Our Knowledges

Antiviral – ยาต้านไวรัส

ยาต้านไวรัส

ยาต้านไวรัส (Antiviral drugs) คืออะไร

ยาต้านไวรัส (Antiviral drugs) เป็นยาชนิดหนึ่งมีทั้งรูปแบบยาเม็ด ยาน้ำ ยาผงแบบสูด และสารละลายแบบให้ทางหลอดเลือดดำ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส ไม่ใช่การฆ่าไวรัส เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสเข้าไปจะช่วยลด หรือชะลออาการของโรคลง ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น

ยาต้านไวรัสเป็นยาสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสเท่านั้น โดยแพทย์สามารถรักษาโดยให้ยาต้านยาไวรัสหลายแบบร่วมกัน รวมถึงการให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และยารักษาตามอาการอื่น ๆ

ยาต้านไวรัสถูกพัฒนาให้มีความจำเพาะกับไวรัสแต่ละชนิด แต่จะมีบางกรณีที่มีการนำยาต้านไวรัสชนิดหนึ่งไปต้านไวรัสอีกชนิดหนึ่ง โดยต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงก่อนนำมาใช้ เช่น การนำยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่มาใช้รักษาโรคอีโบล่า (Ebola) และโรคโควิด 19 (COVID-19) จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น

ไวรัส เป็นปรสิตในเซลล์ มีขนาดเล็กมาก (20-300 nm) จนสามารถหลุดผ่านเครื่องกรองแบคทีเรียได้ สามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์ ไวรัสเปรียบเหมือนกาฝากที่อยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) เนื่องจากไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์ได้ ประกอบด้วยสารพันธุกรรมเพียงแค่หนึ่งชนิด อาจเป็น DNA หรือ RNA ก็ได้ โดยจะห่อหุ้มด้วยเปลือกโปรตีนที่เรียกว่า แคปซิด ไม่มีเมตาโบลิซึม อีกทั้งยังไม่มีโครงสร้างย่อยขนาดเล็กมีหน้าที่เฉพาะที่เรียกว่าออร์แกเนลล์เป็นของตัวเอง จึงจำเป็นต้องอาศัยการทำงานจากเซลล์โฮสต์หรือเซลล์เจ้าบ้านที่ไวรัสเข้าไปฝังตัว

เซลล์เจ้าบ้านที่ไวรัสเข้าไปฝังตัว

กลไกการออกฤทธิ์ (Mechanism of Action)

ยาต้านไวรัส ทำหน้าที่คอยยับยั้งการติดเชื้อไวรัส และป้องกันการคัดลอกพันธุกรรมของไวรัสได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการผลิตโปรตีนของไวรัส ซึ่งจำเป็นต่อการแพร่พันธุ์ของไวรัส

ความสามารถของยาต้านไวรัส

  • สามารถเข้าสู่เซลล์ที่เชื้อไวรัสได้
  • รบกวนหรือขัดขวางการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) ของไวรัส
  • ยาต้านบางชนิดสามารถขัดขวางความสามารถของไวรัสในการจับกับเซลล์
  • ลดโอกาสการทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง
  • ยาต้านบางชนิดก็สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้

Literature Ref.: