ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณสารกรดไฮยาลูโรนิก Hyaluronic acid

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการทดสอบปริมาณสารกรดไฮยาลูโรนิก หรือ ไฮยาลูโรนิกแอซิด (Hyaluronic acid; HA) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม หรือ อุตสาหกรรมยาและทางการแพทย์

ปัจจุบันกรดไฮยาลูโรนิก เป็นที่นิยมมากในผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม เนื่องจากกรดไฮยาลูโรนิก มีคุณสมบัติที่หลากหลาย อาทิเช่น การนำสารกรดไฮยาลูโรนิก มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่ช่วยเรื่องลดเลื้อนริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้า, การนำสารกรดไฮยาลูโรนิก มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในวงการศัลยกรรมความงาม คือ การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาฉีดริ้วรอยที่นิยมใช้การฉีดสารเติมเต็มเพื่อรักษา เช่น รอยย่นบริเวณหว่างคิ้ว รอยตีนกาและรอยย่นบนหน้าผาก สารเติมเต็มยังสามารถเพิ่มปริมาตรของใบหนาบริเวณแก้ม ร่องแก้ม และบริเวณอื่น ๆได้ด้วย สาเหตุที่ทางการแพทย์นิยมนำสารกรดไฮยาลูโรนิกมาใช้ เนื่องจากเป็นสารที่มีคุณสมบติเฉื่อยไม่ทำให้เกิดการแพ้ มีความคงตัวและอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน อีกทั้งสามารถทำให้เสื่อมสลายไปได้ ในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงจากการรักษา หรือ การนำกรดไฮยาลูโรนิก มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอักเสบ เป็นต้น

ไฮยาลูโรนิกแอซิด หรือ Hyaluronic acid

ไฮยาลูโรนิกแอซิด หรือ กรดไฮยาลูโรนิก เป็น polysaccharides ประจุลบ ที่ประกอบขึ้นจาก glucuronic acid และ N-acetyl-glucosamine พบกระจายอยู่ทั่วปในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โดยกรดไฮยาลูโรนิก ยังเป็นส่วนประกอบหลักของวุ้นตา, น้ำไขข้อ, ผิวหนังและเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในสารระหว่างเซลล์ ของสิ่งมีชีวิตทั้งที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง

โครงสร้างทางเคมีของ Hyaluronic Acid

Hyaluronic Acid

โครงสร้างทางเคมีของ กรดไฮยาลูโรนิก มีหมู่ฟังก์ชันหลายชนิดที่สามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ เช่น hydroxyl group (–OH), carboxylic group (-COOH) และ N-acetyl group (-NHCOCH3) โดย กรดไฮยาลูโรนิก เป็นลิแกนด์ที่สามารถจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ได้หลายชนิด เช่น CD44, RHAMM, และ LYVE-1

กรดไฮยาลูโรนิก เป็นไกลโคสะมิโนไกลแคน (Glycosaminoglycan,GAG) สายตรงมีน้ำหนักโมเลกุลสูง พบได้ตั้งแต่ 106 – 107 ดาลตัน โดยกรดไฮยาลูโรนิก มีความแตกต่างจากไกลโคสะมิโนไกลแคนตัวอื่น ตรงที่มีพันธะนันโควาแลนซ์(noncovalent bond) จับกับโปรตีนและนอกจากนี้ยังไม่มีหมู่ซัลเฟตอีกด้วย โดยโครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ β(1,3)-glucoronic acid และ β(1,4)-N-acetylglucosamine เรียงตัวสลับกัน สามารถจับกับประจุบวกได้ดี เช่น K+, Na+ และ Ca2+ นอกจากนี้ยังมีหมู่ฟังก์ชั่นพวก carboxyl และ N-acetyl ที่มีขั้วอยู่ในปริมาณสูงเมื่อละลายในน้ำ ซึ่งหมู่ฟังก์ชั่นเหล่านี้สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ ดังนั้นกรดไฮยาลูโรนิกจึงมีความสามารถดูดเก็บน้ำได้ดี โดยสารละลายของกรดไฮยาลูโรนิกจะมีลักษณะคล้ายเจล จึงมีความหนืดและความยืดหยุ่น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับความเข้มข้นและน้ำหนักโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิก

การผลิตกรดไฮยาลูโรนิก สำหรับนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

Hyaluronic Acid

การผลิตกรดไฮยาลูโรนิก สำหรับทางการค้า ส่วนใหญ่ผลิตได้จากการสกัดแยกจากเนื้อเยื่อของสัตว์ เช่น การสกัดจากหงอนไก่, ข้อต่อวัว หรือ กระดูกอ่อนของปลาวาฬ แต่สารสกัดเหล่านี้มีข้อเสียเนื่องจากในเนื้อเยื่อกรดไฮยาลูโรนิกจะอยู่รวมกับโปรตีนและ Mucopolysaccharide ทำให้กระบวนการทำให้บริสุทธิ์มีความยุ่งยากและซับซ้อน เพื่อแยกเอาโปรตีนและ Mucopolysaccharide อื่นๆออกไป อีกทั้งยังพบว่ามีการปนเปื้อนของเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) ดังนั้นในกระบวนการผลิตจึงต้องมีการย่อย จึงทำให้ได้กรดไฮยาลูโรนิกมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำและสูญเสียคุณสมบัติในการดูดน้ำ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาการผลิตกรดไฮยาลูโรนิกจากการใช้แบคทีเรียและจุลินทรีย์ เนื่องจากได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สามารถปรับพันธุกรรมได้และสามารถควบคุมสภาวะในการเพาะเลี้ยงได้ ซึ่งจุลินทรีย์ที่นิยมใช้ในการผลิตกรดไฮยาลูโรนิก ได้แก่ Streptococci Group A และ C แต่ทั้งนี้การนำจุลินทรีย์ในใช้ในการผลิตกรดไฮยาลูโรนิก ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคด้วย เนื่องจากจุลินทรีย์เหล่านี้ยังคงมีความสามารถในการก่อโรคอยู่ ทั้งนี้การผลิตกรดไฮยาลูโรนิกจากสัตว์ แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังแสดงในภาพ

Hyaluronic Acid

คุณสมบัติและความเหมาะสมของกรดไฮยาลูโรนิก แต่ละโมเลกุลสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์

Hyaluronic Acid

กรดไฮยาลูโรนิก สามารถสกัดได้จากแหล่งต่างๆ ได้แก่ เนื้อเยื่อของสัตว์ จุลินทรีย์ และ cell-free systems เช่น เอนไซม์ ซึ่งการสกัดจากคนละแหล่งวัตถุดิบหรือวิธีการสกัด จะทำให้ได้ขนาดโมเลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกแตกต่างกัน ซึ่งน้ำหนักโมเลกุลแต่ละขนาดก็จะเหมาะกับการนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. กรดไฮยาลูโรนิก สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ควรมีน้ำหนักโมเลกุลที่ 100-2000 kDa ซึ่งมีงานวิจัยนำไปพัฒนาเป็นยาฉีด บรรเทาอาการปวดของกระดูก, จักษุแพทย์ ปกป้อง และหล่อลื่นดวงตาสำหรับรักษาตาแห้ง เป็นต้น
  2. กรดไฮยาลูโรนิก สำหรับเครื่องสำอาง ควรมีน้ำหนักโมเลกุลที่ 50-1000 kDa เหมาะกับการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติลดเลื้อนริ้วรอย, ฟื้นฟูผิว, เพิ่มความชุ่มชื้นผิว และยกกระชับผิวหน้า
  3. กรดไฮยาลูโรนิก สำหรับเภสัชวิทยา ควรมีน้ำหนักโมเลกุลที่ 1000-1500 kDa งานวิจัยพบว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบ(Anti-inflammatory), ฝาดสมานแผล (Wound healing) เป็นต้น

กรดไฮยาลูโรนิก ประโยชน์ต่อสุขภาพและความงาม

ปัจจุบันมีการนำ Hyaluronic acid หรือ HA มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง, ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือ ผลิตภัณฑ์ยา เนื่องจากกรดไฮยาลูโรนิกนั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงาม ดังนี้

