ข้อมูลบริการทดสอบประสิทธิภาพ Wound Healing หรือการสร้างเซลล์ Fibroblast

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับวิเคราะห์ทดสอบประสิทธิภาพการฝาดสมาน Wound Heal หรือการสร้างเซลล์ไฟโบรบลาส (Fibroblast) ที่เพาะเลี้ยงเซลล์ ภายใต้สภาวะสองมิติ (2D Cell Culture) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ซึ่งการทดสอบการออกฤทธิ์การสมานแผล (Wound Healing) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการประเมินความสามารถของร่างกายในการฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยการทดสอบจะดูประสิทธิภาพการสร้างเซลล์เส้นไยไฟโบบลาส (Fibroblast) ในชั้นผิวหนัง ภายใต้สภาวะการทดสอบเซลล์ 2 มิติ (2D Cell) ซึ่งการทดสอบนี้เหมาะกับวัตถุดิบ สมุนไพร สารสกัด หรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยช่วยสมานผิว รักษารอยแผล เป็นต้น กลุ่มสารที่มีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างการหายของบาดแผล ได้แก่ สารสกัดจากพืช (Plant-derived compounds) เช่น Terpenes, Terpenoids, Carotenoids, Carotenes เป็นต้น

กระบวนการหายของบาดแผล (Wound Healing Process)

ผิวหนังมีหน้าที่เป็นเกาะป้องกันร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น อันตรายจากทางกายภาพ เชื้อโรค การสูญเสียของเหลวของร่างกาย ซึ่งจะประกอบไปด้วยชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นหนังแท้ (Dermis) โดยเมื่อเกิดบาดแผลที่ผิวหนัง ผิวหนังจะเกิดการฟื้นฟูอย่างทันทีเพื่อคงกระบวนการทำหน้าที่ของผิวหนังในการปกป้องร่างกาย ซึ่งกระบวนการซ่อมแซมผิวหนังหรือกระบวนการหายของบาดแผล ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะอักเสบ (Inflammation) จะเริ่มขึ้นในช่วงวินาทีแรกหลังบาดเจ็บ นิวโตรฟิล (Neutrophil) และแมคโคเฟจ (Macrophage) จะกำจัดเชื้อโรคและหลั่ง Cytokines และ Growth factors และช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจนและโปรตีน เพื่อสร้างเนื้อเยื่อใหม่

ระยะแบ่งเซลล์ (Proliferation or Granulation) จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 ถึงวันที่ 12 เริ่มจาก Fibroblast จะมีสร้างคอลลาเจน เพื่อให้เกิดการหดตัวของบาดแผลและการสร้างหลอดเลือดใหม่ โดยการกระตุ้นของ Cytokine ได้แก่ TNF, TGF-B และ Vascular endothelial growth factor (VEGF) และระยะเสริมสร้างความแข็งแรง (Remodeling or Maturation) จะเกิดการจัดเรียงตัวใหม่ของคอลลาเจน ซึ่งอาจจะมีการสลายของคอลลาเจนโดย Matrix metalloproteinase (MMP) จนกว่าจะเข้าสู่สมดุล

กลุ่มสารที่ช่วยเสริมสร้างการหายของบาดแผล

สารที่ช่วยในกระบวนการหายของบาดแผล สามารถจัดประเภทได้ดังนี้

  1. Volatile Oils โดยจะเป็นสารในกลุ่ม Secondary vegetal metabolism ซึ่งอาจจะมีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ การยับยั้งการอักเสบ (Anti-inflammatory) และต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidation)
  2. สารที่มาจากสารสกัดจากพืช (Plant-derived compounds) เช่น Terpenes, Terpenoids, Carotenoids, Carotenes ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลชีพ (Antimicrobial) ยับยั้งการสร้าง Nucleic acid เช่น Robinetin, Myricetin และ Epigallocatechin รบกวน Cytoplasmatic membrane เช่น Phenol และสารประกอบ Phenolic ยับยั้ง Energetic metabolism เช่น สารในกลุ่ม BHA, p-cumaric และ Caffeic acid การยับยั้งกระบวนการ Arachnoid acid
  3. Propolis ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการอักเสบ โดยกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการอักเสบที่ใช้ในเครื่องสำอางและอาหารเสริม เช่น น้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ดอกดาวเรือง (Calendula officinalis) ว่านหางจระเข้ (Aloe vera) ขมิ้นชัน (Curcumin) กล้วยสุก (Musa sapientum) หนามไข่กุ้ง (Rubus ellipticus) หอมแดง (Allium ascalonicum Linn) เปี่ยนซวี่ (Polygonum aviculare L) มะรุม (Moringa oleifera) เป็นต้น

วิธีการทดสอบการออกฤทธิ์การสมานแผล

  1. In vitro Model
    -การทดสอบการเคลื่อนที่ของเซลล์ (Cell Migration; Chemotaxis) ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ 2 มิติ ใน 96-well plates จากนั้นเพาะเลี้ยงเซลล์ในสภาวะที่มีสารตัวอย่างที่ความเข้มข้นต่างๆ และถ่ายรูปการเคลื่อนที่ของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่เวลาต่างๆ
    -การสร้าง Proliferation (Mitogenesis) ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์สร้างเส้นใยต่อเนื่องใน 96-well plates นำมาบ่ม และทดสอบด้วยสารตัวอย่างที่ความเข้มข้นต่างๆ เพื่อศึกษาการแบ่งตัว
    -การสร้าง Extracellular Matrix (ECM) โดย Fibroblast นำเซลล์ที่อยู่ในถาดเพาะเลี้ยง 96-well plate มาเติมสารตัวอย่างที่ต้องการทดสอบ โดยมีอาหารเลี้ยงเซลล์เป็นตัวทำละลาย เพื่อให้ได้ความเข้มข้นต่างๆ จากนั้นดูดอาหารเลี้ยงเซลล์มาวิเคราะห์ปริมาณการสร้างเซลล์เส้นไย Fibroblast เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการเติมสารตัวอย่าง
  2. Animal studies model ได้แก่ Granuloma Models, Incision Models, Excision Model, Open-Wound Models และ Burn Models เป็นต้น
  3. Impaired Healing Model การทดสอบแผลเรื้อรัง รวมถึงแผลที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น แผลที่เท้า จากเบาหวาน
  4. Tissue Repair in Humans

Literature:

  • Cañedo-Dorantes, Luis, and Mara Cañedo-Ayala. “Skin acute wound healing: a comprehensive review.” International journal of inflammation 2019 (2019).
  • Greenhalgh, David G. “Models of wound healing.” Journal of Burn Care & Rehabilitation 26.4 (2005): 293-305.
  • Georgescu, Mihaela, et al. “Natural compounds for wound healing.” Worldwide Wound Healing—Innovation in Natural and Conventional Methods. Portugal: IntechOpen (2016): 61-89.
  • Nayak, B. S., and Lexley M. Pinto Pereira. “Catharanthus roseus flower extract has wound-healing activity in Sprague Dawley rats.” BMC Complementary and Alternative medicine 6.1 (2006): 1-6.