ข้อมูลบริการการทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายต่อผลิตภัณฑ์ Consumer Satisfaction

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายต่อผลิตภัณฑ์ (Consumer Satisfaction) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับรับประทาน โดยเราทำการทดสอบกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ 10-100 คน

การทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (observational study) โดยการเก็บข้อมูลการรับรสสัมผัสแต่ละด้านที่มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดอย่างเฉพาะเจาะจง

การทดสอบ ประกอบด้วย การออกแบบการศึกษา และเก็บข้อมูลในอาสาสมัคร ที่ผ่านการคัดเลือกและต้องมีสุขภาพดี มีการเก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงผลิตภัณฑ์จากมุมมองของผู้บริโภค ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาตำรับ รูปแบบผลิตภัณฑ์ และลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์ ผลการทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ มีความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการทำการตลาด สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับแบรนด์ การเพิ่มยอดขาย และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

การศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical Researches)

งานศึกษาวิจัยทางคลินิกเป็นการศึกษาข้อมูลทั้งด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แบบรอบด้าน ในมิติของการใช้ผลิตภัณฑ์จริงในมนุษย์ ภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกจริง (real world environment) จึงเป็นการศึกษาที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ที่เป็นจริงที่สุดและมีความน่าเชื่อถือสูงสุด การทำการศึกษาวิจัยทางคลินิกที่มีประสิทธิผล สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ประโยชน์และอ้างอิงได้จริง จำเป็นต้องได้รับการออกแบบมาอย่างดี (well-designed clinical study)  กำหนดระเบียบวิธีวิจัย (methodology) ได้อย่างเหมาะสม มีการควบคุมตัวแปรทุกชนิดอย่างครอบคลุม (outcomes & confounding factors) ปราศจากอคติ (bias) ปราศจากความลำเอียงในการออกแบบงาน และมีกระบวนการทำการศึกษาที่น่าเชื่อถือ บนพื้นฐานของหลักการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice: GCP)

การศึกษาทางคลินิกทุกงานของเรา จะถูกออกแบบการศึกษา กำหนดระเบียบวิธีวิจัย กำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยควบคุม ปัจจัยกวน ผลลัพธ์ทางคลินิก เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ มีการออกแบบการเก็บข้อมูลให้มีความจำเพาะเจาะจง และเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมากที่สุด การศึกษาวิจัยทางคลินิกที่น่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับในแวดวงนักวิชาการทางการแพทย์นั้น จำเป็นต้องได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี (well-designed clinical study) โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยทางการแพทย์ ทั้งด้านเกี่ยวกับตัวโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย กลไกการเกิดความผิดปกติ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ กลไกการออกฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น คุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) ที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของสารสำคัญ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อิงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีในปัจจุบัน (current evidence-based medicines) การเลือกระเบียบวิธีวิจัย (methodology) ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด การเลือกผลลัพธ์ทางคลินิกที่ต้องการทดสอบประสิทธิภาพ (primary clinical outcomes) การควบคุมและแก้ปัญหาผลกระทบจากปัจจัยรบกวน (confounding factors) การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง (sample size calculation) และการเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่เหมาะสมกับชนิดของข้อมูลที่ทำการศึกษาวิจัย (statistical analysis) ตลอดจนการตีความและสรุปผลการศึกษาที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านมาประกอบการพิจารณาข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ โดยการดำเนินงานวิจัยทางคลินิกทั้งหมดจำเป็นต้องดำเนินตามหลักการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good clinical practice: GCP) หรือหลักธรรมาภิบาลในการวิจัยทางคลินิก และใช้รูปแบบการศึกษาบนพื้นฐานของหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ethical principles) ตามมาตรฐานสากล

ขอบเขตและขั้นตอนของบริการทดสอบทางคลินิกครอบคลุมทุกขั้นตอนของการศึกษาวิจัย

  • การให้คำปรึกษาแนวทางการศึกษาวิจัยทางคลินิกที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่ได้จากงานวิจัย
  • การออกแบบงานวิจัย
  • การออกแบบวิธีการทดสอบ
  • การกำหนดระเบียบวิธีวิจัย
  • การเลือกตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุมที่เหมาะสม
  • การเลือกใช้สถิติ เพื่อการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับลักษณะข้อมูลและรูปแบบระเบียบวิธีวิจัย
  • ความรับผิดชอบในการเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการ
  • การเตรียมเอกสารสำหรับยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
  • การดำเนินการยื่นขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัย และการเข้าพบเพื่อตอบข้อสงสัยต่อคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย
  • การจัดหาและคัดเลือกอาสาสมัครผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย
  • การออกแบบและจัดทำแบบฟอร์มเก็บข้อมูล
  • การดำเนินการเก็บข้อมูล
  • การติดตามผลลัพธ์ทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย
  • การจัดการอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
  • การให้ข้อมูล คำแนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่อาสาสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
  • การประสานงาน เพื่อดูแลจัดการปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์
  • การรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ข้อมูล
  • การแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูล
  • การวิเคราะห์สถิติทางการแพทย์และการแปลผลที่ถูกต้อง
  • การสรุป และอภิปรายผลการศึกษางานวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่พร้อมใช้ได้จริง

