ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณ ของสารสำคัญ ในข้าวสีนิล ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสาร Cyanidin 3,5 diglucoside หรือสาร Cyanidin 3-glucoside หรือสาร Cyanidin 3-Rutinoside หรือสาร Paeoniflorin ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยข้าวสีนิล หรือ ข้าวหอมนิล หรือ ข้าวก่ำ คือข้าวที่มีสีดำโดยกำเนิด อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารครบถ้วน เมื่อเทียบกับข้าวทั่วไปแล้วข้าวหอมนิลมีคุณค่า ทางอาหารสูงมากกว่าถึง 7 เท่าเลยทีเดียว โดยประโยชน์ที่เด่นชัดคือ มีสาร Proanthocyanidin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินซีและอีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากสามารถให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 35 เท่า สารสกัดในข้าวสีนิลประกอบไปด้วย สาร แอนโทไซยานิน (Anthocyanin), สาร Cyanidin 3,5 diglucoside, สาร Cyanidin 3-glucoside, สาร Cyanidin 3-Rutinoside, สาร Paeoniflorin

ข้าวสีนิล (Black Rice) คืออะไร

ข้าวสีนิล หรือ ข้าวหอมนิล หรือ ข้าวก่ำ คือข้าวที่มีสีดำโดยกำเนิด ไม่ได้มีการย้อมสี มีรสชาติอร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากข้าวสีอื่น มีคุณประโยชน์บางอย่างมากกว่าข้าวชนิดอื่น

ข้าวมีลักษณะ เมล็ดใส เรียวยาว มีสี ม่วงเข้ม หรือสีดำธรรมชาติ รสชาติหวาน เนื้อเหนียวนุ่ม เมื่อหุงสุกจะเป็นสีม่วงอ่อน โดยข้าวหอมนิล อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารครบถ้วน เมื่อเทียบกับข้าวทั่วไปแล้วข้าวหอมนิลมีคุณค่า ทางอาหารสูงมากกว่าถึง 7 เท่าเลยทีเดียว โดยประโยชน์ที่เด่นชัดคือ มีสาร Proanthocyanidin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินซีและอีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากสามารถให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 35 เท่า

สารประกอบในข้าวหอมนิล

สารสกัดในข้าวสีนิลประกอบไปด้วย แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และ โปรแอนโทไซยาซิดิน (Proanthocyanidin)

แอนโทไซยานินบางชนิด พบว่า ชนิด malvidin-3-glucoside และ petunidin-3-glucoside มีประสิทธิภาพต่ำกว่าแอนโทไซยานิน ชนิด cyanidin-3-rutinoside และ delphinidin-3-glucoside ดังนั้นสารสำคัญต่างๆ ที่อยู่ในข้าวสีนิลจึงอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารและสารในกลุ่มแอนโทไซยานิน อีกหลายชนิด ซึ่งมีประสิทธิภาพต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็ง ทั้งที่ปอด โพรงจมูก และกระเพราะอาหาร และ ที่เซลล์เม็ดเลือดขาว
  • ป้องกันไวรัส โดยมีผลการทดลอง (In Vitro) พบว่าสามารถฆ่าไวรัส HIV-1 และ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Reverse Transcriptase ในไวรัสได้
  • ขัดขวางการเปิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคลอเรสเตอรอลชนิดเลว (LDL) จึงช่วยลดอันตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
  • ลดความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ อันเนื่องมากจากอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายของผิวหนังจากปฏิกิริยาออกซิเดน อันเกิดจากแสงอาทิตย์ หรือมลภาวะต่างๆ ที่ทำให้ผิวดูอ่อนวัย

Anthocyanin

Proanthocyanidin

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวสีนิล

ข้าวหอมนิลอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมายได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินอี วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี น้ำมันรำข้าว สารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหาร แอนโทไซยานิน กรดไขมันไม่อิ่มตัว โอเมก้า 3 และฟอสฟอรัส ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง บำรุงสายตาและ บำรุงเส้นผม

ส่วนของเยื่อหุ้ม เมล็ดที่เป็นสีม่วงประกอบไปด้วยสาร anthocyanin ที่ประกอบด้วยสารสีม่วงเข้ม (cyanidin) และสารสีชมพูอ่อน (peonidin) และสาร proanthocyanidin ประกอบด้วยสาร procyanidin ซึ่งเป็นสารสีน้ำตาล ซึ่งสารเหล่านี ผสมกันเป็นสารประกอบกลุ่ม flavonoid ซึ่งเป็นสาร antioxidant ทำหน้าจับกับอนุมูลอิสระทำให้กลไกการทำงานของ ร่างกายมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าปกติ

