ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Human colorectal carcinoma, HCT-116 )
บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116) ระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นทุกปี และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต โดยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นภาวะที่พบเนื้องอกชนิดร้ายบริเวณลำไส้ใหญ่ เซลล์มีการแบ่งตัวที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก (Tumor) สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร (Fiber) ต่ำ ทำให้ท้องผูกเป็นประจำ หรือได้รับสารพิษและตกค้างที่ลำไส้ ส่งผลให้ของเสียหรือสารพิษที่ตกค้างมีโอกาสสัมผัสกับผนังลำไส้เป็นระยะเวลานาน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เป็นต้น ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma
ทำความรู้จักกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer หรือ Colon cancer)
ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นทุกปี และเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิต ดังข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ปีพ.ศ. 2561 พบว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นมะเร็งที่พบมาก 1 ใน 5 อันดับแรกของโลก จากข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ.2564 พบว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายไทย และพบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย โดยทั่วไปประชากรมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประมาณร้อยละ 6 และพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นภาวะที่พบเนื้องอกชนิดร้ายบริเวณลำไส้ใหญ่ โดยเซลล์มีการแบ่งตัวที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก (Tumor) ซึ่งการแบ่งตัวนี้จะทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง และสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยไปตามกระแสเลือดและน้ำเหลืองเรียกว่า ระยะแพร่กระจาย (Metastasis)
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร (Fiber) ต่ำ ทำให้ท้องผูกเป็นประจำ หรือได้รับสารพิษและตกค้างที่ลำไส้ ส่งผลให้ของเสียหรือสารพิษที่ตกค้างมีโอกาสสัมผัสกับผนังลำไส้เป็นระยะเวลานาน และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116)
เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116) คือเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์ เป็นเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาชีววิทยาของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์
วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง (Cell Culture- Anti-cancer)
ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบของลำไส้ใหญ่ โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116) ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต
แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป
การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116) ด้วยวิธี MTT assay
การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด Human colorectal carcinoma (HCT-116) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)
ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)
Literature:
- บทความสุขภาพ มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ทัน ป้องกันได้, โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาราชการุณย์ https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/932
- นุสรา ภาคย์วิศาล, การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ. 2562 – 2565
- คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด, งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, พ.ศ. 2557
- ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, พ.ศ.2564
- https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/bowel-cancer/stages-types-and-grades/dukes-staging
- Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.
- Rajput A, Dominguez San Martin I, Rose R, et al. Characterization of HCT116 human colon cancer cells in an orthotopic model. The Journal of Surgical Research. 2008 Jun;147(2):276-281. DOI: