ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด T-cell Leukemia

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบและวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด T-cell Leukemia ระดับห้องปฏิบัติการ ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบทำการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็ง ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับงานวิจัยเชิงลึก ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาสมุนไพรที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ โดยอัตราการตายของประชากร ที่มีสาเหตุจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือ 4 ต่อประชากร 100,000 คน มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบเลือดที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนในไขกระดูกเติบโตผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวสะสมเป็นจำนวนมากในไขกระดูก แล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงขึ้นผิดปกติ เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell Leukemia (Jurkat) เป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์ เป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาชีววิทยาของมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์

ทำความรู้จักกับมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)

ข้อมูลจากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปีพ.ศ. 2560-2564 พบว่า อัตราการตายของมะเร็งเม็ดเลือดขาว คือ 4 ต่อประชากร 100,000 คน มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบเลือดที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนในไขกระดูกเติบโตผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวสะสมเป็นจำนวนมากในไขกระดูก แล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงขึ้นผิดปกติ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เกิดจากมีการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนที่ไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ปกติได้ ทำให้เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดทุกชนิดลดลง จึงทำให้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซีดจากภาวะโลหิตจาง มีไข้และติดเชื้อง่ายเนื่องจากเม็ดเลือดขาวตัวแก่ที่มีหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อมีปริมาณลดลง และเลือดออกง่าย มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง โดยเฉพาะตามเยื่อบุต่างๆ เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ โดยส่วนใหญ่แล้วมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงกว่าชนิดเรื้อรัง
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง เกิดจากมีการเพิ่มจำนวนของเม็ดเลือดขาวอย่างผิดปกติ ซึ่งยังสามารถเจริญเติบโตเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ปกติได้ ทำให้อาการของโรคค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการในระยะแรก จนกระทั่งมีปริมาณเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสูงขึ้นมาก ทำให้อ่อนเพลียหรือโลหิตจาง หรือไปสะสมในม้ามทำให้ม้ามโต อืดแน่นท้อง หรือคลำเจอก้อนบริเวณท้องด้านซ้ายบน

ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อย่างแน่ชัด แต่จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่ามีปัจจัยส่งเสริมบางอย่างที่เชื่อว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ได้แก่ พันธุกรรม โดยพบโรคนี้ได้สูงกว่าที่อเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก แต่พบได้น้อยกว่าในเอเชียและลาติน, การได้รับสารรังสี จากการศึกษาประชากรญี่ปุ่นที่รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่าคนปกติถึง 30 เท่า, การได้รับสารเคมีบางอย่างเป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานฟอกหนัง ทำสี และผู้ที่ได้รับสารเบนซีน น้ำมันถ่านหิน ยาฆ่าแมลง ยาย้อมผม หรือสเปรย์ฉีดผม, การได้รับเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน พบมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคนี้สูงขึ้นหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนาน 2-10 ปี

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Jurkat)

เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Jurkat) เป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีต้นกำเนิดจากมนุษย์ เป็นเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการศึกษาชีววิทยาของมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยศึกษาการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวภายนอกเซลล์หรือในไมโครเพลท (Well Plate) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติหรือสามมิติ (2D or 3D Cell Culture- Anti-cancer) ในอาหารเลี้ยงเซลล์

วิธีการทดสอบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร สารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา เพื่อใช้ในการบำรุงหรือต้านการอักเสบ โดยสามารถทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในระดับเซลล์ เกี่ยวกับความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ฤทธิ์การยับยั้ง หรือค่าความเข้มข้นที่เหมาะสมในการยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell Leukemia (Jurkat)

ขั้นตอนการทดสอบ คือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้จากสิ่งมีชีวิตโดยตรง มาเพาะเลี้ยงภายใต้สภาวะที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพื่อให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต แบ่งตัวหรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความใกล้เคียงกับเซลล์มะเร็งที่ปลูกถ่ายในสัตว์ทดลองหรือเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกายของผู้ป่วย โดยการศึกษาระดับเซลล์เป็นการทดสอบก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ทดสอบในสัตว์ทดลองหรือการทดสอบทางคลินิกต่อไป

รูปแสดง ตัวอย่างการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งภายใต้สภาวะสองมิติ ในระดับ in-vitro ที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาทางชีววิทยาและมะเร็งวิทยา (ดัดแปลงจาก Gaebler และคณะ 2017)

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ด้วยวิธีMTT assay

การทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell Leukemia (Jurkat) ที่เพาะเลี้ยงระดับเซลล์หรือในไมโครเพลท(Well Plate) ด้วยวิธี Methyl tetrazolium 3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2, 5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay ซึ่ง MTT assay เป็นวิธีทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็งในไมโครเพลทจากความสามารถในการทำงานของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (Dehydrogenase) ในไมโตคอนเดรีย ซึ่งสารสีเหลืองของ MTT (3-[4, 5-Dimethylthiazol-2-yl]-2,5-Diphenyltetrazolium Bromide) จะถูกเปลี่ยนเป็นผลึกสีม่วงของฟอร์มาซาน (Formazan)

ดังนั้นจะใช้ผลึกฟอร์มาซานแสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์ โดยเซลล์มะเร็งที่ตายจะมีลักษณะใสไม่มีสี และเซลล์มะเร็งที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีผลึกสีม่วงเกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งเมื่อนำมาละลายในตัวทำละลาย เช่น DMSO จะได้สารละลายสีม่วงน้ำเงินที่สามารถวัดค่าการดูดกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) ซึ่งจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากนั้นนำมาคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มะเร็งเปรียบเทียบกับสารมาตราฐาน โดยสามารถรายงานผลได้เป็น % การยับยั้งเซลล์มะเร็ง หรือ ค่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50)

Literature:

  • ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา, ลิวคีเมีย, หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว รู้ทันป้องกันได้, โรงพยาบาลราชวิถี
  • นพดล ศิริธนารัตนกุล, โรงมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, สถิติสุขภาพคนไทย, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, 2560-2564
  • Gaebler M, Silvestri A, Haybaeck J, Reichardt P, Lowery CD, Stancato LF, et al. Three-dimensional patient-derived In vitro sarcoma models: promising tools for improving clinical tumor management. Front Oncol 2017; 7: 203.