ข้อมูลบริการทดสอบการปนเปื้อน Anti-Microbial Anti-Bacterial

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับทดสอบหาปริมาณเชื้อจุลินทรีย์(แบคทีเรีย ยีสต์และรา) ที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ หรือ Total aerobic plate count หรือ Total Yeast and Mold Count ได้กับตัวอย่างหลากหลายผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น วัตถุดิบ, สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, ผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งการทดสอบหาปริมาณเชื้อที่ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ถือเป็นการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่ายในท้องตลาด หรือ เพื่อนำรายงานผลการทดสอบใช้ในการประกอบการยื่นตามกฎหมาย

นอกจากนี้เรายังมีบริการรับความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Anti-Microbial Anti-Bacterial หรือ การทดสอบความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ หรือ Minimum Inhibitory Concentration (MIC) หรือ การทดสอบความเข้มข้นของสารในระดับต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ หรือ Minimal Bactericidal Concentration (MBC) ได้กับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สามารถละลายได้ในตัวทำละลายน้ำ หรือ ตัวทำละลายไดเมททิล ซัลฟอกไซด์ (Dimethyl Sulfoxide หรือ DMSO) ซึ่งการทดสอบดังกล่าวถือเป็นการยืนยันประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ว่ามีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ โดยเชื้อที่ห้องปฏิบัติการเราสามารถรับบริการทดสอบได้ มีดังนี้ Staphylococcus aureus หรือ Pseudomonas aeruginosa หรือ Escherichia coli หรือ Staphylococcus epidermidis หรือ Propionibacterium acnes หรือ Salmonella spp.

ประเภทของจุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยเซลล์เดียว (Unicellular) หรือหลายเซล์ (Multicellular) ซึ่งสามารถแบ่งประภทของจุลินทรีย์ ได้ดังนี้

  1. แบคทีเรีย (Bacteria) เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยาย มีผนังเซลล์ที่คงรูป (Rigid cell wall) แบคทีเรียสามารถพบได้ทั่วๆไปไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ มีทั้งชนิดที่ให้ประโยชน์และบางชนิดก็เป็นโทษ ตัวอย่างของแบคทีเรีย เช่น Bacillus spp. Lactobacillus spp. Streptococcus spp. Staphylococcus spp. Escherichia coli Proteus vulgaris Spirillum spp. และ Streptomyces spp. เป็นต้น
  2. เชื้อรา (Fungi) มีทั้งชนิดเซลล์เดี่ยวคือยีสต์ (Yeast) และหลายเซลล์ซึ่งได้แก่ รา (Mold)  เช่น Saccharomyces cerevisiae ส่วนเซลล์ที่เป็นเส้นใย เช่น Rhizopus spp. Aspergillus spp. Penicilliun spp.
  3. โปรโตซัว (Protozoa) พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ อากาศ และในสิ่งมีชีวิต ปกติโปรโตซัวกินแบคทีเรียเป็นอาหาร
  4. สาหร่าย (Algae) เป็นจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์แสงได้
  5. ไวรัส (Virus)

คุณลักษณะและการส่งผลต่อร่างกายของเชื้อจุลินทรีย์

เชื้อจุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรีย สามารถพบได้ทั่วไปทั้งดิน น้ำและอากาศ โดยบางชนิดสามารถพบได้ในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งมีตัวอย่างเชื้อ ดังนี้

Staphylococcus aureus

คุณลักษณะ เป็นจุลินทรีย์ ใน Family Micrococcaceae เป็นแบคทีเรีย ที่มีลักษณะกลม เรียงตัวเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น สามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิ 6 – 46 OC โดยมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 30 – 37 OC ทนความร้อนที่ 60 OC นาน 30 นาทีสามารถสร้างสารพิษที่อุณหภูมิมากกว่า 10 OC ค่า pH ที่สามารถเจริญได้อยู่ ในช่วง 4.0 – 10.0 pH สามารถเจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนมากกว่าในสภาพไม่มีออกซิเจนสามารถพบเชื้อได้ ที่ผิวหนัง โพรงจมูกเยื่อบุทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารและ บาดแผลที่เป็นฝีหนองรวมถึงในดินฝุ่นละออง อาหารที่มักพบเชื้อ S. aureus ปนเปื้อนได้แก่ เนื้อ ผลิตภัณฑ์เนื้อ ผลิตภัณฑ์จากไข่ อาหารประเภทสลัด ผลิตภัณฑ์ขนมอบ แซนวิช และผลิตภัณฑ์นม ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม

เชื้อ S. aureus ทําให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และทําให้เกิดโรค Acute infection (ฝีหนองแผลติดเชื้อ septicemia) และ Acute toxaemias (heat stable enterotoxin) การเกิดหนอง ฝีแผลพุพอง และการติดเชื้อแบบรุนแรงเชื้อกระจายเข้าสู่กระแสเลือด

Pseudomonas aeruginosa

Anti-Microbial Anti-Bacterial

คุณลักษณะ เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างท่อน เคลื่อนที่ได้ จัดเป็นแบคทีเรียที่มีความหลากหลาย พบได้ทั้งในสภาวะแวดล้อมตามพื้นดิน ทะเล และตามธรรมชาติ มีความหลากหลายของจีโนม (genomic diversity) และมีความสามารถในการปรับตัวสูง สามารถก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

เชื้อแบคทีเรียพบได้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น ดิน น้ำประปา พืช ผัก ผลไม้ รวมถึงในร่างกายของมนุษย์ เช่น น้ำมันใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ในสถานที่ซึ่งมีความชื้นสูงอย่างในห้องน้ำ อ่างอาบน้ำ ในห้องครัว หรือใต้อ่างล้างจาน ก็เป็นปัจจัยทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้เติบโตได้ อีกทั้งยังพบการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซามากในโรงพยาบาล เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถพบได้มากในเครื่องเพิ่มความชื้นซึ่งใช้ในโรงพยาบาล รวมถึงสายสวนปัสสาวะที่ทำความสะอาดไม่ดีพอ

อาการของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เชื้อเข้าไปเติบโต โดยเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสามารถเข้าไปก่ออาการได้แทบทุกระบบ และทุกบริเวณของร่างกาย โดยอาการหลักๆ ของร่างกายแต่ละส่วนที่เกิดการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อในระบบไหลเวียนเลือด, ติดเชื้อที่ระบบย่อยอาหาร, ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ, ติดเชื้อในปอด, อาการต่อมขนอักเสบ (Folliculitis) มีอาการผิวแดง เป็นผื่นแดงขึ้นตามตัว

Escherichia coli

Anti-Microbial Anti-Bacterial

E. coli เป็นแบคทีเรีย กลุ่มโคลิฟอร์ม รูปแท่ง แบบแกรมลบที่สามารถเจริญได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน (facultative anaerobic) ในสกุล Escherichia ถือเป็นเชื้อแบคทีเรียประจําถิ่น (Normal flora) ที่พบได้ในลําไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่น โดยปกติจะไม่ทําอันตรายหรือก่อโรคร้ายแรง เมื่ออยู่ในลําไส้จะช่วยย่อยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป แต่หากเชื้อ E. coli เข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะทําให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น และมีเชื้อ E. coli บางสายพันธุ์ที่ทําให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ โดยการปนเปื้อนของเชื้อ ในอาหารหรือน้ำดื่ม ทั้งนี้เชื้อ E. coli ที่สามารถก่อโรคอุจจาระร่วง (Diarrheagenic E. coli) จะมีกลไกการก่อโรคและสามารถสร้างสารพิษได้แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ เช่น เชื้อ Enterotoxigenic E. coli ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่สร้างสารพิษ enterotoxin ทําให้เกิดอาการท้องร่วงแบบเฉียบพลัน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือเชื้อ Enterohaemorrhagic E. coli ที่สร้างสารพิษ Shiga ทําให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด ก่อให้เกิดกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวายเฉียบพลัน

เชื้อ E. coli จะอาศัยอยู่ในลําไส้ของคนและสัตว์เช่น สุกร โค กระบือ เป็นต้น ดังนั้น เชื้อจะถูกขับผ่านออกมากับอุจจาระ ถ้าสัตว์ถ่ายอุจจาระลงดินหรือแหล่งน้ำ ซึ่งใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกหรืออุปโภค บริโภค เชื้ออาจจะปนเปื้อนไปกับผลผลิตหรือน้ำดื่ม จึงสามารถเข้าสู่ร่างกายคนโดยการรับประทาน นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดต่อจากผู้ป่วย สู่คนอื่นได้โดยตรง (person to person contact)

