ข้อมูลบริการทดสอบทางคลินิกกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผม Clinical-Trial-Androgenic-Alopecia
ปัจจุบันมีประชากรจำนวนมากทั้งเพศชายและหญิง ที่มีปัญหาเรื่องเส้นผม เกี่ยวกับปัญหาผมร่วง โดยธรรมชาติของเส้นผมจะหลุดร่วงเป็นปกติวันละ 25 -100 เส้น แต่ถ้าผมร่วงเกินกว่านี้ก็อาจถือว่ามีปัญหาผมร่วงได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิดผมร่วง มีอยู่หลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ความเครียด อายุที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนต่างๆ หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาหรือการรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นในท้องตลาดจึงมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในการบำรุงเส้นผม ลดอาการหลุดร่วงของเส้นผม หลากหลายรูปแบบ เช่น แชมพู เซรัม ครีมนวดผม เป็นต้น ทั้งนี้หากผู้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์ที่มีความสนใจรับบริการทดสอบทางคลินิกกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผม เรื่องประสิทธิภาพในการลดการหลุดร่วงของเส้นผมหรือประสิทธิภาพการเพิ่มการเจริญเติบโตของเส้นผม Clinical-Trial-Androgenic-Alopecia โดยทดสอบกับอาสาสมัครที่มีปัญหาเรื่องเส้นผม (Androgenic Alopecia) สามารถติดต่อบริษัท วิสไบโอ จำกัด ได้ในทุกช่องทาง
โครงสร้างและวงจรการงอกของเส้นผม
เส้นผมเป็นส่วนหนึ่งของหนังกำพร้า (epidermis) ซึ่งประกอบด้วย sulfur-rich keratin ที่สร้างมาจาก cells ของ hair matrix เส้นผมที่เกิดขึ้น มี 2 ลักษณะ คือ Vellus hair เป็นขนอ่อนๆ ตามตัวและใบหน้า ไม่มี hair medulla ปกติจะไม่มีสีแต่บางครั้งก็มีสีอ่อนๆ มีความยาวไม่เกิน 2 เซนติเมตร และTerminal hair เป็นผมที่เส้นใหญ่ หยาบ มีความยาวกว่า vellus hair มีสีและมี hair medulla พบได้บริเวณหนังศีรษะ ขนตามรักแร้และหัวหน่าว
วงจรการงอกของเส้นผม (hair growth cycle)
วงจรการงอกของเส้นผม (hair growth cycle) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
- Anagen phase (growing phase) เป็นระยะที่ต่อมผมอยู่ลึกในชั้นเดอร์มิสมีสีเข้ม มีเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1,000 วัน หรือ 3 ปี ซึ่งเป็นผมส่วนใหญ่ (85-90%) บนหนังศีรษะ
- Catagen phase (transitional phase) เป็นระยะที่ต่อมผมจะเลื่อนสูงขึ้นและสีเริ่มจางลง มีการแยกตัวออกจากเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 10 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ พบเส้นผมในระยะนี้จำนวนน้อยมาก
- Telogen phase (resting phase) เป็นระยะที่ต่อมผมจะเลื่อนตัวขึ้นอยู่ต่ำกว่าช่องเปิดต่อมไขมันเพียงเล็กน้อยโดยมีลักษณะเป็น club hair และจะถูกเส้นผมระยะ anagen ที่เกิดใหม่ มาแทนที่และดันให้หลุดร่วงไป ซึ่งจะใช้ เวลาประมาณ 100 วันหรือ 3 เดือน
สาเหตุของการเกิดผมร่วง
ผมร่วง (alopecia) เป็นอาการที่ผมร่วงที่เกิดขึ้นจากการมีบาดแผลหรือไม่มีบาดแผลบริเวณหนังศีรษะก็ได้และสามารถเกิดได้เป็นบริเวณกว้างหรือเกิดเฉพาะที่ ซึ่งอาการผมร่วงนี้มีทั้งแบบที่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติและเป็นอาการแบบถาวร สาเหตุของการเกิดผมร่วงแบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังนี้
- Androgenic alopecia เป็นสาเหตุที่พบบ่อยสุดเนื่องจากการมีฮอร์โมนแอนโดร เจนมากกว่าปกติโดยจะเริ่มผมร่วงจากบริเวณหน้าผาก (frontoparietal scalp) จนถึงกลางกระหม่อม
- Alopecia areata เป็นสาเหตุที่พบรองลงมาจาก androgenic alopecia ซึ่ง สาเหตุการเกิดไม่แน่ชัด มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ
- Telogen effuvium (ผมบาง) เกิดจากเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ระยะ Telogen ของวงจรเส้นผมถูกกระตุ้นให้หลุดร่วงเร็วกว่าปกติเช่น การผ่าตัด ความเครียด ยา เป็นต้น โดยจะเกิดผมร่วงหลังจากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ประมาณ 3 เดือน
- Anogen effluvium เกิดจากสารเคมีที่ได้รับ โดยสารเคมีจะไปรบกวนการ เจริญเติบโตของเส้นผม
- Traction alopecia อาการผมร่วงที่เกิดจากการสัมผัสกับเส้นผมโดยตรง เช่น การถักเปีย การใช้ที่ม้วนผมแบบร้อน ซึ่งพบมากในคนผิวดำ สามารถพัฒนา และทำให้เกิด scarring alopecia ได้
- Cicatricial alopecia (scarring alopecia) การเกิดแผลเป็นโดยการทำลาย รากผม
- Tinea capitis เกิดอาการผมร่วงจากการติดเชื้อรา
- Alopecia neoplastica เกิดผมร่วงจาก tumors
คำจำกัดความและประเภทของผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม
ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม จัดอยู่ในหมวดเครื่องสำอาง เป็นสารที่ใช้เพิ่มเติมความสวยงามให้กับร่างกายมนุษย์และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง กระทรวงอุตสาหกรรม สามารถแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ดังนี้
- เครื่องสำอางสำหรับผม (Hair cosmetics) ซึ่งหลากหลายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แชมพู, น้ำยาโกรกผม, น้ำยาจับลอนผม, น้ำยาดัดผม, สิ่งปรุงเพื่อใช้กำจัดรังแค, สิ่งปรุงแต่งสีของเส้นผมและขน, สิ่งปรุงปรับสภาพเส้นผม และ สิ่งปรุงแต่งทรงผม
- เครื่องสำอางแอโรซอล (Aerosol cosmetics) คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม โดยมีแก๊สเป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด มีหลากหลาย คุณสมบัติ อาทิเช่น ลดอาการรังแค. ลดอาการเส้นผมหลุดร่วง, ลดผมหงอก หรือบำรุงเส้นผมให้เงางาม ซึ่งผลิตภัณฑ์แต่ละแบบก็จะมีส่วนผสมหรือองค์ประกอบที่แตกต่างกัน
การทดสอบและการประเมินผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ที่เน้นคุณสมบัติอาการผมร่วง
การทดสอบและการประเมินการอาการผมร่วง หรือ ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม มี 2 วิธี คือ
- การนับจำนวนเส้นผม (Hair counts)
การนับจำนวนเส้นผมด้วยภาพขยายทางคอมพิวเตอร์โดยกำหนดบริเวณที่ต้องการนับเป็นพื้นที่วงกลมหรือสี่เหลี่ยมขนาด 1 ตารางเซนติเมตรหรือตารางนิ้ว ซึ่งพื้นที่ที่ใช้ในการประเมินมีผลต่อความแม่นยำของผลการทดลองเพียงเล็กน้อย โดยจะเลือกตำแหน่งเป้าหมายที่ใช้ประเมินในบริเวณที่มี Terminal hair อยู่แต่ไม่เลือกบริเวณศูนย์กลางของพื้นที่ที่มีศีรษะล้านเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมี Terminal hair น้อย
- การประเมินความหนาแน่นของเส้นผม (Hair density)
การประเมินความหนาแน่นของเส้นผมจะประเมินจากน้ำหนักของเส้นผม โดยทำการประเมินก่อนและหลังใช้ผลิตภัณฑ์ เริ่มด้วยตัดเส้นผมในบริเวณที่ต้องการทดสอบให้ชิดหนังศีรษะมากที่สุดแล้วใช้ผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นจึงตัดผมบริเวณดังกล่าวมาชั่งน้ำหนัก แต่วิธีนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากการทาผลิตภัณฑ์ลงบนเส้นผมหรือหนังศีรษะอาจเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่เส้นผม ซึ่งอาจทำให้ผลการทดลองผิดพลาดรวมทั้งระยะห่างจากหนังศีรษะในการตัดผมก่อนและหลังการทดลอง จะต้องใช้กรรไกรที่มีการรองตัดเพื่อให้ได้ระยะห่างของผมจากหนังศีรษะเท่ากันทุกครั้ง
รายละเอียดบริการทดสอบทางคลินิกกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเส้นผม
บริษัท วิสไบโอ จำกัด มีรายละเอียดบริการทดสอบการประเมินและการเปรียบเทียบการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเส้นผมในร่างกายและการป้องกันผมร่วง Clinical-Trial-Androgenic-Alopecia โดยทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมในอาสาสมัครชาวเอเชียที่มีสุขภาพดี จำนวน 25 คน โดยการถ่ายภาพดิจิทัล เพื่อการประเมินความหนาแน่นของเส้นผม ด้วยเครื่อง Dino-Lite Digital กล้องจุลทรรศน์ ที่มีการนับจำนวนความหนาแน่นของเส้นผม บนภาพถ่าย ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรม โดยในการทดสอบเราจะถ่ายภาพก่อนและหลังใช้ผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการประเมินการทดสอบ ทั้งนี้จะมีการจัดทำแบบสอบถามโดยให้ทางอาสาสมัครผู้ทดสอบประเมินตนเอง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
Literature:
- ศ. สมยศ จาริจิตรรัตนา, ผู้ป่วยโรคผมร่วงและผมบาง, หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์
- ธนวรรธน์ วิวัฒนมงคลกุล, ดิษย์ชิต ประยูรพีรพุฒิ และ ธีรเมธ กัลป์ยาวัฒนเจริญ, 2561,
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมและป้องกันผมหงอกจากสารสกัดใบฝรั่ง, คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
- พันธ์ทิพย์ อนุสรศักดิ์, 2566, แผนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์แชมพู สําหรับผมทําสียี่ห้อ โคลี่, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ช่อทิพย์ ตันทา, 2559, การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมโดยใช้หลักการออกแบบเพื่อมวลชน, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.