ข้าวสีนิล หรือข้าวหอมนิล เป็นข้าวกล้องที่มีเมล็ดสีม่วงเข้มออกดำ รูปทรงเรียวยาว มีโปรตีนสูงถึง 12.5% คาร์โบไฮเดรต 70% และยังมีธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียมสูงกว่าข้าวขาว มีคุณประโยชน์ ดังนี้

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินซี วิตามินอี และเบตาแคโรทีน
  • มีวิตามินอี วิตามินบีคอมเพล็กซ์ และแอนโทไซยานิน ที่ทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยดีขึ้น
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพเส้นผม ทำให้เส้นผมดำนุ่มสลวย ไม่แตกปลาย บำรุงรากผมให้แข็งแรง และชะลอการเกิดผมหงอกก่อนวัย

การต่อยอดข้าวสีนิลกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม

ปัจจุบัน กระแสการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมอย่างสูง ซึ่งจะเห็นได้จากการมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพออกมาจำหน่ายในท้องตลาดมากมาย ซึ่งในมุมมองของผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปรวดเร็วโดยใส่ใจในเรื่องสุขภาพ ควบคู่ไปกับการเลือกพืชธรรมชาติมาบริโภคมากขึ้น ดั้งนั้นข้าวหอมนิลจึงเป็นอีกทางเลือกในการต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม

ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยวต่างๆ แคร็กเกอร์ คุกกี้ เครื่องดื่มข้าวหอมนิล กาแฟข้าวหอมนิล รวมถึงมีการนำไปแปรรูปทำเป็นครีมบำรุงข้าวหอมนิล ครีมแต้มสิวข้าวหอมนิล สบู่ข้าวหอมนิล แชมพูและครีมนวดผมข้าวหอมนิล เป็นต้น

ตัวอย่างการรายงานผลของ สารสกัดข้าวสีนิล ด้วยเครื่อง HPLC

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมของสารสกัดข้าวสีนิล ที่ 520 nm โดย Peak1 คือ cyanidin-3,5-diglucoside, Peak 2 ไม่สามารถระบุได้, Peak3 คือ cyanidin-3-glucoside, Peak4 คือ cyanidin-3-rutinoside, Peak5 คือ peonidin-3-glucoside และ Peak6 คือ peonidin-3-rutinoside

Literature:

  • “Comparison of phenolic and anthocyanin content among four differences of raw and cooked rice”. Chatchawin Petchlert1,2*, Thammanoon Sangprathum1. Department of Biochemistry, Faculty of Science, Burapha University, Chon Buri
  • “Research and Development Project of Bamboo Fungus (Phallus indusiatus) Cultivation by Using Different Fruit Leaves Combine with Climbing Vegetables for Value-Added of Waste in Fruit Orchard”, Atchara Boonroj, Watcharawit Rasamee
  • “Production of Healthy Beverage from “Homnil” Rice” จุฑามาศ ถิระสาโรช, เฉลิมพล ถนอมวงค์. สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
  • “มหัศจรรย์พันธุ์ข้าวไทย คุณค่าก้าวไกลจากวิถีไทยสู่วิถีโลก (4) ข้าวหอมนิล: ข้าวเจ้าหอมสีนิล โภชนาการสูง” รศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร. ข้าวหอมนิล, นวัตกรรมงานวิจัยพันธุ์ข้าว, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • “เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานวิจัยนวัตกรรมทางการค้นตว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร, ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา, ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จ.นครปฐม
  • “สารสกัดหลักของข้าวสีนิล (Anthocyanin) (Proanthocyanidin)” เว็บไซต์ https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=hnsoul&group=12
  • “ข้าวหอมนิล” เว็บไซต์ https://www.thairicedb.com/rice-detail.php?id=16 สืบค้นเมื่อวันที่ 30/12/2022
  • “ข้าวหอมนิล” เว็บไซต์ https://www.akericemill.com/th/products/361542-ข้าวหอมนิล สืบค้นเมื่อวันที่ 30/12/2022
  • “ประโยชน์ของข้าวหอมนิล” เว็บไซต์ https://greenshopcafe.com/greennews819.html สืบค้นเมื่อวันที่ 30/12/2022
  • Yongsheng Zhu, Hanju Sun, Shudong He, Qiuyan Lou, Min Yu, Mingming Tang , Lijun Tu, 2018, Metabolism and prebiotics activity of anthocyanins from black rice (Oryza sativa L.) in vitro, PLoS ONE 13(4):e0195754.