ข้อมูลบริการทดสอบปริมาณสารกลูโคซามีน Glucosamine ด้วยเทคนิค HPLC

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการทดสอบปริมาณสารกลูโคซามีน Glucosamine ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม หรือ อุตสาหกรรมยา ด้วยเทคนิค HPLC

กลูโคซามีน เป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเนื้อเยื่อของกระดูกอ่อนและน้ำไขข้อ โดยร่างกายสามารถสร้างกลูโคซามีนได้เองจากกลูโคส ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของกลูโคซามีนไว้มากมาย อาทิเช่น ช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเสื่อม ทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ข้อลื่นขึ้น เสียงดังในข้อหายไป ช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่า และชะล้อการเปลี่ยนข้อเข่า ทั้งนี้สารกลูโคซามีนจัดเป็นอาหารเสริมในบางประเทศ แต่ในประเทศไทยสารดังกล่าวยังจัดว่าเป็นยา

ข้อมูลเกี่ยวกับ กลูโคซามีน

กลูโคซามีน เป็นสารธรรมชาติที่สามารถสกัดได้จาก chitin ซึ่งพบในเปลือกกุ้ง ปู ปลาหมึก และสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด นอกจากนี้ยังสามารถสกัดได้จากกระบวนการหมักของเชื้อรา Aspergillus niger หรือจากพืชบางชนิด กลูโคซามีนเป็นสาร 6-carbon amino sugar ที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ และสามารถสังเคราะห์ได้เองในร่างกายจากกลูโคส สารกลูโคซามีนมีหน้าที่ช่วยส่งเสริมการสร้างสารโปรตีโอไกลแคนที่พบได้มากในกระดูกอ่อน ทำให้กระดูกอ่อนมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ดี

กลูโคซามีนถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบำรุงข้อต่อ ลดอาการเจ็บปวดและการอักเสบของข้อต่อ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม อีกทั้งยังนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของผิวหนัง การผลิตกลูโคซามีนในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามมักต้องผ่านการทดสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

จากการวิจัยทางด้านชีวเคมีและการสังเคราะห์กลูโคซามีนที่มีการพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเวียนนา ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกลูโคซามีนในการบำรุงและรักษาข้อต่อ นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเพิ่มเติมที่เน้นการใช้กลูโคซามีนในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อลดเลือนริ้วรอยและเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง

ประเภท ของ สารกลูโคซามีน

กลูโคซามีนเป็นสารประกอบธรรมชาติที่พบในกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อที่ช่วยให้ข้อต่อมีความยืดหยุ่นและลดแรงกระแทก กลูโคซามีน แบ่งออก เป็น 2 ชนิด คือ กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) นิยมใช้ในการรักษาอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบ, การสลายตัว และการสูญเสียกระดูกอ่อน (โรคข้อเสื่อม) และ สารกลูโคซามีนไฮโดรคลอไรด์ (Glucosamine Hydrochloride) เป็นสารประกอบที่มีไฮดรอกซีลของน้ำตาลกลูโคสแทนที่ด้วย amidogen เป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในโปรตีน Glucosamine Hydrochloride มีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาไกลโคซิเลชันไขมัน ในอุตสาหกรรม Glucosamine Hcl หรือ Glucosamine Hydrochloride เป็นสูตรโดย exoskeleton ของ shellfishes ส่วนใหญ่จะใช้เป็นอาหารเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมบางส่วน

ประโยชน์ ของ สารกลูโคซามีน ต่อร่างกาย

กลูโคซามีน มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างและคงความแข็งแรงของข้อต่อในร่างกาย มีงานวิจัย ระบุว่ากลูโคซามีนมีส่วนช่วยสร้างกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสีขาวหุ้มอยู่ที่ปลายกระดูกและบริเวณข้อต่อ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อไม่ติดขัด กระดูกอ่อนมักสึกหรอและเสื่อมสภาพเมื่อเราอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะส่งผลให้มีอาการปวดและบวมข้อต่อบริเวณเข่า สะโพก กระดูกสันหลัง และมือ อีกทั้งกลูโคซามีนอาจช่วยสร้างสารที่เป็นองค์ประกอบของกระดูกอ่อนและน้ำไขข้อ (Synovial Fluid)  เช่น คอลลาเจนที่ช่วยหล่อลื่นข้อเข่า ทำให้เคลื่อนไหวข้อเข่าได้สะดวก ผลการศึกษาบางส่วนระบุว่ากลูโคซามีนอาจช่วยลดการอักเสบของข้อ จึงนำกลูโคซามีนมาสกัดเป็นยาเพื่อใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เช่น ข้อเสื่อม รูมาตอยด์ และกระดูกพรุน

