ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase ( Anti-Alzheimer )

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม หรือ อุตสาหกรรมยา

ปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุขภาพ โรงงานผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์ต่างมองหาโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพสมองและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม หนึ่งในกลไกสำคัญที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากคือการยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase (AChE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายสารสื่อประสาท Acetylcholine (ACh) ที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาท การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE จึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดกรองและประเมินประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์จากธรรมชาติหรือสารสังเคราะห์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสมองอื่นๆ

ความสำคัญของเอนไซม์ Acetylcholinesterase (AChE)

Acetylcholinesterase (AChE) เป็นเอนไซม์สำคัญที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย acetylcholine (ACh) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทในสมองและระบบประสาทส่วนปลาย ACh มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ ความจำ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ

ในภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ พบว่าระดับของ ACh ในสมองลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการต่างๆ เช่น ปัญหาความจำ การคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรม การลดลงของ ACh เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การเสื่อมของเซลล์ประสาทที่ผลิต ACh และการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของเอนไซม์ AChE ที่ย่อยสลาย ACh ดังนั้น การยับยั้งการทำงานของ AChE จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการรักษาและชะลอการดำเนินของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ

สารสกัดและสารสังเคราะห์ที่มีศักยภาพยับยั้งเอนไซม์ AChE

สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติและสารสังเคราะห์หลายชนิด ที่ออกฤทธิ์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ AChE

  • สารสกัดจากพืช: สารสกัดจากพืชหลายชนิด เช่น

ขมิ้นชัน (Curcuma longa) จากงานวิจัยพบว่า เคอร์คูมินมีคุณสมบัติในการยับยั้งการก่อตัวของคราบพลัคอะไมลอยด์-เบต้า  (β-amyloid)  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคอัลไซเมอร์ โดยเคอร์คูมินจะจับกับคราบพลัคเหล่านี้และลดขนาดของมันทั้งในสภาพแวดล้อมในร่างกาย (in vivo) และสภาพแวดล้อมที่ควบคุมภายนอกร่างกาย (in vitro) การจับนี้ช่วยป้องกันการรวมตัวของอะไมลอยด์-เบต้าเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้นและเป็นอันตรายมากขึ้น จึงอาจช่วยลดกระบวนการเสื่อมถอยของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ได้

นอกจากนี้ การศึกษาได้พูดถึงคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระของเคอร์คูมิน ซึ่งส่งผลต่อการปกป้องระบบประสาท โดยการลดความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบในสมอง เคอร์คูมินอาจช่วยปกป้องการทำงานของเซลล์ประสาทและชะลอความก้าวหน้าของโรคอัลไซเมอร์

สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) มีคุณสมบัติในการปกป้องระบบประสาทและต้านอนุมลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดความเสียหายต่อสมองในโรคอัลไซเมอร์และโรคทางระบบประสาทอื่นๆ สารสกัดจากใบแปะก๊วยมีสารประกอบเช่นฟลาโวนอยด์และเทอร์พีนอยด์ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถลดการสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์และปกป้องเซลล์สมองจากความเสียหาย นอกจากนี้ สารสกัดจากใบแปะก๊วยยังสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมองและมีผลกระทบเชิงบวกต่อความจำและสมรรถภาพทางสมอง

  • สารสังเคราะห์: ยาที่ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ เป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง AChE เช่น donepezil, rivastigmine และ galantamine ยาเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่จำเพาะต่อเอนไซม์ AChE

การศึกษาและการพัฒนาสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE ทั้งจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญในการวิจัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น

วิธีการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase

การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Acetylcholinesterase (AChE) โดยใช้ชุดทดสอบ Amplex Red Acetylcholine/Acetylcholinesterase assay kit ชุดทดสอบ Amplex Red เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมในการวัดฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE หลักการของชุดทดสอบนี้ คือ เตรียมสารตัวอย่าง ทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ AChE และ Acetylcholine (Ach) Substrate ใน 96-well transparent plate หลังจากนั้นนำไปบ่มแล้วเติม Detector ทำการวัดจลนพลศาสตร์ของเอนไซม์ ซึ่งสามารถวัดปริมาณได้ด้วยเครื่องอ่าน microplate reader แล้วจึงวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ AChE โดยคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การยับยั้งจากความชันของกราฟ

การประยุกต์และประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

รายงานผลการทดสอบ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้ดังนี้

  1. คัดกรองสารออกฤทธิ์: เลือกสารสกัดหรือสารสังเคราะห์ที่มีศักยภาพในการยับยั้งเอนไซม์ AChE สูงสุด
  2. พัฒนาสูตรตำรับ: กำหนดความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์
  3. ประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์: ทดสอบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อยืนยันฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE
  4. สนับสนุนการตลาด: ใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการสื่อสารประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค

ประโยชน์ของบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ AChE สำหรับผู้ประกอบการ

  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือและความมั่นใจในผลิตภัณฑ์ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ
  2. สร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
  3. ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพสมอง
  4. ลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ

Literature:

  • Talesa, V. N. (2001). Acetylcholinesterase in Alzheimer’s disease. Mechanism of Ageing and Development, 122(16), 1961-1969.
  • Singh SK, Srivastav S, Castellani RJ, Plascencia-Villa G, Perry G. (2019). Neuroprotective and Antioxidant Effect of Ginkgo biloba Extract Against AD and Other Neurological Disorders, Neurotherapeutics. 2019 Jul; 16(3): 666–674.
  • Ringman, J. M., Frautschy, S. A., Cole, G. M., Masterman, D. L., & Cummings, J. L. (2005). A potential role of the curry spice curcumin in Alzheimer’s disease. Current Alzheimer Research, 2(2), 131-136.
  • Murray, A. P., Faraoni, M. B., Castro, M. J., Alza, N. P., & Cavallaro, V. (2013). Natural AChE inhibitors from plants and their contribution to Alzheimer’s disease therapy. Current Neuropharmacology, 11(4), 388-413.
  • Birks, J. (2006). Cholinesterase inhibitors for Alzheimer’s disease. The Cochrane Database of Systematic Reviews