ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431)

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมะเร็งผิวหนัง ถือเป็นเนื้อร้ายที่เกิดจากการเจริญเติบโต และแบ่งเซลล์ผิดปกติของเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง เช่น เซลล์หนังกำพร้า เซลล์ขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) หรืออาจเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น โดยมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้าและต่อมต่างๆ (Basal cell carcinoma) รองลงมา คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า (Squamous cell carcinoma) ส่วนมะเร็งผิวหนังที่พบไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงมากที่สุดและทำให้เสียชีวิตได้ คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Malignant melanoma) มะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) เป็นมะเร็งชนิด Non melanoma ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ามะเร็งชนิด Malignant melanoma มีการศึกษาวิจัยมากมายเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งผิวหนังภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์

ทำความรู้จักกับมะเร็งผิวหนัง (Skin cancer)

มะเร็งผิวหนัง เป็นเนื้อร้ายที่เกิดจากการเจริญเติบโต และแบ่งเซลล์ผิดปกติของเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง เช่น เซลล์หนังกำพร้า เซลล์ขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ เซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) หรืออาจเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น โดยมะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้าและต่อมต่างๆ (Basal cell carcinoma) รองลงมา คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า (Squamous cell carcinoma) ส่วนมะเร็งผิวหนังที่พบไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงมากที่สุดและทำให้เสียชีวิตได้ คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Malignant melanoma)

มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน และอาจจะแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่

  • การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดเป็นระยะเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งผิวหนัง ซึ่งผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีโอกาสได้รับแสงแดดมากที่สุด ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดดเป็นประจำ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • การรับประทานอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน เช่น สารหนู เป็นระยะเวลานาน มีโอกาสเป็นโรคผิวหนัง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • มีหูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังที่มีการระคายเคืองเป็นระยะเวลานานๆ อาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • การสูบบุหรี่
  • คนที่มีผิวขาว
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งผิวหนัง

อาการของมะเร็งผิวหนัง มีหลายลักษณะ เช่น มีไฝ ปาน หูด เพิ่มจำนวน หรือขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีสีที่เปลี่ยนไป โดยไฝเหล่านี้จะมีลักษณะขอบเขตไม่ชัดเจน มีสีไม่สม่ำเสมอ หรืออาจจะมีตุ่มสีน้ำตาลหรือดำ ผิวเรียบ ล้อมรอบด้วยขอบมันวาว ยกและม้วนเข้า มีผื่นแดงอักเสบ มีแผลเรื้อรังไม่หาย มีเลือดออก ผิวขรุขระ ไม่เรียบ ขอบเขตไม่ชัดเจน มีสีดำเข้ม ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่เคยบาดเจ็บหรือมีแผลมาก่อน ส่วนใหญ่มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า จมูก ศีรษะ แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว

มะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431)

มะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) เป็นมะเร็งชนิด Non melanoma ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ามะเร็งชนิด Malignant melanoma มีการศึกษาวิจัยมากมายเกี่ยวกับมะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งผิวหนังภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์

วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma A431 ด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Cell Culture- Anti-Skin cancer)

ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ชนิด Colorectal adenocarcinoma cells, caused Dukes’ type B (SW480) ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์

มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) ด้วยวิธี MTT assay

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิด Human epidermoid carcinoma (A431) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)

ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)

Literature:

  • สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • https://www.nci.go.th/th/Knowledge/skin.html
  • ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังและศัลยกรรมผิวหนัง ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1008
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, อาการต้องสงสัย อาจเป็นโรคมะเร็งผิวหนังเบซัลเซลล์
  • แสงสิริ อยู่อำไพ, ความเป็นพิษและกลไกการเหนี่ยวนำการตายแบบ apoptosis โดยสารสกัดจากเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana) ในเซลล์มะเร็งผิวหนังชนิด human epidermoid carcinoma, 2555.
  • Prin Sungwan, Wunchana Seubwai, Three-dimensional Cell Culture Model for In-Vitro Drug-Testing Platforms in Cancer Research, Srinagarind Med J 2021; 36(5): 625-633
  • Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.