ข้อมูลบริการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductases หรือ 5-alpha-reductase

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductases หรือ 5-alpha-reductase ระดับเซลล์ โดยห้องปฏิบัติการของเรา สามารถรับบริการทดสอบตัวอย่าง ได้แก่ สมุนไพร, สารสกัด ทั้งในรูปแบบของเหลว ของกึ่งแข็งกึ่งเหลว หรือผง, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิค, ผลิตภัณฑ์สเปรย์แบบไม่อัดแก๊ส เป็นต้น, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เอนไซม์ 5α-Reductase เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนสเตียรอยด์ในร่างกาย โดยเฉพาะการเปลี่ยน testosterone เป็น dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกายมากกว่า testosterone และแต่ละรูปแบบมีความสำคัญต่อกระบวนการทางชีวภาพต่างๆ ในร่างกายที่แตกต่างกัน โดย Dihydrotestosterone (DHT) เป็นผลผลิตที่ได้จากการทำงานของเอนไซม์ 5α-Reductase ที่เปลี่ยน testosterone ให้เป็น DHT ในร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาลักษณะเพศชายและสุขภาพของเส้นผม การลดหรือควบคุมการทำงานของเอนไซม์ 5α-Reductase จะสามารถช่วยลดระดับปริมาณของ DHT และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อมูลผมและการดูแลเส้นผม

ผม (Hairs) คือ เส้นผมที่อยู่บนศีรษะและขนที่อยู่ตามร่างกาย ถึงแม้ว่า Hairs จะไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับความอยู่รอดของชีวิต (Vital function)  แต่ Hairs ก็มีความสำคัญในแง่ความสวยงามซึ่งมีผลต่อจิตใจของคน (Psychological importance) ผมไม่เพียงแค่เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญด้วย เส้นผมของเราประกอบด้วยโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเคราติน ซึ่งถูกผลิตออกมาจากรากผมในหนังศีรษะ สุขภาพของเส้นผมไม่เพียงแต่สะท้อนจากปัจจัยทางพันธุกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัจจัยภายนอกเช่น การดูแลเส้นผม, อาหารที่รับประทาน, และระดับความเครียดที่เผชิญอยู่ด้วย

การดูแลเส้นผมอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาคุณภาพและสุขภาพของผม เทคนิคที่เหมาะสมในการดูแล เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนมากเกินไปจากการไดร์ผมหรือการหนีบผม, การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับประเภทและสภาพของผมของคุณ

นอกจากนี้ อาหารที่มีสารอาหารเหมาะสมก็มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเส้นผมเช่นกัน การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3, วิตามินบีคอมเพล็กซ์, วิตามิน E และธาตุเหล็กสามารถช่วยให้ผมของคุณแข็งแรงและมีสุขภาพดีได้

ข้อมูลเกี่ยวกับ สาเหตุของผมร่วง

เส้นผมสุขภาพดี บ่งบอกถึงการดูแลตัวเองที่ดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น หากมีการหลุดร่วงของเส้นผมอาจะทำให้สูเสียความมั่นใจได้ ทั้งนี้สาเหตุของการหลุดร่วงของเส้นผม มีหลายสาเหตุ ได้แก่

  1. ผมร่วงแบบมีแผลเป็น (Scarring alopecia) สาเหตุเกิดจากมีการทำลายของรากผมอย่างถาวร ทำให้ไม่สามารถสร้างเส้นผมเส้นใหม่ได้ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัสที่มีการอักเสบมากที่หนังศีรษะ
  2. ผมร่วงแบบไม่มีแผลเป็น (Non-scarring alopecia) สาเหตุเกิดจากมีการทำลายรากผมอย่างไม่ถาวร ซึ่งผมร่วงชนิดนี้พบได้บ่อยกว่าผมร่วงแบบมีแผลเป็น โดยมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
  • ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) อาจมีปัจจัย เช่น ประวัติภูมิแพ้ เครียด ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่เซลล์เม็ดสีบริเวณรากผม ส่งผลให้ผมร่วง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์บางชนิด โรคโลหิตจางบางชนิด โรคผิวหนังบางชนิด
  • ผมร่วงจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีปัจจัยร่วมกันหลายปัจจัย เช่น เพศ อายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน สิ่งแวดล้อม  นอกจากนี้กลุ่มที่ผมร่วงจากพันธุกรรม จะมีเอนไซม์ 5- alpha-reductase type 2 ที่สามารถเปลี่ยนฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมน DHT (dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดปัญหาศีระษะล้าน โดยจะออกฤทธิ์ต่อเส้นผมที่บริเวณหนังศีรษะ ทำให้เส้นผมเข้าสู่ระยะพักตัวเร็วขึ้น ผมจึงหลุดร่วงเร็ว และผมที่ขึ้นใหม่จะเล็กลง

เอนไซม์ 5α-Reductase หรือ 5-alpha reductase

กระบวนการปฏิกิริยาของเอนไซม์ 5α-Reductase เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยน testosterone ให้กลายเป็น dihydrotestosterone (DHT) กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อลักษณะเพศชายและการพัฒนาของเส้นผม แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนและสารสื่อประสาทอื่นๆ ในร่างกาย

การยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductase สามารถช่วยลดระดับปริมาณ DHT ที่จะเกิดขึ้นในร่างกายได้ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในการจัดการกับสภาวะต่างๆ เช่น การสูญเสียเส้นผมและโรคต่อมลูกหมากโต ยาที่ยับยั้งเอนไซม์นี้มักใช้เพื่อลดผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับ DHT ที่สูงขึ้น

สาเหตุของผมบางแบบพันธุกรรมมาจากการที่ระดับเอนไซม์ 5-alpha reductase ที่บริเวณหนังศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งปกติแล้วเอนไซม์นี้มีหน้าที่เปลี่ยน ฮอร์โมนtestosterone ไปเป็นฮอร์โมน dihydrotestosterone หรือ DHT ซึ่งฮอร์โมน DHT เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะเล็กลง ผู้ที่มีอาการผมบางแบบพันธุกรรมจะมีระดับเอนไซม์ 5α-reductase เพิ่มขึ้น ทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะมีขนาดเล็กลงและเส้นผมที่ผลิตขึ้นมีลักษณะบางและสั้น จึงเกิดอาการผมบางและหลุดร่วงตามมา จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะศีรษะล้าน

พืช สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase

พืชหลายชนิด มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductase เช่น Serenoa repens หรือ Sabal serrulata ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันอิสระเช่นกรดโอเลอิก(oleic) ลิโนเลอิก(lauric), myristic และกรดลิโนเลนิก (linoleic acid) หรือ สารสกัดเห็ดหลินจือ (Lingzhi mushroom) สามารถออกฤทธิ์ได้เนื่องจากสาร triterpenoids

พืชอื่นๆ ที่มีรายงานการยับยั้ง 5α-Reductase ได้แก่ พริกไทย (Piper nigrum), ข่าตาแดง (Alpinia officinarum), Lygodium japonicum, เห็ดหอม (Lentinula edodes) และ Pleurotus ostreatus

ในประเทศไทย มีการใช้พืชหลากหลายชนิด มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductase เพื่อป้องกันหรือรักษาผมร่วง ทั้งในรูปแบบการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

วิธีการทดสอบประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha reductase

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductases ห้องปฏิบัติการเรา สามารถรับบริการทดสอบตัวอย่าง ได้แก่ สมุนไพร, สารสกัด ทั้งในรูปแบบของเหลว ของกึ่งแข็งกึ่งเหลว หรือผง, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แฮร์โทนิค, ผลิตภัณฑ์สเปรย์แบบไม่อัดแก๊ส เป็นต้น, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเราจะทำการทดสอบระดับเซลล์ เพาะเลี้ยงเซลล์ PC3 แบบ2 มิติ

เราสามารถรายงานผลการทดสอบในรูปแบบความสามารถการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductases ของตัวอย่าง และ/หรือการรายงานผลการทดสอบ ในรูปแบบค่า IC50 (Inhibitory concentration at 50%)

โดยการรายงานผลทดสอบ สามารถรายงานผลได้ 2 แบบ ดังนี้

  1. การทดสอบความสามารถการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductases
  2. การรายงานผลการทดสอบ โดยการคำนวณหาค่าความเข้มข้นของตัวอย่างที่ทำให้เกิดการออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-Reductases 50% (IC50, the half maximal inhibitory concentration) โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน ซึ่งการรายงานผลแบบนี้เหมาะสมกับตัวอย่างวัตถุดิบ สมุนไพร สารสกัด ที่ต้องการทราบ %การนำตัวอย่างไปพัฒนาในผลิตภัณฑ์ต่อไป

Literature:

  • ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (C.A.I.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    แหล่งที่มา: http://www.cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4410/data/hairs.htm สืบค้นวันที่ 21032567
  • แพทย์หญิงดวงกมล ทัศนพงศากุล แพทย์ประจำศูนย์ผิวหนัง โรงพยาบาลเวชธานี, “ ผมร่วง ” เกิดได้จากหลายสาเหตุ แหล่งที่มา:  https://www.vejthani.com/th สืบค้นวันที่ 21032567
  • 5α-Reductase แหล่งที่มา:  https://en.wikipedia.org/wiki/5%CE%B1-Reductase สืบค้นวันที่ 21032567
  • นศภ. พิชญา ทวีสุข, ผมบางศีรษะล้าน ควรใช้ยาอย่างไร, แหล่งที่มา:  https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=28 สืบค้นวันที่ 21032567
  • Naphatsorn Kumara, Wandee Rungseevijitprapab, Nual-Anong Narkkhongc, Maitree Suttajitd, Chaiyavat Chaiyasut, 2011, 5-reductase inhibition and hair growth promotion of some Thai plants traditionally used for hair treatment, DOI: 10.1016/j.jep.2011.12.010 · Source: PubMed
  • Kathie P. Huang, Maryanne M. Senna, 2022, Hair Are the Rankings—5-α Reductase Inhibitors and Minoxidil in Male Androgenetic Alopecia, JAMA Dermatol. 2022;158(3):242-243.