ข้อมูลบริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณความชื้นในผลิตภัณฑ์

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับวิเคราะห์ทดสอบปริมาณความชื้นในผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่อง Moisture Analyzer ซึ่งการควบคุมและกำหนดปริมาณความชื้น ถือเป็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมีอิทธิพลต่ออายุการเก็บรักษา การใช้งาน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยสำคัญนี้ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณ มีความคงตัวที่ดี มีความสมบูรณ์ และลดปัญหาการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์ การควบคุมปริมาณความชื้นสามารถสร้างให้ผลิตภัณฑ์ ของคุณประสบความสำเร็จได้

ความชื้น (Moisture Content)

“ความชื้น” โดยทั่วไปแบ่งได้เป็นความชื้นอากาศ (Humidity) และความชื้นวัตถุดิบ (Moisture) เพราะเนื่องจากคำศัพท์ในภาษาไทยมีเพียงคำเดียวโดยทั่วไปเราหมายถึง สภาพอากาศ แต่ยังมีอีกความหมายได้แก่ ปริมาณน้ำในวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ชื้น อาหาร สมุนไพรและเมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นในอากาศ (Humidity) และความชื้นในวัสดุ (Moisture) คือ ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีแนวโน้มสูงขึ้นย่อมส่งผลต่อรอบข้าง เช่น ถ้าเราเก็บอาหารไว้ในอากาศที่มี ความชื้นสูง อาหารจะดูดซับไอน้ำ นั้นจนกระทั่งความชื้น ภายในอยู่ระดับกับความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ในอากาศ

ผลกระทบของความชื้นที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

ความชื้น (moisture content) เป็นค่าที่บ่งชี้ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอาหาร เป็นสมบัติที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของอาหาร โดยปริมาณความชื้นจะส่งผลต่อความสามารถในการแปรรูป อายุการเก็บรักษา ความสามารถในการใช้งาน และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยผลกระทบของความชื้นที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

  1. ความชื้นมีผลต่อการเสื่อมเสียของอาหาร (food spoilage) โดยเฉพาะการเสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ (microbial spoilage) ซึ่งมีผลกระทบต่ออายุการวางจำหน่าย (shelf life) อาหารที่มีความชื้นหรือปริมาณน้ำสูงจะเป็นอาหารที่เสื่อมเสียง่าย (perishable food) เนื่องจากมีสภาวะเหมาะสมกับการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ และรา
  2. ความชื้นมีผลต่อความปลอดภัยทางอาหาร (food safety) อาหารที่มีน้ำสูงเหมาะกับการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) และการสร้างสารพิษ (toxin) ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ รวมถึงการสร้างสารพิษของรา (mycotoxin) เช่น aflatoxin และ patulin ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  3. ความชื้นมีผลต่อสมบัติทางกายภาพ และสมบัติเชิงความร้อนของอาหารด้านต่างๆ เช่น จุดหลอมเหลว จุดเดือด การนำความร้อน (thermal conductivity) ความร้อนจำเพาะ (specific heat)
  4. ความชื้นมีผลต่อคุณภาพทางประสาทสัมผัส ซึ่งมีผลต่อการยอมรับของอาหาร ได้แก่ เนื้อสัมผัส (texture) เช่น ความกรอบ ความหนืด (viscosity) การเกาะติดกันเป็นก้อน (caking)
  5. ความชื้นมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่มีผลกระทบทางลบต่ออาหารระหว่างการเก็บรักษา เช่น ปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาล (browning reaction) ปฏิกิริยาออกซิเดชันของลิพิด (lipid oxidation)
  6. ความชื้นมีผลต่อการกำหนดราคาสินค้า เช่น ข้าว เมล็ดธัญพืช กำหนดราคารับซื้อผันแปรตามปริมาณความชื้น

มาตราฐานความชื้นของผลิตภัณฑ์แห้ง

การควบคุมและกำหนดปริมาณความชื้นของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ เป็นบทบาทสำคัญต่อการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เคมีภัณฑ์ รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกฎหมายควบคุมปริมาณความชื้นสูงสุดที่อนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น ระเบียบข้อบังคับด้านอาหารแห่งชาติ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข มีการทำประกาศคู่มือรายการตรวจวิเคราะห์อาหารควบคุมเฉพาะและอาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน 9 ประเภท เพื่อใช้ประกอบการขออนุญาต ประจำปี 2562 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ผลิตภัณฑ์ประกาศ

กระทรวงสาธารณสุข

ข้อกำหนดความชื้น

(เฉพาะชนิดผงหรือแห้ง)

นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก(ฉบับที่ 156) พ.ศ.2537, (ฉบับที่ 286) พ.ศ.2547 (ฉบับที่ 307) พ.ศ.2550

นมดัดแปลงสำหรับทารก

และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก

ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก(ฉบับที่ 158) พ.ศ.2537

อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก

ที่ไม่ต้องผ่านการหุงต้มก่อนรับประทาน

– ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก

ที่ต้องผ่านการหุงต้มก่อนรับประทาน

– ไม่เกินร้อยละ 8 ของน้ำหนัก

อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก(ฉบับที่ 121) พ.ศ.2532

อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและฉบับที่ 2

ไม่เกินร้อยละ 8 ของน้ำหนัก
เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท(ฉบับที่ 356) พ.ศ.2556

เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

ไม่เกินร้อยละ 6 ของน้ำหนัก
นมโค(ฉบับที่350) พ.ศ. 2556

นมผง

ชนิดเต็มมันเนย

ชนิดพร่องมันเนย

ชนิดขาดมันเนย

นมผงแปลงไขมัน

ชนิดเต็มไขมัน

ชนิดพร่องไขมัน

ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
นมปรุงแต่ง(ฉบับที่ 351) พ.ศ.2556

นมปรุงแต่งชนิดแห้ง

ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
นมปรุงแต่ง(ฉบับที่ 351) พ.ศ.2556

นมปรุงแต่งชนิดแห้ง

อัดเม็ด

ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
ไอศกรีม(ฉบับที่ 354) พ.ศ.2556

ไอศกรีมชนิดแห้งหรือผง

ไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก
รอยัลเยลลี่(ฉบับที่ 294) พ.ศ.2548

รอยัลเยลลีที่นำไประเหยน้ำออกจนแห้ง

– มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก

การวิเคราะห์ความชื้นในผลิตภัณฑ์

การวิเคราะห์ความชื้น มีวิธีการที่หลากหลาย ทั้งการวัดปริมาณความชื้นในของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ โดยค่าความชื้น จะแสดงเป็นปริมาณร้อยละ (เปอร์เซนต์) ซึ่งจะถูกนำมาเป็นข้อกำหนดในการผลิตอาหารเชิงพาณิชย์ และการประกันคุณภาพกระบวนการผลิต เป็นต้น วิธีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณความชื้น มีวิธีการทดสอบ ดังนี้

1.การวัดความชื้น ด้วยวิธีการทำให้แห้ง

วิธีการทางห้องปฏิบัติการแบบดังเดิมในการหาความชื้นในวัตถุดิบที่เป็นของแข็งหรือกึ่งของแข็ง คือ การสูญเสียความชื้นด้วยการอบแห้ง ในเทคนิคนี้ตัวอย่างของวัตถุดิบ จะถูกชั่งน้ำหนักก่อนให้ความร้อน จากนั้นนำไปเข้าเตาอบในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ความชื้นระเหย จากนั้นชั่งน้ำหนักอีกครั้ง เป็นวิธีการที่แม่นยำและเที่ยงตรงที่สุดในการหาความชื้นในวัตถุดิบ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันเรามีเครื่องวัดวิเคราะห์ความชื้นที่ทำให้การหาความชื้นในวัตถุดิบได้ง่ายและเป็นวิธีการอัตโนมัติ เราเรียกเครื่องนี้ว่าเครื่องมือวิเคราะห์ความชื้น (Moisture Analyzer) เป็นเครื่องสำหรับตรวจวัดปริมาณความชื้น ในงานวิจัย และอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบวัตถุดิบในหลากหลายอุตสาหกรรม

รูปเครื่อง Moisture Analyzer

2.การวัดความชื้น ด้วยวิธีการทางเคมีการไตเตรทแบบ Karl Fischer

การไตเตรทแบบ Karl Fischer เป็นวิธีการไตเตรทแบบคลาสสิก ในการวิเคราะห์ทางเคมีที่ใช้การไตเตรทแบบ coulometric หรือปริมาตร เพื่อกำหนดปริมาณการติดตามของน้ำในตัวอย่าง ถูกคิดค้นในปี คศ. 1935 โดยนักเคมีชาวเยอรมัน Karl Fischer ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันการไตเตรททำได้ง่ายดายด้วยเครื่องไตเตรท Karl Fischer แบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการตรวจวัดที่มีความแม่นยำสูง

3.การวัดความชื้น ด้วยวิธีวัดทางไฟฟ้า

เครื่องวัดความชื้นชนิดนี้ ขึ้นอยู่กับการวัดค่าการนำไฟฟ้า การวัดค่าความจุไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า โดยมีคุณสมบัติให้การวัดแบบไม่ทำลาย โดยไม่มีความเสียหายต่อวัตถุดิบ แต่ในเรื่องของความถูกต้องแม่นยำ จะไม่เท่ากับการวัดแบบโดยวิธีการทำให้แห้งและวิธีการทางเคมีการไตเตรทแบบ Karl Fischer

4.การวัดค่า Water Activity (aW)

วอเตอร์แอคทีวิตี้ (water activity) หรือเขียนย่อ aw คือ อัตราส่วนระหว่างความดันไอของอาหารเมื่ออยู่ในสมดุลที่ไม่ถูกรบกวนอย่างสมบูรณ์กับตัวกลางในอากาศหารด้วยความดันไอของน้ำกลั่นภายใต้สภาวะเดียวกัน โดยค่า water activity เป็นค่าที่ถูกนำมาใช้อย่างมีความสำคัญสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารและความปลอดภัยของอาหาร

Literature: