ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณ สารสำคัญใน กระชายดำ Black Ginger

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสารสกัดกระชายดำ ดังนี้ สาร 3,5,7,3′,4′-Pentamethoxyflavone หรือ 3,5,7,4′-Tetramethoxyflavone หรือ 3,5,7-Trimethoxyflavone หรือ 5,7,4′-Trimethoxyflavone หรือ 5,7-Dimethoxyflavone ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารสำคัญที่เป็นส่วนประกอบในกระชายดำ ซึ่งกระชายดำของไทยถือว่ามีคุณภาพเทียบเท่าโสมเกาหลี จนเกิดเป็นสมญานามว่าโสมไทยและมีสรรพคุณในด้านเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ ในเหง้ากระชายดำ ประกอบด้วยสารประกอบต่างๆ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย, สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids), กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น ,-dimethoxyflavone, ,,’-trimethoxyflavone, ,,’, ‘-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3′,4’-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) สำหรับในปัจจุบันพบว่า สารสำคัญที่นิยมสกัดจากกระชายดำเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ มีฤทธิ์ในการช่วยบำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยชะลอความแก่ และสรรพคุณในด้านเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย

กระชายดำ

กระชายดำเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ กระชาย ข่า ขิง และขมิ้น (Zingiberaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Kaempferia parviflora Wall. ex Baker ชื่อภาษาอังกฤษ คือ black ginger มีลักษณะเหง้าคล้ายขิง แต่เนื้อในมีสีออกม่วงดำ กระชายดำเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยพบขึ้นตามธรรมชาติบนภูเขา ในพื้นที่สูง

ปัจจุบันมี การปลูกทั่วทุกภูมิภาคของไทย ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ กระชายดำสามารถจําแนกได้เป็นกลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากสีของ เนื้อในเหง้า ได้แก่ กลุ่มที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วง ม่วงเข้ม จนถึงม่วงดำ และกลุ่มทีมีเนื้อในเหง้าสีจาง เนื่องจากมีความเชื่อว่าสีของเนื้อในเหง้าเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของกระชายดำ ในทางการค้าจึงมักนิยม กระชายดำที่มีเนื้อในเหง้าสีม่วงเข้มซึ่งเชื่อว่ามีคุณภาพดี ถ้าเนื้อเป็นสีม่วงอ่อนจะถูกคัดไปเป็นกระชาย ม่วงซึ่งเชื่อว่าคุณภาพด้อยกว่า

  • เหง้ากระชายดำ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย
  • ใบกระชายดำ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มี ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิวใบเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด
  • ดอกกระชายดำ โดยดอกจะออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ส่วนกลีบปากมีสีม่วง

สารสำคัญและโครงสร้างทางเคมีของกระชายดำ

เหง้ากระชายดำ ประกอบด้วยสารประกอบต่างๆ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย สารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) กลุ่มฟลาโวน (flavones) เช่น ,-dimethoxyflavone, ,,’-trimethoxyflavone, ,,’, ‘-tetramethoxyflavone และ 3,5,7,3′,4’-pentamethoxyflavone กลุ่มสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) และสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) อื่นๆ ส่วนใหญ่แล้วพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีเข้ม จะมีปริมาณสารฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์สูงกว่าพันธุ์ที่มีเนื้อในเหง้าสีจาง ส่วนพันธุ์ทีมีเนื้อใน เหง้าสีจาง จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่าพันธุ์ที่มีสีเขียว

สำหรับในปัจจุบันนั้นพบว่าประเภทของสารสำคัญที่นิยมสกัดจากเหง้ากระชายดำเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นั้นมีอยู่ 3 ประเภท คือ 5,7-Dimethoxyflavone , 5,7,4’-Trimethoxyflavone และ 3,3’,4’,5,7-Pentamethoxyflavone

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

  • 5,7-Dimethoxyflavone สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จากเหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีฤทธิ์ลดไข้
  • สาร 5,7,4’-trimethoxyflavone และ 5,7,3’,4’ –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4’-tetramethoxyflavone และ 5,7,4’-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium
  • ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ สารสกัดกระชายดำพบว่าสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศ (ผลการทดลองในสัตว์) และมีรายงานวิจัยพบว่าสามารถเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ

ตำราแพทย์แผนไทยและสรรพคุณของกระชายดำ

กระชายดำ ในตำราแพทย์แผนไทย พบว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์หลากหลาย ดังนี้

  1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ มีคุณค่าทางคงกระพันชาตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน
  2. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เหง้าผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า
  3. บำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง
  4. บำรุงฮอร์โมนเพศชาย หากสุภาพสตรีรับประทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ
  5. กระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย
  6. ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น
  7. ช่วยในระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น