  • ประโยชน์ด้านความงาม

กรดไฮยาลูโรนิกที่ใช้เป็นสารเติมเต็มจะขึ้นอย่กับความเข้มข้น ขนาดโมเลกุล ปริมาณของ cross-linking สารที่ใช้เพื่อทำให้เกิด cross-linking และความแข็งของสาร โดยทั่วไปถ้ามีปริมาณของ crosslinking มากก็จะทำให้ สารมีความแข็งตัวมากขึ้น และสามารถคงอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น สารที่มีขนาดของโมเลกุลเล็กจะเหมาะกับการใช้รักษาริ้วรอยตื้นๆและคงอยู่ ในรางกายได้นานประมาณ 6 เดือน ในขณะที่สารที่มีขนาดของโมเลกุลใหญ่จะใช้สำหรับการเพิ่มปริมาตรของใบหน้าและการรักษาริ้วรอยหรือร่องขนาดลึกซึ่งจะคงอยู่ในร่างกายได้นาน 6-12 เดือน ริ้วรอยที่นิยมใช้การฉีดสารเติมเต็มเพื่อรักษา เช่น รอยย่นบริเวณหว่างคิ้ว รอยตีนกาและรอยย่นบนหน้าผาก สารเติมเต็มยังสามารถเพิ่มปริมาตรของใบหนาบริเวณแก้ม ร่องแก้ม และบริเวณอื่น ๆได้ด้วย

สาเหตุที่ทางการแพทย์นิยมนำสารกรดไฮยาลูโรนิกมาใช้ เนื่องจากเป็นสารที่มีคุณสมบติเฉื่อยไม่ทำให้เกิดการแพ้ มีความคงตัวและอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน อีกทั้งสามารถทำให้เสื่อมสลายไปได้ ในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงจากการรักษา

Hyaluronic Acid
  • ประโยชน์ด้านข้อเข่า

Hyaluronic Acid(HA) เป็นองค์ประกอบของนํ้าไขข้อ (Synovial fluid) และกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสารเคลือบเซลล์ (Extracellular matrix) และของเหลวที่มีคุณสมบัติความยืดหยุ่น (Viscoelastic property) ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อมีประสิทธิภาพ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะข้อเสื่อม คือการทำลายของข้อกระดูกอ่อนผิวข้อ เป็นผลมาจากการลดลงของนํ้าหนักโมเลกุลของ Hyaluronan ในนํ้าเลี้ยงข้อ

HA ประกอบด้วยโครงสร้างของ N-Acetylglucosamine และ D-Glucoronic acid เรียงต่อกันจำนวน 12,500 โมเลกุล A เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในข้อพบ HA ในข้อได้ 3 รูปแบบ

  1. HA Free form เป็นองค์ประกอบสำคัญของนํ้าไขข้อ (Synovial fluid) เนื่องจาก HA มีคุณสมบัติทั้งยืดหยุ่น  และมีความหนืด เมื่อมีแรงมากระทำต่อข้ออย่างช้าๆ HA จะแสดงความหนืด ทำให้ช่วยหล่อลื่นข้อ แต่เมื่อมีแรงมากระทำมาก เซ่น การกระโดด HA จะทำหน้าที่ในการยืดหยุ่น เพื่อดูดซับแรงกระแทก
  2. HA Meshwork เกิดจาก HA Free Form ซึ่งจัดเรียงตัวกันเป็นร่างแหตาข่าย ปกคลุมบริเวณผิวของ Cartilage และ Synovium ทำหน้าที่ช่วยกรองสารเข้าออกและป้องกันไม่ให้ Macro molecule หรือ Inflammatory molecule เข้ามาทำลายเซลล์ภายใน ทั้งเซลล์ Synoviocyte และ Chondrocyte
  3. HA Backbone ถูกสร้างจาก Chondrocyte ซึ่ง HA นี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ Matrix ของ Cartilage โดยทำหน้าที่เป็นแกนให้ Proteoglycan มาเกาะเกิดเป็นกลุ่มก้อนของ Aggrecan ซึ่งทำให้ Matrix มีความยืดหยุ่น และสามารถกระจายน้ำหนักที่เกิดจากแรงกดทับเวลามีการใช้ข้อเกิดขึ้น โดยในภาวะร่างกายปกติ องค์ประกอบและคุณสมบัติของ HA จะอยู่ในลักษณะช่วยปกป้องไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่พบว่า HA ในข้อของผู้ป่วยโรคข้อเช่าเลื่อมมีความผิดปกติไปโดย HA จะมีขนาดโมเลกุล และความเข้มข้นลดลงเมื่อเทียบกับข้อปกติ ทำให้ Synovial fluid มีความหนืดน้อยลง และความยืดหยุ่นลดลงทำให้ขาดคุณสมบัติในการหล่อลื่น และป้องกันแรงกระแทก

ผลงานวิจัยการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยวิธีการฉีดนํ้าหล่อเลี้ยงข้อเข่า พบว่าสาร Hyaluronic Acid (HA) เป็นสารที่มีอยู่ในน้ำข้อของมนุษย์มีลักษณะเหนียว และยืดหยุ่นสูงทำให้ข้อต่างๆ โดยเฉพาะผิวกระดูกข้อเช่าไม่ได้รับแรงกดหรือกระแทกมากเวลาคนจะเดินหรือวิ่ง นอกจากนั้นสารนี้ยังช่วยให้เกิดความลื่นที่ผิวกระดูกอ่อนเวลาเรางอหรือเหยียดหัวเช่า การเสียดสีที่ผิวกระดูกจะน้อยลงทำให้กระดูกอ่อนผุกร่อนน้อยลงตามไปด้วย ส่งผลให้ข้อเช่าอักเสบ ปวดบวมแดงร้อนน้อยลง โดยปกติเช่าจะมีน้ำในข้อเช่าอยู่ประมาณ 1-2 ซีซี เท่านั้น เมื่อคนเราอายุมากขึ้นน้ำในข้อมีปริมาณลดลงโดยเฉพาะคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อมรุนแรง น้ำในเช่าแทบจะไม่เหลือเลย สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อาการข้อเข่าเสื่อมจะลุกลามเร็วขึ้นไปอีก ปัจจุบันมีการผลิตน้ำไขฃ้อเทียม เพื่อใช้ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม ซึ่งข้อดีฃองน้ำไขข้อเทียม คือ สามารถลดอาการปวดเข่า ทำให้ข้อเข่าเคลื่อนไหวได้มากขึ้น สามารถชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้

การตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณไฮยาลูโรนิกแอซิด หรือ กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic acid; HA)

การศึกษาค้นคว้า วิจัย มีการพัฒนานำกรดไฮยาลูโรนิก จากสารสกัดจากสัตว์ เช่น กระดูกไก่, หงอนไก่, กระดูกปลา เป็นต้น สารสกัดจากแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ มาใช้ในอุตสาหกรรมทางอาหาร อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม กันอย่างมากมาย จึงมีการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณสารกรดไฮยาลูโรนิก ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายวิธี เช่น การทดสอบปริมาณสารกรดไฮยาลูโรนิก ด้วยเทคนิค HPLC หรือ การทดสอบปริมาณสารกรดไฮยาลูโรนิก ด้วยชุดทดสอบ Purple-Jelley assay โดยการนำตัวอย่างมาย่อยด้วยเอนไซม์ เพื่อให้ได้สารกรดไฮยาลูโรนิกที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด แล้วนำสารตัวอย่างไปวัดความยาวคลื่น หลังจากนั้นคำนวณปริมาณกรดไฮยาลูโรนิกของตัวอย่าง โดยการเปรียบเทียบกับกราฟสารมาตรฐาน โดยรายงานผลการทดสอบเป็นปริมาณของกรดไฮยาลูโรนิก ที่มีในตัวอย่าง แสดงค่าในรูปร้อยละของปริมาณสารกรดไฮยาลูโรนิก ต่อน้ำหนักผงแห้งของสารตัวอย่าง (%w/w) หรือต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง)

Literature:

  • เกษมณี ไพรอนันตถาวร, 2548, การศึกษาการแสดงผลของ hyaluronan synthase gene(hasA gene) จาก Streptococcus equi subsp. Zooepidemicus ใน Escherichia coli, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • ธิติมา วงศ์จิตราภรณ์, 2564, การพัฒนานาโนพาร์ทิเคิลจากไฮยาลูโรนิกแอซิดบรรจุเคอร์ซิตินหรือเคอร์คูมิน เพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการเชื่อมต่อโมเลกุลพอลิเมอร์กับยา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • ผศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา, สารเติมเต็ม (Fillers), ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังและศัลยกรรมผิวหนัง ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล.
  • ธนา โรจน์พรประดิษฐ์, 2560, การรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมโดยวิธีการฉีดนํ้าไขข้อเทียมชนิด Sodium Hyaluronate โดยเทคนิคแบบ 3 เข็มในคเงเดียว (Hyruan III), กลุ่มงานออร์โธปีดิกส์ กลุ่มภารกิจด้านบริการตติยภูมิ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์.
  • Carlos Dariel Rodriguez-Marquez, Susana Arteaga-Marin, Andrea Rivas-Sánchez, Renata Autrique-Hernández and Roberto Castro-Muñoz, 2022, A Review on Current Strategies for Extraction and Purification of Hyaluronic Acid, International Journal of Molecular Sciences.