ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีหรือเมลานิน (Anti-melanogenesis)

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับวิเคราะห์ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีหรือเมลานิน (Anti-melanogenesis) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ที่เน้นประสิทธิภาพเรื่องผิวขาวกระจ่างใส โดยเมลานิน (Melanin) เป็นเม็ดสีที่สร้างมาจากเซลล์เมลาโนไซต์ที่ผิวหนัง ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanogenesis) เกิดจากแสงแดดหรือรังสียูวีเป็นตัวกระตุ้นและมีเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยยูเมลานินจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสียูวีได้ดีกว่าฟีโอเมลานิน เม็ดสีเมลานินเหล่านี้จะถูกขนส่งไปเก็บไว้ยังเมลาโนโซม จากนั้นจะถูกขนส่งไปที่เคราติโนไซต์ซึ่งอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง หากเอนไซม์ไทโรซิเนสถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานินในปริมาณมากผิดปกติ หากผิวหนังมีการสร้างเม็ดสีเมลานินในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาผิว ได้แก่ จุดด่างดำ ฝ้าและกระ ดังนั้นการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Anti-melanogenesis) ก็จะช่วยแก้ปัญหาผิวเหล่านี้ได้

ทำความรู้จักกับเมลานิน

รูปแสดง การสร้างเมลานินจากเซลล์เมลาโนไซต์ที่ผิวหนัง

เมลานิน (Melanin) เป็นเม็ดสีที่สร้างมาจากเซลล์เมลาโนไซต์ที่ผิวหนัง ซึ่งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanogenesis) เกิดจากแสงแดดหรือรังสียูวี เป็นตัวกระตุ้นการเกิด อีกทั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยเปลี่ยนแอล-ไทโรซีน (L-tyrosine) เป็น 3,4-ไดไฮดรอกซีฟีนิลอะลานีนหรือแอล-โดปา (3,4- dihydroxyphenylalanine, L-DOPA) และโดปาควิโนน (Dopaquinone) จากนั้นสังเคราะห์เป็นเม็ดสีเมลานินสองชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Eumelanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีเมลานินสีน้ำตาล หรือสีคล้ำ และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีเมลานินที่มีสีเหลือง

โดยยูเมลานิน มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสียูวีได้ดีกว่าฟีโอเมลานิน เม็ดสีเมลานินเหล่านี้จะถูกขนส่งไปเก็บไว้ยังเมลาโนโซม จากนั้นจะถูกขนส่งไปที่เคราติโนไซต์ซึ่งอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง หากเอนไซม์ไทโรซิเนสถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานินในปริมาณมากผิดปกติ จนทำให้เกิดปัญหาผิว ได้แก่ จุดด่างดำ ฝ้าและกระ หรืออาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังชนิด Melanoma ได้

การยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง (Anti-melanogenesis)

เป็นที่ทราบกันแล้วว่า หากผิวหนังมีการสร้างเม็ดสีเมลานินในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาผิว ได้แก่ จุดด่างดำ ฝ้าและกระ ดังนั้นการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน (Anti-melanogenesis) ก็จะช่วยแก้ปัญหาผิวเหล่านี้ได้ ซึ่งการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน มีหลายกลไก เช่น การยับยั้งการสังเคราะห์เอนไซม์ไทโรซิเนส การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส การเร่งการผลัดเซลล์ผิวหนัง และการดักจับอนุมูลอิสระ

กลุ่มสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง

สารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน ที่นิยมใช้ โดยทั่วไป ได้แก่ กรดโคจิก อาร์บูติน กรดอะเซลาลิก แต่ปัจุบันมีการพัฒนาสารสังเคราะห์และสารสกัดจากธรรมชาติหรือสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น สารสกัดจากมะเม่า หม่อน มะยม หรือ มะขามป้อม เป็นต้น เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ทั้งรูปแบบครีม โลชั่น ซีรั่ม โดยมีฤทธิ์ยับยั้งหรือลดกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง (Anti-melanogenesis) เพื่อช่วยให้ผิวขาว กระจ่างใส ลดปัญหาจุดด่างดำ ฝ้าและกระ นอกจากนี้จะมีการพัฒนาสารสกัดจากสมุนไพรชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อต่อยอดและการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในอนาคต

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานิน เป็นการทดสอบกับ melanocytes โดยดูการลดลงของการผลิตเม็ดสีเมลานินในเซลล์ หรือฤทธิ์การยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ภายใต้สภาวะการทดสอบเซลล์ 2 มิติ (2D Cell Culture) โดยการรายงานผลทดสอบ สามารถรายงานผลได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. การทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน นั้นคือ ทดสอบว่าผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน
  2. การรายงานผลการทดสอบ โดยการคำนวณหาค่าความเข้มข้นของตัวอย่างที่ทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน 50% (IC50, the half maximal inhibitory concentration) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ซึ่งการรายงานผลแบบนี้เหมาะสมกับตัวอย่างวัตถุดิบ สมุนไพร สารสกัด ที่ต้องการทราบ %การนำตัวอย่างไปพัฒนาในผลิตภัณฑ์สุขภาและความงามต่างๆ

Literature:

  • ประไพพิศ อินเสน, การยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีเมลานินจากพืชกลุ่มเบอร์รีไทย, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2561.
  • Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.
  • Souza, Paula & Elias, Silvia & Simeoni, Luiz & Paula, José & Gomes, Sueli & Guerra, Eliete & Fonseca, Yris & Silva, Elton & Silveira, Damaris & Magalhães, Pérola. (2012). Plants from Brazilian Cerrado with Potent Tyrosinase Inhibitory Activity. PloS one. 7. e48589. 10.1371/journal.pone.0048589.