickets) ในเด็ก และอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย นอกจากนี้การขาดวิตามินดี อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะที่ต้นแขนและต้นขา
ปริมาณสูงสุดของวิตามินดีที่รับได้ในแต่ละวัน
ปริมาณสูงสุดของวิตามินดีที่สามารถรับได้ในแต่ละวัน (Tolerable Upper Intake Levels (ULs)) คือ 4,000 IU การได้รับวิตามินดีมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ ซึ่งเกิดจากระดับแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งอาจมีอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง สับสน ขาดสมาธิ ซึม เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ฯลฯ
การใช้วิตามินดีในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยา
ปัจจุบันมีการใช้วิตามินดีในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยา โดยในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมักอยู่เป็นส่วนผสมร่วมกับเกลือแร่แคลเซียมและแมกนีเซียม เพื่อช่วยดูแลสุขภาพกระดูกและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน สำหรับผลิตภัณฑ์ยาวิตามินดีสามารถใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน โดยอยู่ในรูปของอนุพันธ์วิตามินดี (Calcipotriol) มีฤทธิ์ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังกลับสู่ปกติ ถ้าทาผิวหนังที่มีความบาง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
ปัจจุบันจึงมีการพัฒนายาทาที่เป็นส่วนผสมระหว่างอนุพันธ์วิตามินดี และยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการระคายเคืองจากยาทาอนุพันธ์วิตามินดีแต่เพียงอย่างเดียว สำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีปริมาณวิตามินดีสูงมากกว่าในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ภาวะแคลเซียมในปัสสาวะสูงขึ้นและอาจก่อให้เกิดนิ่วในไตได้ด้วย โดยเฉพาะเมื่อรับประทานร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยไม่ให้ได้รับวิตามินดีมากเกินความต้องการ ปัจจุบันเราสามารถตรวจวิเคราะห์หาระดับวิตามินดีในเลือด เพื่อประเมินภาวะขาดวิตามินดีก่อนที่จะรับประทานวิตามินดีได้ด้วย
ตัวอย่างการรายงานผลการวิเคราะห์ วิตามินซดี ด้วยเทคนิค HPLC
รูปที่ 1
รูปที่ 2
การรายงานผลการวิเคราะห์วิตามินดี ด้วยเทคนิค HPLC
จากรูปที่ 1 แสดงโครมาโตแกรมของวิตามินดี ซึ่งสามารถนำพื้นที่ใต้กราฟมาคำนวณหาปริมาณของวิตามินดี โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน และรูปที่ 2 คือ ปริมาณของวิตามินดีที่คำนวณได้
Literature:
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร, เล่ม 136, 10 มิถุนายน 2562.
- ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563 โดย คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
- แผ่นพับความรู้จากคลินิกฉายแสงอาทิตย์เทียม ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรคสะเก็ดเงิน
- Chailurkit L., Aekplakorn W., Ongphiphadhanakul B., Regional variation and determinants of vitamin D status in sunshine-abundant Thailand. BMC Public Health 2011;11: 853. doi: 10.1186/1471-2458-11-853.
- Keyfi F., Nahid, S., Mokhtariye A., et al., Evaluation of 25-OH vitamin D by high performance liquid chromatography: validation and comparison with electrochemiluminescence, Journal of Analytical Science and Technology volume 9, Article number: 25 (2018). https://doi.org/10.1186/s40543-018-0155-z