นอกจากนี้ ยังมีบริการอบรมให้ความรู้แก่บุคคลากรภายในบริษัท (in-house training) เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลจากงานวิจัย ถ่ายทอดสู่ผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ดีรับจากงานวิจัย

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์

การทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (observational study) โดยการเก็บข้อมูลการรับรสสัมผัสแต่ละด้านที่มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดอย่างเฉพาะเจาะจง

การทดสอบ ประกอบด้วย การออกแบบการศึกษา และเก็บข้อมูลในอาสาสมัคร ที่ผ่านการคัดเลือกและต้องมีสุขภาพดี มีการเก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงผลิตภัณฑ์จากมุมมองของผู้บริโภค ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาตำรับ รูปแบบผลิตภัณฑ์ และลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์มีความสำคัญอย่างไร ?

ผลการทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ มีความสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการทำการตลาด สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับแบรนด์ การเพิ่มยอดขาย และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

ข้อมูลที่จำเป็นและมีค่าที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับผู้ผลิต หรือเจ้าของแบรนด์ คือ เสียงตอบรับของผู้บริโภค การรับรู้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับประสบการณ์ตรงจากการทดลองใช้จริงจากผู้บริโภค จะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภค ความต้องการของตลาด ช่วยให้ผู้ผลิตหรือเจ้าของแบรนด์ สามารถปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย โดยการนำผลการทดสอบ ได้แก่ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากมุมมองของผู้ทดสอบ ที่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย มาพิจารณาประกอบจะช่วยให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค ช่วยเพิ่มยอดขาย และลดการคืนสินค้า ตลอดจน เข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

ทั้งนี้ บริษัท วิสไบโอ จำกัด เรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาวิจัยทางคลินิกโดยเฉพาะ เรามีบริการทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ หลากหลายรูปแบบ ดังนี้

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหาร

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ทดสอบ ต่อลักษณะเฉพาะของอาหาร เช่น สีอาหาร ลักษณะที่ปรากฏ กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาด ความสะดวกในการบริโภค หรือ การเก็บรักษา สูตรหรือส่วนผสมหลักบนฉลากโภชนาการ บรรจุภัณฑ์ ความคุ้มค่า ความรู้สึกโดยรวมที่มีต่อผลิตภัณฑ์ รวมถึง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เป็นต้น

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์อาหาร

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ทดสอบ ต่อลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น สี ลักษณะที่ปรากฏ กลิ่น เนื้อสัมผัส รสชาติ ความสะดวกในการบริโภคหรือ การเก็บรักษา สูตรหรือส่วนผสมหลักบนฉลากโภชนาการตรงตามความต้องการของผู้บริโภค การตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ บรรจุภัณฑ์ ความคุ้มค่า ความรู้สึกโดยรวมที่มีต่อผลิตภัณฑ์ รวมถึง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ความต้องการ และ/หรือ ความกังวลด้านสุขภาพ เป็นต้น

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ทดสอบ ต่อลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เช่น สีและกลิ่นของผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่ปรากฏ เนื้อสัมผัส การซึมผ่านผิว ความชุ่มชื้นผิว ความยืดหยุ่นผิว สีผิว ลักษณะพื้นผิวของผิวหนัง ความสะดวกในการใช้ หรือ การเก็บรักษา สูตรหรือข้อมูลบนฉลาก บรรจุภัณฑ์ ความคุ้มค่า ความรู้สึกโดยรวมที่มีต่อผลิตภัณฑ์ รวมถึง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เป็นต้น

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดรับประทาน

การศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิกของผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดรับประทาน

การทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดรับประทาน เป็นการเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้ทดสอบ ต่อลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เช่น ลักษณะที่ปรากฏ กลิ่น สี เนื้อสัมผัส รสชาด ความสะดวกในการบริโภค หรือ การเก็บรักษา สูตรหรือส่วนผสมหลักบนฉลากโภชนาการตรงตามความต้องการของผู้บริโภค การตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผลลัพธ์ทางคลินิกจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในข้อบ่งใช้ บรรจุภัณฑ์ ความคุ้มค่า ความรู้สึกโดยรวมที่มีต่อผลิตภัณฑ์ รวมถึง ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ความต้องการ และ/หรือ ความกังวลด้านสุขภาพเพิ่มเติม เป็นต้น