ประโยชน์กระชายดำ ในปัจจุบันนอกจากเราจะใช้กระชายดำเพื่อเป็นยาสมุนไพรทั้งแบบหัวสดและแบบแห้ง ยังมีการนำไปบดเป็นผงบรรจุซองชงกับน้ำร้อนเพื่อใช้เป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ “น้ำกระชายดำ” และยังนำมาทำเป็น ลูกอมกระชายดำ” แต่ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันก็คือการนำมาทำเป็น “ไวน์กระชายดำ” หรือนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพร “กระชายดำแคปซูล” (แคปซูลกระชายดำ), “กระชายดำผง“, “ยาน้ำกระชายดำ” หรือแปรรูปเป็น “กาแฟกระชายดำ“ จากข้อมูลรายงานการวิจัยจะเห็นว่า กระชายดำมีผลเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะเพศคลายตัว ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ กระชายดำไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชาย แข็งตัวได้ง่าย และบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น สำหรับข้อมูลการศึกษาในคนยังมีน้อย จึงยังไม่มีคำแนะนําเรื่องขนาดที่เหมาะสมและข้อมูลเรื่องความปลอดภัย เมื่อต้องใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

การพัฒนากระชายดำและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

กระชายดำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพต่อการพัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเนื่องจากมีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ทางชีวภาพและเภสัชวิทยาที่สำคัญหลายประเภท

กระชายดำสดที่ผลิตได้ในแต่ละปีนั้นเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศทั้งหมด มีการส่งออกอยู่บ้างเมื่อมีการแปรรูปขั้นต้น เช่น อบแห้ง ผง หรือทำเป็นสารสกัดแล้วเท่านั้น โดยส่งออกร้อยละ 10 สำหรับการใช้ในประเทศอยู่ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมยาเกือบทั้งหมดในขณะที่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีสัดส่วนการผลิตโดยใช้กระชายดำน้อยมาก

กระชายดำของไทยมีคุณภาพเทียบเท่าโสมเกาหลี จนเกิดเป็นสมญานามว่าโสมไทยและมีสรรพคุณในด้านเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จึงมีสมญานามอีกทางหนึ่งว่า ไวอากร้าธรรมชาติ (Natural Viagra) นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาคุณภาพของกระชายดำให้มีสารสำคัญสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระชายดำไทย จนเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตลาดในประเทศ และหาลู่ทางเพื่อการส่งออกการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระชายดำในอุตสาหกรรมยาประกอบด้วย ยาใช้ภายใน ได้แก่ ยาเม็ดลูกกลอนกระชายดำ แคปซูลกระชายดำ ยาเม็ดผงกระชายดำ และยาน้ำกระชายดำ และในอุตสาหกรรมอาหารในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เป็นการนำกระชายดำมาพัฒนาแปรรูปให้ตรงกับความต้องการ สามารถรับประทานได้ง่าย และมีรสชาติที่น่ารับประทาน ได้แก่ ไวน์กระชายดำ กาแฟกระชายดำ ชากระชายดำ และเครื่องดื่มสมุนไพรกระชายดำ

ตัวอย่างการรายงานผลของสารสกัดกระชายดำ

จากรูป แสดงโครมาโตแกรมขององค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสารสกัดกระชายดำ ด้วยเทคนิค HPLC

Literature:

  • “กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย” อรัญญา ศรีบุศราคัม, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • “ฤทธิ์ 1 เดือนของสารสกัดกระชายดาต่อระดับน้าตาลและระดับไขมันในเลือดของหนูแรท” สมสุดา โสมอินทร์*, ชูวดี ปริวัฒนากุล, บังอร ศรีพานิชกุลชัย, กิตติศักดิ์ ศรีพานิชกุลชัย, ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 24 มกราคม 2561
  • “The Development Strategies for Black Galingale and Its Products”, พนารัช ปรีดากรณ์, เติมธรรม สิทธิเลิศ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • “สารสกัดกระชายดำ” เว็บไซต์:  สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มกราคม 66
  • สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2552). สมุนไพรน่ารู้ (4)กระชายดำ Kaempferia parviflora Wall. ex Baker. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  • อรัญญา ศรีบุศราคัม.กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย.บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • “Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine” Vol. 11 No. 1 January-April 2013
  • “Development of Instant Herbal Beverage from Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker” มจ.1-62-01-032 : การพัฒนาการผลิตและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไทย: กรณีศึกษากระชายดำ
  • Waluga Plaingama, Siriporn Sangsuthumb, Wannee Angkhasirisapc,Tewin Tencomnao, 2017, Kaempferia parviflora rhizome extract and Myristica fragrans volatile oil increase the levels of monoamine neurotransmitters and impact the proteomic profiles in the rat hippocampus: Mechanistic insights into their neuroprotective effects, Journal of Traditional and Complementary Medicine 7(4).