นอกจากนี้ กลูโคซามีนอาจใช้ในการรักษาโรคอื่น ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และอาการปวดหลังเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม ยังขาดผลการศึกษาที่เพียงพอในปัจจุบัน จึงอาจไม่สามารถยืนยันได้ว่ากลูโคซามีนมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเหล่านี้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยสารกลูโคซามีน

กลูโคซามีน จะถูกนําไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารขนาดโมเลกุลใหญ่ ได้แก่ โปรตีโอไกลแคน, ไกลโคโปรตีน (glycoprotein), ไกลโคสามิโนไกลแคน(glycosaminoglycan) และ กรดไฮยาลูโรนิก (hyaluronic acid) ซึ่งสารดังกล่าวเป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อเกือบทุกชนิดของร่างกาย โดยจะพบมากที่กระดูกอ่อน (cartilage) ซึ่งอยู่บริเวณส่วนปลายของกระดูกโดยเฉพาะที่ข้อต่อ กระดูกอ่อนนั้นประกอบด้วยเมทริกซ์ของเส้นใยคอลลาเจนที่มีโปรตีโอไกลแคนอยู่ภายใน โดยโปรตีนโอไกลแคนเป็นสารโมเลกุลใหญ่ ที่มีความสามารถในการดึงน้ำเข้าหาตัวเองได้ดี จึงทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อได้ จัดเป็นบทบาทสำคัญของกลูโคซามีน ในเรื่องช่วยการทำงานของข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารอักเสบได้หลายชนิด ดังนั้นจึงมีการนิยมนำสารกลูโคซามีน ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีผลลดการอักเสบของข้อ

ปัจจุบันกลูโคซามีน ที่มีจําหน่ายแบ่ง เป็น 2 ประเภท ตามการขึ้นทะเบียน คือ ยาอันตราย และ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียน รวมถึงเอกสารที่จําเป็นในการขอขึ้นทะเบียน โดย กลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ซึ่งจะต้องมีเอกสารยืนยันถึงการศึกษาทางการแพทย์ที่แสดงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสาร และการใช้ยาจะอยู่ภายใต้การสั่ง จากแพทย์เท่านั้น ส่วนกลูโคซามีนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงใช้รับประทาน นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติและในการขอขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องแสดงการศึกษาทางการแพทย์ประกอบ สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีกลูโคซามีนชนิดที่เป็นยาอันตรายเท่านั้น ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน และจําหน่ายในประเทศได้

การตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณสารกลูโคซามีน

บริษัท วิสไบโอ (VISBIO) จำกัด มีบริการตรวจสอบและวิเคราะห์ปริมาณสารกลูโคซามีน  ได้กับทุกผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม หรือ อุตสาหกรรมยา อีกทั้งยังสามารถรับบริการทดสอบกับวัตถุดิบหรือสารสกัดได้ ด้วยการใช้เครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High Performance Liquid Chromatography: HPLC) ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของลิควิดโครมาโตกราฟีแบบคอลัมน์ ซึ่งของแข็งที่บรรจุในคอลัมน์มีขนาดเล็ก สามารถแยกได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการใช้ความดันช่วยซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ

Literature:

  • เอกสารสรุปประเด็นข้อเท็จจริงและข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับกลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต ไดอะเซอเรน และ ไฮยาลูโรแนนชนิดฉีดเข้าข้อ, 2553, คณะทำงานวิชาการทางแพทย์ ภายใต้คระกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
  • ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง วัตถุที่ได้รับยกเว้นไม่เป็นยา (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2566