ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปากมดลูก ชนิด Cervical cancer cells (Hela)

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปากมดลูก ชนิด Cervical cancer cells (Hela) ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทย โดยจะพบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อ HPV โดยเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด Cervical cancer cells (Hela) เป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก ที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์ เป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาชีววิทยาของมะเร็งปากมดลูก โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก ภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์ ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของปากมดลูก โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Cervical cancer cells (Hela)

ทำความรู้จักกับมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2564 พบว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้หญิงไทย โดยจะพบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อ HPV (ไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา; Human Papilloma Virus) บริเวณปากมดลูก โดยเฉพาะ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่พบบ่อยที่สุดในมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกคน จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV หากได้รับเชื้อ HPV แล้ว ประมาณ 80-90% ของผู้ที่ติดเชื้อ HPV ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อได้เองโดยภูมิต้านทานของร่างกาย แต่บางครั้งร่างกายอาจจะไม่สามารถกำจัดเชื้อได้

เกิดการติดเชื้อเป็นระยะเวลา 5-15 ปี ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ และกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในที่สุด นอกจากนี้อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย (ต่ำกว่า 18 ปี) สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ทางอ้อม มีบุตรจำนวนมาก ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และไม่เคยตรวจภายใน

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก มักไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่จะมีอาการเมื่อเป็นโรคมากขึ้น เช่น มีเลือดออกผิดปกติ เจ็บและเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนไปนานแล้ว (วัยทอง) เลือดออกเป็นระยะๆ ประจำเดือนมานานผิดปกติ มีตกขาวปนเลือด มีกลิ่นเหม็น ปวดท้องน้อย

มะเร็งปากมดลูกชนิด Cervical cancer cells (Hela)

เซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด Cervical cancer cells (Hela) เป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก ที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์ เป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาชีววิทยาของมะเร็งปากมดลูก โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก ภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์

วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด Cervical cancer cells (Hela) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Cell Culture- Anti-cancer)

ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของปากมดลูก โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Cervical cancer cells (Hela)

ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป

รูปแสดง ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ ในระดับ in-vitro ที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางชีววิทยาและมะเร็งวิทยา (ดัดแปลงจาก Gaebler และคณะ 2017)

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด Cervical cancer cells (Hela) ด้วยวิธี MTT assay

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด Cervical cancer cells (Hela) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)

ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)

Literature:

  • มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ด้วยวัคซีน HPV, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์
  • มะเร็งปากมดลูก, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, มะเร็งปากมดลูก, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ,สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ. 2562 – 2565
  • ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ.2564
  • Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.