ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณ สารดิกไทโอฟอรีน บี (Dictyophorine B) ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการรับตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางชีวภาพ (Biomarker) ของสาร ดิกไทโอฟอรีน บี (Dictyophorine B) ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม โดยเห็ดเยื่อไผ่ เป็นพืชจากธรรมชาติ ที่อุดมไปด้วยสารที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงร่างกายและผิวพรรณ ไม่ว่าจะเป็น Dictyophorine A และ B ตัวช่วยในการปกป้องระบบประสาท ไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษและสามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทและสมองได้ สารในกลุ่ม สารดิกทิโอฟอรีน เอ และบี มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ยับยั้งมะเร็ง และ ยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และป้องกันโรคสมองเสื่อมนอกจากนั้นสปอร์เชื้อรา สีน้ำตาลเขียวขี้ม้า ที่มีกลิ่นค่อนข้างเหม็น มีงานวิจัย พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูงและพบสารสำคัญที่สามารถนำไปทำยาเกี่ยวกับพวกเสริมกำลังให้กับร่างกาย อีกทั้งยังมีสารสำคัญอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพได้หลากหลาย

เห็ดเยื่อไผ่

เมื่อพูดถึงอาหารที่เราเคยรับประทาน หลายคนคงรู้จักหรือเคยได้ยินเมนู เยื่อไผ่ตุ๋นยาจีน แกงจืด เยื่อไผ่ ผัดเยื่อไผ่ แล้วรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว เมนูเยื่อไผ่ต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับต้นไผ่ หรือนำส่วนประกอบของต้นไผ่มาใช้ แต่ทำมาจากเห็ดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เห็ดร่างแหหรือเห็ดเยื่อไผ่

เห็ดร่างแห (Stinkhorn) จัดอยู่ในสกุล Dictyophora วงศ์ Phallaceae ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา (Phylum Basidiomycota) อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษ คือ Basket Stinkhorn, Dancing Mushroom, Bamboo mushroom, Bamboo Fungus ชื่อสามัญไทย คือ เห็ดร่างแหยาว ร่างแหกระโปรงยาว ดางแหยาว

เห็ดร่างแหที่ยังเป็นดอกตูมจะมีเปลือกหุ้มด้านนอกลักษณะคล้ายไข่ ด้านในจะมีลักษณะเป็นเมือกคล้ายวุ้นช่วยป้องกันดอกอ่อนไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนและช่วยรักษาความชื้นให้กับดอกเห็ด ต่อมาเมื่อเจริญส่วนของก้านดอกเห็ดจะค่อยๆ ดันเยื่อหุ้มแตกออกจนเห็นวุ้นได้ชัดเจน ส่วนของก้านสีขาว มีรูพรุนเป็นช่องๆ และนิ่มคล้ายฟองน้ำ ภายในก้านมีลักษณะกลวง ส่วนหมวกมีร่างแหคล้ายตาข่ายหรือกระโปรงตาข่ายคลุมก้านดอกเห็ด สีของร่างแหมีหลายสี เช่น สีชมพู สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีขาว ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด จึงทำให้เห็ดร่างแหมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป

สารออกฤทธิ์สำคัญในวุ้นและดอกเห็ดเยื่อไผ่

สารสำคัญที่มีอยู่ในวุ้นเห็ดเยื่อไผ่ รวมทั้งเห็ดนิ้วมือนาง หรือมือผี เห็ดตาโล่ (Dragon Eye Mushroom,(Calostoma sp.) ได้แก่ สาร Hyaluronic acid, Allantoin, AHA และ PHA หรือ Gluconic acid, Fibroblast growth factors ซึ่งสารต่างๆ มีความสำคัญมากโดยเฉพาะในเรื่องของการบำรุงกาย ข้อต่อต่างๆ หรือแม้กระทั้งในเรื่องของผิวพรรณ

ดิกไทโอฟอรีน (Dictyophorines)

ดิกไทโอฟอรีน (Dictyophorines) มีสูตรทางเคมีคือ C15H20O2 จัดเป็นสารในกลุ่ม เลสคิเทอร์ปินส์ (Two novel eudesmane-type sesquiterpenes) ซึ่ง ดิกไทโอฟอรีนพบในเห็ดเยื่อไผ่ 2 ชนิด ได้แก่ ดิกไทโอฟอรีนเอ และบี (Dictyophorines A and B) ดิกไทโอฟอรีนเอ และบี มีฤทธิ์ในการกระตุ้นเซลล์เอสโตรเจนเพิ่มการสังเคราะห์ฮอร์โมนใยประสาท (Nerve growth factor)

อัลลันโทอิน (Allantoin)

อัลลันโทอิน Allantoin เป็นสารเคมีที่มีสูตร C4H6N4O3 มีชื่อ IUPAC ว่า (2,5-Dioxo-4-imidazolidinyl) urea หรือ 5-ureidohydantoin หรือ glyoxyldiureide ซึ่งอัลลันโทอินจะช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์อย่างรวดเร็ว มีคุณสมบัติพิเศษในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายให้สมบูรณ์

Allantoin เป็นสารเคมีที่มีสูตร C4H6N4O3

กรดไฮยาลูรอนิค (hyaluronan)

กรดไฮยาลูรอนิค หรือ hyaluronan มีสูตรทางเคมีคือ (C14H21NO11)n กรดนี้เป็นสารที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเอง เป็นโมเลกุลของน้ำตาลชนิดหนึ่งที่เรียกว่า polysaccharide   ที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยปกติร่างกายมนุษย์จะมี กรดไฮยาลูรอนิค ประมาณ 15 กรัม จะอยู่ที่ชั้นผิวหนัง 50% และอยู่ที่กระดูกอ่อนและส่วนอื่นๆ อีก 50% ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลักของน้ำไขข้อ หล่อเลี้ยงข้อต่อ น้ำหล่อลื่นบริเวณส่วนต่างๆ

Hyaluronan มีสูตรทางเคมีคือ (C14H21NO11)n

พอลิแซคคาร์ไรด์

พอลิแซคคาร์ไรด์ ที่สกัดได้จากดอกเห็ดเยื่อไผ่ คือ 1,3-เบต้า-กลูแคน โดยพอลิแซคคาร์ไรด์มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 536 กิโลดอลตัน และมีปริมาณน้าตาลสุทธิ 97.6% มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอวัยวะ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง

พอลิแซคคาร์ไรด์

ข้อมูลทางโภชนาการของเห็ดเยื่อไผ่

เห็ดเยื่อไผ่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง มีโปรตีน 15-18% กรดอะมิโน 16 ชนิด จากกรดอะมิโนที่มีทั้งหมด 20 ชนิดที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ มี ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) หรือ วิตามินบี 2 ค่อนข้างสูง เห็ดเยื่อไผ่ดอกตูมจะมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าดอกบาน Dictyophora จากการสกัดสารจากเห็ดเยื่อไผ่ พบสารสำคัญ 2 ชนิด คือ พอลิแซ็กคาร์ไรด์ (Polysaccharide) สาร Dictyophorine A และ B

ในส่วนของลำต้น มีสารในกลุ่ม สารดิกทิโอฟอรีน เอ และบี (Dictyophorines A and B) ซึ่งเป็นสารที่พบยากมากในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ยับยั้งมะเร็ง และ ยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และป้องกันโรคสมองเสื่อมนอกจากนั้นสปอร์เชื้อรา สีน้ำตาลเขียวขี้ม้า ที่มีกลิ่นค่อนข้างเหม็น มีงานวิจัย พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูงและพบสารสำคัญที่สามารถนำไปทำยาเกี่ยวกับพวกเสริมกำลังให้กับร่างกาย

หมวกเห็ด จะมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง ซึ่งสามารถชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นได้หลายกระบวนการ และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้หลายโรค

เมือกหุ้มดอกเห็ด มีลักษณะเป็นเจลเข้มข้นที่มีกรดไฮยาลูรอนิคและอัลลันโทอิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ลดการระคายเคืองของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ กรดกลูโคนิค ที่สามารถเร่งการผลัดเซลล์ผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน

ก้านและกระโปรง พบสารพอลิแซคคาไรด์ จากเบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน กระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้นกันในร่างกาย ยับยั้งมะเร็ง อีกทั้งยังพบสารดิกทิโอฟอรีน เอ และบี มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ และยังช่วยกระตุ้น การทำงานของระบบประสาท ป้องกันโรคสมองเสื่อม

เห็ดเยื่อไผ่ แหล่งอาหาร เวชสำอาง และยา เชิงพาณิชย์

เห็ดเยื่อไผ่ อุดมไปด้วยสารที่มีคุณประโยชน์ ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งมะเร็ง ป้องกันโรคสมองเสื่อม ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือยา ซึ่งสารสำคัญดิกไทโอฟอรีน (Dictyophorines) มีฤทธิ์ในการกระตุ้นเซลล์เอสโตรเจน เพิ่มการสังเคราะห์ฮอร์โมนใยประสาท (Nerve growth factor) เพิ่มการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้ และฤทธิ์ลดการอักเสบ และยังช่วยกระตุ้น การทำงานของระบบประสาท ป้องกันโรคสมองเสื่อม

ส่วนสารสำคัญอื่นๆ ที่อยู่ในเห็ดเยื่อไผ่ ได้แก่ กรดไฮยาลูรอนิคและอัลลันโทอิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ลดการระคายเคืองของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ กรดกลูโคนิค ที่สามารถเร่งการผลัดเซลล์ผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน บำรุงผิวพรรณ ลดการระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้น และกรดกลูโคนิค (Gluconic Acid) ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวและช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยลดเลือนริ้วรอยก่อนวัย

Literature:

  • “Comparison the bioactive compounds of Dictyopora spp. found in China and Thailand from its gel during egg stage” Dr. Sirilak Chumkhiao, Biology School of Science, 2018, Suranaree University of Technology
  • “Research and Development Project of Bamboo Fungus (Phallus indusiatus) Cultivation by Using Different Fruit Leaves Combine with Climbing Vegetables for Value-Added of Waste in Fruit Orchard” Ajchara Bunroj and Watcharawit Rassami, The Faculty of Agricultural Technology, Rambhai Barni Rajabhat University 2017
  • “ต้นแบบการผลิตเห็ดเยื่อไผ่ในสวนไผ่ครบวงจร เพื่อเป็นแหล่งอาหารเวชสำอาง และยา เชิงพาณิชย์” โครงการวิจัยที่จัดจ้างหน่วยงานภายนอก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • “ความแก่ของผิวหนัง: กลไกการเกิดระดับโมเลกุล การป้องกัน/การรักษา และสารธรรมชาติที่ใช้ ในการต่อต้านความแก่ของผิวหนัง” Thammanoon Rungsang, 2016 Faculty of Pharmacy University of Phayao
  • “เห็ดเยื่อไผ่” ที่ไม่ได้มาจากไผ่ หรือเรียกอีกชื่อว่า “เห็ดร่างแห” นพวรรณ นิลสุวรรณ, นักวิชาการเกษตร ระดับชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา จังหวัดสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา เว็บไซต์: https://psub.psu.ac.th/?p=5218 สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66
    “ซินโครตรอน วิจัยพบ “เห็ดเยื่อไผ่” สุดมหัศจรรย์อุดมไปด้วยสารคุณประโยชน์สูงเร่งต่อยอดผลิตอาหารเสริม-เวชสำอาง. ดร.วรวิกัลยา เกียรติ์พงษ์ลาภ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เว็บไซต์: https://www.slri.or.th/th/slriresearch/ซินโครตรอน-วิจัยพบ-“เห็ดเยื่อไผ่”-สุดมหัศจรรย์อุดมไปด้วยสารคุณประโยชน์สูงเร่งต่อยอดผลิตอาหารเสริม-เวชสำอาง. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66
  • “วุ้นธรรมชาติจากเห็ดเยื่อไผ่ | สารบำรุงผิวบำรุงเซลล์” อานนท์ เอื้อตระกูล, เว็บไซต์: https://anonbiotec.net/th/ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดในโล สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66“นักวิจัยไทยพบ “เห็ดเยื่อไผ่” มีสารต้านมะเร็ง- ช่วยชะลอวัย” เว็บไซต์: https://www.thaipbs.or.th/news/content/268338 สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 66