ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณคอลลาเจนทั้งหมด (Total Collagen) ในผลิตภัณฑ์

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบปริมาณคอลลาเจน (Total Collagen) ในผลิตภัณฑ์ จากสารสกัด หรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม หรือ ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์ยา ด้วยเทคนิคการใช้ชุดทดสอบ (Collagen assay kit) ซึ่งปัจจุบันการแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์คอลลาเจนมีสูงมากขึ้น ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น  โดยเขาสามารถแยกความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้แค่คำกล่าวอ้างโฆษณาทางการตลาดเท่านั้น พวกเขาจึงมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีเพิ่มความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้บริโภค เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ของคุณในการดูแลสุขภาพและความงามของเขา

ซึ่งการทดสอบด้วยเทคนิคนี้จะสามารถระบุปริมาณคอลลาเจนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ได้ ประโยชน์ของการใช้บริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณคอลลาเจนของเราเป็นมากกว่าข้อมูลที่ใช้ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของคุณ เพื่อสร้างแบรนด์ของคุณให้มีความน่าเชื่อถือ ตั้งอยู่บนรากฐานของความจริง ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค

คอลลาเจน คืออะไร

ปัจจุบันหลายท่านคงได้ยินและรู้จักคำว่า “คอลลาเจน”(Collagen) จากสื่อต่างๆมากมาย แต่ทุกท่านทราบหรือไม่ว่าคอลลาเจนคืออะไรและมีประโยชน์ต่อร่างกายเราจริงหรือไม่ ในบทความนี้เราจะอธิบายให้ทุกท่านได้รับทราบกัน

คอลลาเจน (collagen) คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ประสานกันเป็นเส้นใยอยู่ใต้ผิวในชั้นหนังแท้ ทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมเซลล์แต่ละเซลล์เข้าด้วยกัน และเรียงตัวเป็นเครือข่ายหนาแน่นในชั้นหนังแท้  รวมถึงเนื้อเยื่อ คอลลาเจนถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เซลล์ยึดเกาะกัน และทำให้ร่างกายทุกส่วนทำงานได้อย่างปกติ ถ้าร่างกายมีปริมาณคอลลาเจนลดลง เซลล์ที่ยึดเกาะกันก็จะเกิดการเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกายดังภาพ ซึ่งกลไกร่างกายของคนเราจะมีกระบวนการสร้างคอลลาเจนขึ้นเองได้ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความสามารถในการผลิตคอลลาเจนก็ลดลง จึงเป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอย ความหย่อนคล้อยของผิวหนัง หรืออาจเกิดอาการปวดข้อเข่า แต่อายุไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดการผลิตคอลลาเจนที่น้อยลง ยังมีปัจจัยอื่นอีกเช่น รังสี UV จากแสงแดด มลภาวะต่างๆ การบริโภคก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ

ชนิดของคอลลาเจนและส่วนที่พบในร่างกาย

คอลลาเจน เป็นโปรตีนโครงสร้างหลักที่สำคัญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ ในร่างกาย มีมากที่สุดประมาณ 25-35% ของโปรตีนทั้งหมด โดยจัดเป็นกลุ่ม Fibrous Protein ที่พบมากที่สุดภายใน ECM ร่วม Elastin และ Hyaluronic Acid โดยพบมากที่เส้นเอ็น กระจกตา เล็บ ผม กระดูกอ่อน กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเลือด ซึ่งคอลลาเจนแต่ละชนิดจะอยู่ตำแหน่งที่แตกต่างกันในร่างกาย ดังแสดงในตาราง

ชนิดของคอลลาเจนตำแหน่งที่พบในร่างกาย
Iชั้นหนังแท้, เอ็นกล้ามเนื้อ, เอ็นยึด, กระดูก
IIกระดูกอ่อน, น้ำวุ้นหลังตา
IIIผิวหนัง, ผนังหลอดเลือด
IVเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกล้ามเนื้อและไขมัน
Vปอด, กระจกตา, ผม, กระดูก

วัตถุดิบและอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยผลิตคอลลาเจน

การบริโภคอาหาร ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตคอลลาเจน โดยประเภทของวัตถุดิบและอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยผลิตคอลลาเจนในร่างกายของเรา มีดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (soybean) มีสารเจนีสทีน (genistein) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยผลิตคอลลาเจนและป้องกันเอนไซม์ที่ทำลายผิวหนังได้
  2. ผักสีเขียวเข้ม เช่น ผักโขม (spinach) กะหล่ำปลี (cabbage) และผักคะน้า (kale) เป็นต้น ผักเหล่านี้เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ลูทีน (lutein) ช่วยเสริมความสามารถในการผลิตคอลลาเจนและการใช้ประโยชน์จากโปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผักและผลไม้สีแดง จะมีสารไลโคพีน (lycopene) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและยังส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน
  4. วัตถุดิบหรืออาหารที่มีส่วนผสมของกรดโอเมกา (omega acid) เช่น ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า, ถั่วอัลมอน หรือ อโวคาโด เป็นต้น
  5. ว่านหางจระเข้, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีคุณสมบัติในการช่วยผลิตคอลลาเจน

นอกจากอาหารดังกล่าวแล้ว ยังมีวิตามินและแร่ธาตุ ที่มีส่วนช่วยในการผลิตคอลลาเจนในร่างกายได้แก่ วิตามินอี ช่วยป้องกันคอลลาเจนถูกทำลายจากแสงแดดและอนุมูลอิสระ, วิตามินเอ, แร่ธาตุทองแดง เป็นสารที่จำเป็นในการสังเคราะคอลลาเจน แต่ทองแดงถือเป็นโลหะที่เป็นพิษ ต้องรับประทานจากอาหารที่มีส่วนประกอบเท่านั้น เช่น น้ำอ้อย, เม็ดมะม่วงหิมพาน, ถั่วเขียว เป็นต้น โดยปริมาณคอลลาเจนที่ร่างกายมนุษย์ต้องการใน 1 วัน คือ ไม่ต่ำกว่า 3,000 มิลลิกรัม แต่หากรับประทานเพียงอาหารอย่างเดียวอาจยากที่จะได้รับปริมาณคอลลาเจนที่เพียงพอต่อร่างกาย ปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการหลายรายที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของคอลลาเจน

คอลลาเจนในอุตสาหกรรม

คอลลาเจน ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมมีหลายชนิด โดย Native Collagen แตกต่างกับ Hydrolyzed Collagen ซึ่ง Hydrolyzed Collagen หรือ Collagen Hydrolysate คือ คอลลาเจนที่ได้จากการย่อยด้วยเอนไซม์ หรือ การใช้สารเคมีที่เป็นกรด เช่น กรดอะซิติก กรดไฮโดรคลอริก กรดฟอสฟอริก เพื่อให้เป็นเปปไทด์สายสั้นๆ คอลลาเจนที่ได้จะมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ 3-6 KDa เมื่อเทียบกับ Native Collagen ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง 285-300 KDa โดยคอลลาเจนที่พบตามธรรมชาติ ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จากผิวหนังหรือเกล็ดของสัตว์ เช่น ปลา หมู วัว ไก่ เป็นต้น

คอลลาเจนที่ผลิตจากการย่อยจะกลายเป็น Gelatin และ Hydrolyzed Collagen ถ้าสามารถผลิตให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่เล็กลงจะเรียกว่า Collagen Peptide และสามารถย่อยจนเล็กลงเป็น Tripeptide หรือ Dipeptide

แนวโน้มและผลิตภัณฑ์ของตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของคอลลาเจน

ปัจจุบันยุคที่คนต้องใส่หน้ากาก แต่ตลาดความงามของไทยไม่เคยหยุดเติบโต ข้อมูลจาก Euromonitor พบว่าในปี 2016 ตลาดความงามมีมูลค่า 1.56 แสนล้านบาท ปี2017 มูลค่า 1.787 แสนล้านบาท ปี2019 มูลค่า 2.18 แสนล้านบาท และปี 2020  มูลค่า 2.27 แสนล้านบาท จากแนวโน้มชี้ให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับตลาดวิตามินและอาหารเสริมปี 2020 มีมูลค่า 25,269 ล้านบาท เฉลี่ย 8% โดยตลาดที่กินส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ตลาดคอลลาเจน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์จาก Grand View Research ที่ระบุว่าแม้ว่า 15% ของคอลลาเจนทั้งหมด ถูกนำไปใช้ในด้านความงาม แต่จริง ๆ แล้วคอลลาเจนยังช่วยเรื่องสุขภาพของระบบไขข้อต่าง ๆ ในร่างกายอีกด้วย ส่งผลให้อุตสาหกรรมคอลลาเจนเติบโตสูงขึ้น 5.9% ต่อปี และเมื่อหันมาดูสถิติการหาคำว่า “Collagen” ใน Google จะพบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2017 เป็นต้น มียอดการหาคำเพิ่มสูงขึ้น ถึง 212% ตอกย้ำว่า คอลลาเจน ยังคงเป็นตลาดที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม

ในปี 2023 ตลาดของ Bovine Collagen หรือคอลลาเจนที่ได้มาจากวัว มีตลาดที่ใหญ่กว่าคอลลาเจนที่ได้จากปลาถึง 32 %  โดยเว็บไซต์ GME ให้ข้อมูลว่า Bovine มีขนาดใหญ่กว่าเพราะเป็นคอลลาเจนที่สกัดออกมาได้ง่ายกว่าทำให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า เป็นเทรนด์ที่คำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ Marine Collagen หรือคอลลาเจนที่ได้จากปลาก็คาดว่าจะเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตขึ้น

อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม มีการนำคอลลาเจน มาใช้ประโยชน์และมาเป้นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมาย ได้แก่

– ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้, น้ำวิตามิน เป็นต้น

– ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อลดริ้วรอย บำรุงผิวให้แลดูเปล่งปลั่ง

– ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน และแหล่งโปรตีนเสริม ให้แก่ร่างกาย

– ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในศัลยกรรมเสริมความงาม สำหรับรักษาแผลไฟไหม้รุนแรง หรือการฉีดเพื่อรักษารอยย่น รอยแผลเป็นหรือการผ่าตัดเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

การวิเคราะห์ทดสอบปริมาณคอลลาเจน
(Total Collagen) ในผลิตภัณฑ์

การแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์คอลลาเจนมีสูงมากขึ้น ผู้บริโภคสามารถหาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น  โดยเขาสามารถแยกความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้แค่คำกล่าวอ้างโฆษณาทางการตลาดเท่านั้น พวกเขาจึงมองหาผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีเพิ่มความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้บริโภค เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ของคุณในการดูแลสุขภาพและความงามของเขา

โดยการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณคอลลาเจนในผลิตภัณฑ์ มีหลากหลายวิธีการ ทั้งแบบการใช้เทคนิคแมสสเปกโทรเมตรี (Mass spectrometry) คือ เทคนิคในการวิเคราะห์ผลการวัดสัดส่วนมวลต่อประจุ (mass-to-charge ratio) ของอนุภาคที่มีประจุ เพื่อระบุมวลของอนุภาค ส่วนประกอบของธาตุในสารประกอบตัวอย่างหรือในโมเลกุล และแสดงถึงโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุล เช่น เพปไทด์ และสารประกอบทางเคมีอื่นๆ หรือ การทดสอบโดยการใช้ชุดทดสอบ (Collagen assay kit) เป็นเทคนิคการตรวจสอบปริมาณคอลลาเจนในตัวอย่างทดสอบ โดยการทดสอบสารตัวอย่างเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานของคอลลาเจน แล้ววัดค่าการเรืองแสงที่ความยาวคลื่น Ex/Em คือ 375/465 nm จากนั้นคำนวณหาปริมาณคอลลาเจนในตัวอย่างทดสอบจากกราฟมาตรฐาน ซึ่งการทดสอบด้วยเทคนิคนี้จะสามารถระบุปริมาณคอลลาเจนทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ได้ ประโยชน์ของการใช้บริการวิเคราะห์ทดสอบปริมาณคอลลาเจนของเราเป็นมากกว่าข้อมูลที่ใช้ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของคุณ เพื่อสร้างแบรนด์ของคุณให้มีความน่าเชื่อถือ ตั้งอยู่บนรากฐานของความจริง ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค

Literature:

  • ปรมัตถ์ ทองคำคูณ, กนิษฐา ปัญธิญา, ธัญชนก กันทวงศ์, พิมพ์ชนก พวงย้อยแก้ว และนพพล เล็กสวัสดิ์, คอลลาเจน และการเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมการผลิตคอลลาเจน, สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการอาหาร สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ตลาด “คอลลาเจน” แข่งดุ เข้าสู่ยุคคัดตัวจริง, 14 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา: https://www.thansettakij.com/insights/499695  ค้นหาวันที่: 10/8/2566
  • พรรณธร สุจารีย์, ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนของประชากรในกรุงเทพมหานคร, สาขาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ดร. เภสัชกรหญิงพนิตา สุวรรณน้อย, คอลลาเจน เคล็ดลับความอ่อนเยาว์?, แหล่งที่มา:  https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/20190328_022.pdf
  • ลีลาวดี พงษ์คุณากร, 2564, การเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างคอลลาเจนในรูปการรับประทานและการทาต่อการลดริ้วรอยและความหยาบของผิว, วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.