Staphylococcus epidermidis

Anti-Microbial Anti-Bacterial

คุณลักษณะ เป็นแบคทีเรียแกรมบวกและอยู่ในกลุ่ม Staphylococcus เซลล์จัดเรียงเป็นกลุ่มคล้ายองุ่นเป็นแบคทีเรียชนิดใช้ออกซิเจน

ถือเป็นเชื้อแบคทีเรียประจําถิ่นบนผิวหนังและเยื่อเมือกของมนุษย์ บางชนิดเป็นสาเหตุของการเกิดฝีหนอง และการติดเชื้อต่างๆ ที่ก่อโรค ส่วนใหญ่จะสลายเม็ดเลือดแดง ทำให้พลาสมาเกิดการรวมกลุ่มกัน และยังสามารถสร้างเอนไซม์รวมทั้งสารพิษต่างๆที่หลั่งออกมานอกเซลล์ได้ เชื้อสามารถหลั่ง lipase และ protease ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดสิว อีกทั้งยังสร้าง biofilms ที่เป็นสาเหตุของการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

Propionibacterium acnes

Anti-Microbial Anti-Bacterial

คุณลักษณะรูปร่างหลายแบบ เช่น แท่งสั้นๆ คล้ายรูปกลมหรือรูปไข่ จัดอยู่อยู่ในกลุ่ม obligate anaerobe ไม่มีการสร้างสปอร์ เจริญเติบโตค่อนข้างช้า เป็นเชื้อแบบไม่ใช้ออกซิเจน P.acne เป็นเชื้อประจำถิ่นที่อาศัยในช่องปากและบนผิวหนัง อาจพบได้ในเยื่อบุตาและระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

P.acne พบอาศัยอยู่ได้ในรูขุมขนหรือต่อมไขมันที่ผิวหนังและเป็นสาเหตุสำคัญของการก่อให้เกิดสิวอักเสบ(acne vulgaris) การติดเชื้อ P.acne มีรายงานถึงความสัมพันธ์กับการทำหัตถการทางการแพทย์ และการใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เช่น สายให้สารน้ำทางเลือด ซึ่งทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่กระแสเลือด อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆ เช่น ลิ้นหัวใจอักเสบ ฝีในสมองเป็นต้น

Candida albicans

Candida albicans เป็นเชื้อรา ที่เมื่อย้อมสีแกรมจะติดสีน้ำเงิน ปรากฏให้เห็นเป็นสองรูปแบบคือ ยีสต์และสายรายาว  โดยเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเป็นรูปแบบยีสต์ที่มีการแตกหน่อ จำนวนมาก  ขณะที่เจริญแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนรูปร่างเป็น เส้นใยที่มีและไม่มีผนังกั้น

Anti-Microbial Anti-Bacterial

แคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบในคนปกติทั่วไป/เชื้อประจำถิ่น(Normal flora) โดยพบได้ตามเยื่อเมือกที่มีอยู่ ในระบบทางเดินอาหาร(เช่น ช่องปาก คอหอยส่วนปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร) ที่อวัยวะเพศหญิง(เช่น โยนี และช่องคลอด/เชื้อราในช่องคลอด) และที่อวัยวะเพศชาย(องคชาติ) ซึ่งในภาวะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรค/ภูมิคุ้มกัน/ภูมิต้านทานปกติ ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ก่อโรค แต่ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป เช่น อวัยวะนั้นมีการอับชื้น หรือร่างกายมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น ต่ำลง ยีสต์นี้จะมีความรุนแรงขึ้น/เจริญเติบโตในปริมาณมากเกินปกติ จนก่อให้เกิดเป็นโรคขึ้นได้ ที่เรียกว่า “โรคแคนดิไดอะซิส”

Clostridium spp.

Clostridium spp.

Clostridium spp. เชื้อในกลุ่มนี้เป็นลักษณะ แกรมบวกรูปแท่ง อยู่ในวงศ์ Bacillaceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับ Bacillus และ Desulfotomaculum Clostridium มีรูปร่างเป็นท่อน (rod shape) สร้างสปอร์ (spore forming bacteria) มีลักษณะเด่นคือเป็นเชื้อชนิด anaerobic bacteria ไม่ใช้ออกซิเจน มักจะพบก่อให้เกิดโรคในอวัยวะหรือเจริญเติบโต สร้างสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่อับอากาศ มีออกซิเจนต่ำ เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสปอร์และพบสปอร์อยู่ตามสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่นในดิน ซึ่งสามารถปนเปื้อนไปตามวัตถุต่างๆหรือเข้าสู่ร่างกายได้

โดยตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดไว้ว่าเครื่องสําอางที่มีส่วนผสมสมุนไพร ต้องมีผลตรวจเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค คลอสตริเดียม (Clostridium spp.)

Salmonella spp.

เชื้อซาลโมเนลล่า (Salmonella) เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างแบบท่อน ในส่วนความคล้ายคลึงกับเชื้ออีโคไล (E. coli) และชิเกลล่า ตรงที่เชื้อซาลโมเนลล่าเป็นหนึ่งในเชื้อแบคทีเรียตระกูลเอนเทอโรแบคทีเรียซีอี (Enterobacteriaceae) เป็นเชื้อก่อโรคที่พบการแพร่ระบาดสูง เชื้อสกุลซาลโมเนลล่าประกอบด้วยซีโรไทป์ต่างๆ มากกว่า 2,500 ชนิด เชื้อซาลโมเนลล่า เป็นปัญหาใหญ่ในมุมมองทางด้านสาธารณสุข จุลินทรีย์นี้สัมพันธ์กับอาหาร รวมถึงเนื้อสัตว์ดิบ สัตว์ปีก ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ปลาและอาหารทะเล เครื่องเทศ โกโก้ ช็อคโกแลต และสิ่งที่พร้อมทาน เช่น ซอส น้ำสลัด แป้งเค้กผสม และของหวานไส้ครีม

Salmonella spp.

เชื้อซาลโมเนลล่า (Salmonella) มีกระจายอยู่ทั่วไปในธรรมชาติและสามารถอาศัยอยู่ในสัตว์ (โดยมากจะทราบว่าเป็นสัตว์เลี้ยง เช่น เต่า และสัตว์เลี้ยงคลานอื่นๆ) ตลอดจนมนุษย์ ซึ่งยังไม่รวมถึงเชื้อที่อาจอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติด้วย เป็นที่ทราบว่ามีการปนเปื้อนในตะกอนของน้ำบ่อ น้ำชลประทาน ดิน แมลง อุปกรณ์การผลิต มือ และพื้นผิวของห้องครัวและเครื่องใช้ในครัวเรือน

Total plate count และ Total yeasts and molds count

Standard plate count หรือ วิธีตรวจนับจุลินทรีย์มาตรฐาน เรียกย่อว่า SPC อาจเรียกว่า aerobic plate count (APC) หรือ total viable count (TVA) หรือปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด คือ จำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศ หมายถึง ผลรวมของ Total aerobic microbial count จำนวนแบคทีเรียที่เจริญโดยใช้อากาศ ส่วน Total combined yeasts and molds count คือ จำนวนยีสต์และราที่เจริญโดยใช้อากาศ การตรวจนับจุลินทรีย์มาตรฐาน เป็นการนับปริมาณโคโลนี (colony) ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า หรือมองเห็นด้วยแว่นขยาย ซึ่งมาจากเซลล์ของจุลินทรีย์จะถูกตรึงอยู่กับที่ เจริญและแบ่งตัวจากเซลล์เดียว เป็นหลายๆ เซลล์อยู่บนอาหารเลี้ยงเชื้อ ค่าที่ได้จากการตรวจนับจุลินทรีย์มาตรฐาน คือ colony forming unit (cfu/g) หรือ ml

Minimum Inhibitory Concentration (MIC)

MIC เป็นค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ Anti-Microbial Anti-Bacterial หน่วยที่ใช้โดยทั่วไป คือ ไมโครกรัม (μg) ต่อมิลลิลิตร (ml) หรือหน่วยสากล (IU, international unit) ต่อมิลลิลิตร ค่าMIC นี้ สามารถนํามาใช้เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อดูความไวของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทดสอบต่อยาต้านจุลชีพหลายๆ ชนิด หรือความไวของเชื้อจุลินทรีย์หลายๆ ชนิดต่อยาหนึ่งชนิด

Minimal Bactericidal Concentration (MBC)

MBC คือ ความเข้มข้นของสารในระดับต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ Anti-Microbial Anti-Bacterial โดยการทดสอบ MBC จะทำหลังจากการทดสอบหาค่า MIC นําสารละลายในหลุมที่ใสหรือไม่เกิดสีชมพูทุกความเข้มข้น มาเพาะเชื้อลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อตรวจสอบหาค่า MBC จากระดับความเข้มข้นต่ำสุดของสารละลายที่ไม่มีการเจริญของเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

ตัวอย่างรายงานผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งและความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ

ตัวอย่างรายงานผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งและความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ

การรายงานผลการทดสอบของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ไพลและน้ำมันไพลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค จากตารางการทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุด (MIC) ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. cereus สูงกว่าเชื้อแบคทีเรียอื่นเนื่องจากมีค่า MIC ต่ำสุด (3.13 µg/ml) ขณะที่สารสกัดจากเหง้าไพลมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. epidermidis สูงกว่าเชื้อแบคทีเรียอื่นเนื่องจากมี ค่า MIC ต่ำสุด (3.13 µg/ml) ขณะที่น้ำมันไพลมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. epidermidis และ B. cereus สูงกว่าเชื้อแบคทีเรียอื่นเนื่องจากมีค่า MIC ต่ำสุดเท่ากับ 1.57 และ 3.13 µl/ml ตามลำดับ

Literature:

  • วรรณี สมัปปิโต, ศุภชัย สมัปปิโต และ ลือชัย บุตคุป, 2016, ผลของสารสกัดจากเปลือกมังคุด ไพลและน้ำมันไพลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค, J Sci Technol MSU, 53-60.
  • ประสาทพร บริสุทธิ์เพ็ชร, พิทัย กาญบุตร และสาธร พรตระกูลพิพัฒน์, 2551, การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อของสมุนไพรในห้องปฏิบัติการ, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 91-101.
  • ศิริวัฒณา ลาภหลาย, 2557, การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากต้อยติ่งในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus aureus, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
  • ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร, ศิวาพร ลงยันต์, ภัทริน ศรีดุลยกุลย์และไพศาล สิทธิกรกุล, 2552, การโคลนยีนและการแสดงออกของโปรตีนที่จำเพาะต่อ Pseudomonas aeruginosa ซึ่งวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบจีโนมและการผลิตโพลิโคลนอลแอนติบอดี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์, 2020, เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ติดเชื้อได้จากไหน รักษาอย่างไร, https://hd.co.th/what-is-pseudomonas-aeruginosa.
    ฝ่ายแบคทีเรียลําไส้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสขุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2557, Escherichia coli, http://nih.dmsc.moph.go.th/data/data/fact_sheet/12_57.pdf.
  • สุทธิวรรณ วุ่นหนู, 2559, การศึกษาศักยภาพและการประยุกต์ใช้ทางคลินิกของสารบริสุทธิ์ rhodomyrtone สำหรับรักษาสิว, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
  • วรวุฒิ เกิดปราง, สุนันทา ข้องสาย และ ปรีดา เกิดสุข, 2561, สารพฤกษเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การยับยั้งแบคทีเรียก!อโรคและความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำของสารสกัดสาหร่ายทะเล Rhizoclonium hieroglyphicum (C. Agardh) Kützing, 1845, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
  • แพทย์หญิงเจนจิต  ฉายะจินดา, 2554, เชื้อราในช่องคลอด, ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์, 2560, แคนดิไดอะซิส (Candidiasis) ที่มา: https://haamor.com/%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%AA, วันสืบค้น 18.05.2023ความปลอดภัยทางด้านอาหาร; ที่มา: https://www.3m.co.th/3M/th_TH/food-safety-th/education/pathogenic-microorganisms/salmonella/ วันสืบค้น 18.05.2023